วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กร


                หากกล่าวถึงองค์กรแล้ว คำว่า วัฒนธรรมมักจะเชื่อมโยงกับพฤติกรรมองค์กร กระบวนการทำงานในองค์กร หรือ ความเป็นผู้นำในองค์กร จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมมิได้หมายรวมถึงทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นในองค์กร ในอดีตมีการแปลความหมายของคำว่าวัฒนธรรมออกมา อย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลว่าจะมองในรูปแบบใด เช่น นักมานุษยวิทยาอาจมองว่า วัฒนธรรมเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาภายในกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง นักสังคมวิทยา อาจมองว่าเป็นความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานของสังคมหนึ่งๆ ที่มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม ส่วนนักบริหารและจัดการ อาจมองว่า วัฒนธรรม คือ กลยุทธ์ ลักษณะโครงสร้างขององค์กร และการควบคุมภายในองค์กร ในโลกปัจจุบัน มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงเทคโนโลยีต่างๆ สิ่งแวดล้อมที่ได้เปลี่ยนแปลงไป องค์กรต่างๆต้องมีการพัฒนาความสามารถของตนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยที่ทุกคนในองค์กรต้องมีความกระตือรือร้นในการหาวิธีการที่จะมาปรับเปลี่ยนในการพัฒนาการทำงานของตน ตลอดจนพฤติกรรมที่คนในองค์กรยึดถือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งแบบแผนพฤติกรรมที่บุคคลในองค์กรยึดถือเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อ ค่านิยม นั่นก็คือ วัฒนธรรมองค์กร สำหรับบทความเรื่องแนวคิดวัฒนธรรมองค์กรนี้ จะกล่าวถึงแนวคิดของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในองค์กร คือ วัฒนธรรมลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์กรการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ วัฒนธรรมองค์กรการเปลี่ยนแปลง และ วัฒนธรรมองค์กรแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น ยังมีนักวิชาการที่มีการแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรไว้หลายลักษณะ ซึ่งความสัมพันธ์และส่วนประกอบของวัฒนธรรมองค์กรทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เหมือนกับบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งมีนักวิชาการได้กล่าวถึงรูปแบบของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆ เป็นการแบ่งประเภทตามพื้นฐานของตัวแปรที่แตกต่างกันไว้หลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบวัฒนธรรมตามพื้นฐานค่านิยม รูปแบบวัฒนธรรมตามพื้นฐานของการควบคุม รูปแบบวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตและพฤติกรรม (พรรัตน์ รัตนศิริวงศ์)
                 ทุกสังคมในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว บริษัท ห้างร้าน หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด หรือประเทศ ล้วนมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมของตนเองด้วยกันทั้งนั้น  คุณลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะสำหรับสังคมนั้นๆ ยากที่จะลอกเลียนแบบได้ ¦เพราะลักษณะเฉพาะนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการ สั่งสมประสบการณ์ การเรียนรู้ ทัศนคติ ความคิดสร้างสรรค์ ความเชื่อในสิ่งต่างๆทั้งที่เห็นและไม่เห็นเป็นตัวตน การกระทำให้คุณลักษณะดังกล่าว มีความเหมาะสมลงตัวกับอุปนิสัย การประพฤติปฏิบัติ และการยอมรับของคนในสังคมนั้นๆ รวมทั้งมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป คุณลักษณะดังกล่าวคือวัฒนธรรมตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 1058 ให้ความหมายว่า สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา ดังนั้นในสังคมใดสังคมหนึ่ง จึงอาจมีวัฒนธรรมได้มากกว่าหนึ่งอย่าง อาจมีเป็นสิบ เป็นร้อย หรือ เป็นพันก็ได้ ตามความเหมาะสมของสังคมนั้นๆ นอกจากนี้ในแต่ละวัฒนธรรมก็อาจประกอบด้วยวัฒนธรรมย่อยๆอีกมากมาย เช่น วัฒนธรรมไทย หมายถึง สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่คนไทยทั้งประเทศ และหมายรวมถึงวิถีชีวิตของคนไทยด้วย ได้แก่ ไปลามาไหว้ มีสัมมาคารวะ นบน้อมถ่อมตน ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ  ประเพณีสงกรานต์ เข้าพรรษา ลอยกระทง คนไทยรักสงบ โอบอ้อมอารี  เข้าวัดฟังธรรม...ฯลฯ
                ส่วนคำว่า องค์กร (หน้า 1321) หมายถึง บุคคล คณะบุคคล หรือ สถาบัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรี เป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎร เป็นองค์กรของรัฐสภา  ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึง องค์การ ด้วย (อ. Organ) สำหรับ องค์การ หมายถึง ศูนย์รวมกลุ่มบุคคล หรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือในตราสารจัดตั้ง ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือ หน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ (อ.organization) วัฒนธรรมองค์กรหรือองค์การจึงหมายถึง สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งหมดในองค์กร ซึ่งนำองค์กรไปสู่ความเจริญงอกงามตามเป้าหมายที่ได้วางไว้  กลายเป็นองค์กรที่มีความเจริญอย่างยั่งยืน สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งหมดในองค์กรนั้นต้องเกิดขึ้นจากความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจประพฤติตน และปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร จึงจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จดังที่ตั้งไว้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ หากต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ทะเลาเบาะแว้ง ไม่ช่วยเหลือเกื้อกูล เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ไม่มีระเบียบวินัย ไม่ซื่อสัตย์  คิดจะเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ไม่มีทางที่องค์กรนั้นจะบรรลุตามเป้าประสงค์ได้  ดังนั้น วัฒนธรรมองค์กร จึงเป็นวิถีทางที่คนในองค์การส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ยึดถือประพฤติปฏิบัติในการ คิด พูด กิน อยู่ และ ทำงานร่วมกัน สร้างความเจริญงอกงามให้กับองค์กรนั่นเอง ในขณะเดียวกัน การคิด พูด กิน อยู่ และทำงานร่วมกัน รวมทั้งการยอมรับค่านิยม และวัฒนธรรมนอกองค์กรเข้ามาในองค์กร จะทำให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแรงมากขึ้น หรืออาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนไปทั้งหมด โดยเฉพาะในยุคโลกาวิวัฒน์อันเป็นยุคข่าวสารไร้พรมแดนเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้
การเกิดวัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมการคิด การกิน การอยู่ การทำ ของคนในองค์กร เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นตั้งใจของคนในองค์กรทุกระดับที่ต้องการให้องค์กร บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร โดยอาศัยแนวคิดที่สร้างสรรค์ กำหนดเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติเพื่อทำงานร่วมกัน ก่อเกิดการเรียนรู้ แก้ไขปรับเปลี่ยนตัวเองให้สอดคล้องกับข้อกำหนดนั้นๆ เพื่อการอยู่ร่วมกัน เกิดความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน เกิดการเสียสละ อดทน อารีย์อารอบ ความสามัคคีและความผูกพันของคนในองค์กร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผลักดันให้องค์กรบรรลุตามเป้าหมายนั้นๆ สิ่งเหล่านี้จะเริ่มตั้งแต่ การก่อตั้งองค์กรเป็นต้นมา ซึ่งเกิดจากความคิด การกระทำ ของผู้บริหารและคนในองค์กร เกิดเป็นแนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสะสมตลอดอายุไขขององค์กร เกิดเป็นความภาคภูมิใจของคนที่อยู่ในองค์กรนั้นๆ จากรุ่นสู่รุ่นเรื่อยมา จนยากที่จะเปลี่ยนแปลง บ่อยครั้งที่ผู้บริหารใหม่ไฟแรงต้องออกจากงาน ทั้งๆที่ยังไม่ได้แสดงฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์ เนื่องจาก ไม่ได้ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรให้ถ่องแท้ เมื่อเข้าไปในองค์กรใหม่ ก็จะนำเอาวัฒนธรรมองค์กรเก่า ที่ตนเองเห็นว่าดีมาใช้กับองค์กรใหม่ จึงถูกต่อต้านไม่ให้ความร่วมมือ หรือในธุรกิจควบรวมกิจการของบริษัทก็เช่นกัน CEO ใหม่ มักจะนำวัฒนธรรมของบริษัทแม่มาใช้กับบริษัทลูก แทนการผสมผสานวัฒนธรรมให้เข้ากัน จึงทำให้กิจการไม่เจริญงอกงามเหมือนที่วางแผนไว้ และอาจล่มสลายก็เป็นไปได้ ถ้ามีผู้ถามว่า..."วัฒนธรรมองค์กร  คืออะไร?..."  อาจมีหลายคนจะตอบว่า...หมายถึงสิ่งที่คนเขาปฏิบัติสืบต่อกันมาในองค์กร"...แต่ถ้าหากท่านลองคิดให้ไกลไปอีกสักนิด...จะทำให้พบว่า  "วัฒนธรรมองค์กรมีความหมายมากมายกว่านั้น  เพราะการที่องค์กรจะอยู่ได้นานแสนนานนั้น ได้ฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคมาอย่างมากมาย จนสามารถคงอยู่ให้เห็นในปัจจุบัน...เป็นเพราะว่า  วัฒนธรรมองค์กรเข้าไปมีส่วนร่วมมาตั้งแต่อดีตและจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรในอนาคตด้วย"... จากความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของ "วัฒนธรรม"  มีความหมายว่า  "พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกันและร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน




แนวคิดวัฒนธรรมองค์กร
หากกล่าวถึงองค์กรแล้ว คำว่า วัฒนธรรม มักจะเชื่อมโยงกับพฤติกรรมองค์กร กระบวนการทำงานในองค์กร หรือ ความเป็นผู้นำในองค์กร   จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมมิได้หมายรวมถึงทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นในองค์กร ในอดีตมีการแปลความหมายของคำว่าวัฒนธรรมออกมา อย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลว่าจะมองในรูปแบบใด เช่น นักมานุษยวิทยาอาจมองว่า วัฒนธรรมเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาภายในกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง  นักสังคมวิทยา อาจมองว่าเป็นความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานของสังคมหนึ่งๆ ที่มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม ส่วนนักบริหารและจัดการ อาจมองว่า วัฒนธรรม คือ กลยุทธ์ ลักษณะโครงสร้างขององค์กร และการควบคุมภายในองค์กร  ในโลกปัจจุบัน มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงเทคโนโลยีต่างๆ สิ่งแวดล้อมที่ได้เปลี่ยนแปลงไป องค์กรต่างๆต้องมีการพัฒนาความสามารถของตนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยที่ทุกคนในองค์กรต้องมีความกระตือรือร้นในการหาวิธีการที่จะมาปรับเปลี่ยนในการพัฒนาการทำงานของตน ตลอดจนพฤติกรรมที่คนในองค์กรยึดถือเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งแบบแผนพฤติกรรมที่บุคคลในองค์กรยึดถือเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อ ค่านิยม นั่นก็คือ วัฒนธรรมองค์กร  สำหรับบทความเรื่องแนวคิดวัฒนธรรมองค์กรนี้ จะกล่าวถึงแนวคิดของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในองค์กร คือ วัฒนธรรมลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์กรการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ วัฒนธรรมองค์กรการเปลี่ยนแปลง และ วัฒนธรรมองค์กรแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น ยังมีนักวิชาการที่มีการแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรไว้หลายลักษณะ ซึ่งความสัมพันธ์และส่วนประกอบของวัฒนธรรมองค์กรทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เหมือนกับบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งมีนักวิชาการได้กล่าวถึงรูปแบบของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆ เป็นการแบ่งประเภทตามพื้นฐานของตัวแปรที่แตกต่างกันไว้หลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบวัฒนธรรมตามพื้นฐานค่านิยม รูปแบบวัฒนธรรมตามพื้นฐานของการควบคุม รูปแบบวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตและพฤติกรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.แบบวัฒนธรรมตามพื้นฐานของค่านิยม การแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรประเภทนี้
เป็นการแบ่งค่านิยมขององค์กรที่อยู่บนพื้นฐานของจุดมุ่งหมายและแหล่งที่มา ซึ่งชี้ให้เห็นถึง
วัฒนธรรมองค์กร โดยทั่วไปเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ (สมยศ นาวีการ, 2541)
                1.1 วัฒนธรรมที่มุ่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Culture) เป็นวัฒนธรรมที่มีแหล่งที่มาของค่านิยมร่วมอยู่ที่ผู้นำที่มีบารมี หรือผู้ก่อตั้งองค์กรและเป็นค่านิยมที่มุ่งหน้าที่ คือ การสร้างคุณค่าแก่ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ซึ่งวัฒนธรรมที่มุ่งผู้ประกอบการอาจจะไม่มั่นคงและเสี่ยงภัยเพราะเป็นวัฒนธรรมที่ขึ้นอยู่กับผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว
                1.2 วัฒนธรรมที่มุ่งกลยุทธ์ (Strategic Culture) เป็นวัฒนธรรมที่มีแหล่งที่มาของค่านิยมร่วมที่มุ่งหน้าที่และได้กลายเป็นขนบธรรมเนียมและเปลี่ยนแปลงไปสู่ประเพณีขององค์กร  เป็นค่านิยมที่มั่นคงและมุ่งภายนอกระยะยาว
                1.3 วัฒนธรรมที่มุ่งตนเอง (Chauvinistic Culture) เป็นวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งภายใน ความจงรักภักดีต่อการเป็นผู้นำองค์กรอย่างตาบอด และการให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศของสถาบัน วัฒนธรรมองค์การรูปแบบนี้อาจแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะทางพิธีศาสนาหลายอย่าง ความจงรักภักดีและความผูกพันต่อค่านิยมของผู้นำบารมีอย่างเข้มแข็งและการมุ่งภายใน มุ่งพวกเราและมุ่งพวกเขา จะกระตุ้นความพยายามให้มุ่งที่การรักษาความเป็นเลิศของสถาบันเอาไว้โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย
                1.4 วัฒนธรรมที่มุ่งการเลือกสรร (Exclusive Culture) เป็นวัฒนธรรมที่มุ่งการเลือกสรร ในฐานะที่คล้ายคลึงกับสโมสรที่เลือกสรรสมาชิก ซึ่งภายในสถานการณ์บางอย่างการเลือกสรรจะเพิ่มคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร  ซึ่งองค์การจะทุ่มเทอย่างหนักเพื่อที่จะสร้างภาพพจน์ของความเหนือกว่าและการเลือกสรรขึ้นมา

2. รูปแบบวัฒนธรรมตามพื้นฐานของการควบคุม เป็นการแบ่งวัฒนธรรมองค์กรบนพื้นฐานของการควบคุมภายในมือของผู้บริหารระดับสูง การมุ่งความเสี่ยงภัยขององค์กร และความโน้มเอียงของการเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 2 รูปแบบ (สมยศ นาวีการ, 2543) คือ
2.1 วัฒนธรรมแบบเครื่องจักร (Mechanistic Culture) คือ องค์การที่มีวัฒนธรรม
แบบเครื่องจักรนี้จะถูกการควบคุมอย่างเข้มงวด ค่านิยมและความเชื่อร่วมกันจะเป็นการทำตามกัน การอนุรักษ์นิยม การเชื่อฟังต่อกฎ ความเต็มใจในการทำงานเป็นทีมและความจงรักภักดีต่อระบบ มักขาดการเสี่ยงภัย เป้าหมายวัฒนธรรมแบบนี้ คือ ประสิทธิภาพ มุ่งปรับปรุงคุณภาพและการลดต้นทุน งานส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยโครงสร้าง และการดำเนินการตามกฎระเบียบวิธีปฏิบัติงานจะสำคัญมาก วัฒนธรรมแบบนี้จะเหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง  สมาชิกในองค์กรที่พอใจกับการเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงและความเป็นอิสระอาจจะไม่มีความสุขภายในวัฒนธรรมรูปแบบนี้ นอกจากนี้อาจแสดงให้เห็นถึงระดับความไว้วางใจต่ำภายในองค์กรด้วย
2.2 วัฒนธรรมแบบคล่องตัว (Organic Culture) วัฒนธรรมแบบนี้เกี่ยวข้องกับ
การเปิดโอกาสในระดับสูงให้กับความหลากหลาย กฎและข้อบังคับจะมีน้อย มีการเผชิญหน้ากับความขัดแย้งอย่างเปิดเผย  มีลักษณะอดทนกับความหลากหลาย มีความไว้วางใจกัน และเคารพต่อความเป็นเอกบุคคล มีความคล่องตัวและความเปลี่ยนแปลง  ข้อเสียของวัฒนธรรมแบบนี้ คือ การสูญเสียการควบคุมพนักงานที่สามารถเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงภัย
3. รูปแบบวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตและพฤติกรรม ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะต่างๆของเทพเจ้ากรีกโบราณ แบ่งเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
                3.1 วัฒนธรรมที่เน้นบทบาท (Apollo หรือ Role Culture) เป็นวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นตำแหน่ง บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร มีลักษณะที่ชอบด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์  โครงสร้างขององค์กรกำหนดไว้ชัดเจนตามลำดับขั้นทางการบริหารที่ลดหลั่นกันไป และมีกฎระเบียบข้อบังคับในกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆชัดเจนทั่วองค์กร ซึ่งวัฒนธรรมแบบนี้จะปรากฏชัดทั่วไปในหน่วยงานใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งค่อนข้างล่าช้าต่อการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อความเจริญ ความมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและความอยู่รอดต่อไปขององค์กร มักใช้การประชุมเป็นส่วนใหญ่ในการทำงานร่วมกัน การตัดสินใจแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานใดๆ
                3.2 วัฒนธรรมเน้นที่งาน (Athena หรือ Task Oriented Culture) เป็นวัฒนธรรมที่เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม สนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกแต่ละคนพัฒนาและใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อผลงานและการพัฒนาที่ริเริ่มใหม่อยู่เสมอ  งานที่ปฏิบัติกันเป็นทีมจะถูกจัดเป็นโครงการ โดยไม่ยึดติดกับโครงสร้างขององค์กร วัฒนธรรมองค์กรแบบนี้เหมาะสมกับหน่วยงานที่ต้องเร่งรีบพัฒนาปรับปรุง โดยเฉพาะในสภาวะที่ต้องแข่งขัน
                3.3 วัฒนธรรมที่เน้นบทบาทอิสระเฉพาะตัวบุคคล (Dionysus หรือ Existential)  ผู้ที่ปฏิบัติงานในองค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบนี้ จะกำหนดกฎเกณฑ์ของตนเองมีความเป็นอิสระสูง ความรู้ความสามารถของบุคคลที่หลากหลายจำเป็นและมีผลต่อประสิทธิภาพและชื่อเสียงขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการจะสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้อย่างชัดเจน
                3.4 วัฒนธรรมแบบเป็นผู้นำ (Zeus หรือ Leader Culture) รูปแบบวัฒนธรรมที่ผู้นำจะมีกลุ่มผู้บริหารที่สามารถเป็นที่ปรึกษา หรือเป็นผู้สนองรับหรือนำการตัดสินใจ นโยบาย แนวทางและแผนงานไปปฏิบัติให้บรรลุผล ความสำเร็จของทีมบริหารเกิดจากความสามารถของผู้นำที่พัฒนาและสร้างระบบการติดต่อสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความไว้วางใจ (Trust) โครงสร้างองค์กรมีขนาดกะทัดรัดแต่ครอบคลุม มีความรวดเร็วในการตอบสนองต่อข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ผู้บริหารที่มีความสามารถมักมีประสบการณ์ผ่านงานในองค์กรที่มีวัฒนธรรมอย่างนี้มาก่อนเสมอ
ปัญหาที่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กร
                1. บุคลากรภายในองค์กรมักจะคิดว่าองค์กรของเขาดีอยู่แล้ว ไม่เห็นจะมีปัญหาตรงไหนเลย
2. บุคลากรขาดสำนึกในการให้บริการต่อหน่วยงานภายในหรือหน่วยงานที่ติดต่อจากภายนอก
3. บุคลากรขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่คิดที่จะพัฒนางานหรือการบริการใหม่ ๆ ออกมาเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้มาใช้บริการ
4. บุคลากรจะรอให้ผู้บังคับบัญชา สั่งงานเพียงอย่างเดียว คอยแต่จะปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่เคยคิดที่จะพัฒนางานในแบบเชิงรุก
5. ผู้บริหารและบุคลากรคิดแต่จะทำงานด้านปฏิบัติการหรือธุรการเป็นงานหลัก โดยไม่คำนึงถึงด้านธุรกิจขององค์กรว่าจะเป็นไปในทิศทางใดเพื่อตอบสนองผู้มาใช้บริการ
6. ผู้นำในองค์กรเชื่องช้าและเสียเวลามากกับการจ้ำจี้จ้ำไชบุคลากรที่ขาดคุณภาพหรือบุคลากรที่ทำงานไม่ดีทำให้ไม่มีเวลาไปใส่ใจกับบุคลากรที่ทำงานดีเพราะคิดว่าเขาทำงานดีอยู่แล้ว
7. ผู้นำในองค์กรไม่เข้าใจและไม่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในองค์กรได้ โดยมักจะงุนงง สงสัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ รอบตัว โดยไม่สามารถวางแผนเพื่อปรับตัวให้รับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ จากที่กล่าวเกี่ยวกับปัญหามาข้างต้น...อาจพูดได้ว่า องค์กรสะท้อนผู้นำ ”  เช่นเดียวกับ...แม่ปูกับลูกปู...โดยแม่ปูเดินไม่ตรงแล้วไฉนจะสอนให้ลูกปูเดินตรงได้...
วัฒนธรรมองค์กรที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาที่เป็นข้อดีหรือเป็นจุดแข็ง  ได้แก่
                1. ความรับผิดชอบและสำนึกในความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
2. สำนึกในการให้บริการต่อผู้มาใช้บริการ โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก
3. การทำงานเป็นทีม ได้แก่ การประสานงานกันภายในองค์กร
4. ยึดถือระบบคุณธรรม โดยพยายามขจัดระบบเส้นสายพวกพ้องออกไป และพิจารณาในเรื่องความรู้ความสามารถของบุคลากรเป็นหลัก
5. ส่งเสริมในเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในองค์กร เพราะนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
6. การสร้างความรวดเร็วในการทำงาน ทั้งในการปฏิบัติงานภายในและความรวดเร็วในการให้บริการต่อผู้มาใช้บริการ
7. การเปิดใจรับคำวิพากษ์วิจารณ์เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
8. ความกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความจริง
9. การสื่อสารที่ดีในองค์กร





วัฒนธรรมองค์กร (งานศพ)


  (นางสิทธิ์ สอนภักดิ์ดี  อาศัยอยู่หมู่บ้านปละ บ้านที่เลข 10 .4 .สะพุง อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ)
                ประวัติของผู้เสียชีวิต
ชื่อนางสิทธิ์ สอนภักดิ์ดี อายุ 35 ปี เสียชีวิตด้วย โรคหัวใจล้มเหลวเฉลีวพลัน เสียชีวิตเมื่อ วันที่ 22 สิงหาคม พ.. 2556 ได้สมรสกับนายเสนาะ สอนภักดิ์ดี มีบุตรด้วยกันสองคน ปัจจุบันได้หย่าร้างกับสามีแล้ว ลูกสาวทั้งสองคนของผู้เสียเชีวิตได้อาศัยอยู่ยาย ซึ่งยายก็แก่ชรามากแล้ว
                วัฒนธรรมงานศพถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรเครือญาติอย่างหนึ่ง ที่มีการสืบทอดปฎบัติกันมาช้านาน
ในประเพณีทั้งหลายที่มีสืบทอดกันมา  จะขอกล่าวถึงประเพณีการทำศพที่เห็นว่ามีกรรมวิธีมากมายซึ่งอาจมีหลาย    คนที่ไม่เข้าใจ  และทำตาม    กันมาโดยไม่ทราบที่มาที่ไปของการกระทำนั้น 
            คำว่า  “ศพ“  มาจากภาษาสันสกฤต  ศว  หมายถึง  ร่างคนที่ตายแล้ว  หรือซากผี  มีคติความเชื่อว่ามีวิญญาณอยู่ในร่างกายคน  เมื่อสิ้นลมหายใจ  จะครบอายุขัยเพราะแก่ชรา  โดยภัยเบียดเบียน  หรือเหตุใดก็ตามที  เมื่อตายแล้ววิญญาณมี    ดวง  เมื่อตายแล้ว  ดวงหนึ่งจะเข้าไปสิงอยู่ในป้ายวิณณาณสำหรับลูกหลานเซ่นไหว้ในเวลาอันสมควร  อีกดวงหนึ่งไปอยู่ที่หลุมฝังศพ  สำหรับลูกหลานเซ่นไหว้เช่นกัน  อีกดวงหนึ่งไปยังยมโลกเพื่อรับรางวัลในบุญ  หรือรับโทษในบาปที่ตนก่อ
            อย่างไรก็ตาม  คนส่วนมากเชื่อกันว่า  คนที่ตายไปแล้วนั้น  ตายแต่ร่างกาย  มมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ตายแต่เปลี่ยนร่างเป็นอีกอย่างหนึ่ง  ที่เรียกกันว่า  ผี  เป็นอมนุษย์  มีทั้งผีดีและผีร้าย  ผีชั้นสูงที่เรียกกันว่า  ผีฟ้า ที่เชื่อกันว่าอยู่บนสวรรค์  ผีที่อยู่ในเมืองมนุษย์  ถ้าอยู่ตามหุบห้วยป่าดง เช่น  เทพารักษ์  เจ้าป่า  เจ้าทุ่ง  ถ้าอยู่ประจำท้องถิ่น  สำหรับบ้านเรือนจะมีพระภูมิเจ้าที่  ผีเหย้าผีเรือน  ผีปู่ย่า  ตายาย
            ดังนั้นการทำศพ  จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับผี  เกี่ยวกับผู้ตาย  จึงต้องมีพิธีกรรม  เพื่อป้องกันผีไม่ให้มาทำคนเป็นเดือดร้อน
          เหตุที่ต้องจัดทำงานศพ
            ๑. ทำพิธีเซ่นไหว้  อุทิศให้แก่ผู้ตาย  ว่าผู้ตายมีลักษณะความเป็นอยู่คล้ายคลึงกับคนเป็น
            ๒. ปัดรังควาน  เพื่อป้องกันการรบกวน
            ๓. ทำพิธีทางลัทธิศาสนา  เพราะต้องการให้ผู้ตายได้รับประโยชน์แห่งความสุขในโลกหน้าให้มากที่สุดซึ่งทางลัทธิศาสนา จะพึงให้ได้  และเป็นการระลึกถึงพระคุณด้วยความกตัญญูกตเวที
            ดังนั้น  ความจำเป็นที่ต้องทำศพ  สุดแต่วิธีใดจะเห็นว่าเป็นเครื่องช่วยให้ผู้ตายได้รับความสุข  และเป็นเกียรติยศเชิดชูผู้ทำและผู้ตาย  ซึ่งส่งเป็นจารีตประเพณี คือ  เคยทำกันมาก่อน  และมีธรรมเนียมสืบกันมา  จารีตประเพณีจึงเป็นมรดกของบรรพบุรุษตกทอดมาถึงรุ่นเราในส่วนที่เกี่ยวกับศพ  สิ่งสำคัญประการแรกที่ต้องทำคือ  การอาบน้ำ  ตามคติโบราณถือว่าการอาบน้ำเป็นการชำระมลทินในร่างกาย  ได้แก่
            - อาบน้ำเมื่อโกนผมไฟ  เพื่อล้างผมที่โกนแล้วไม่ให้ติดตัว
            - อาบน้ำเมื่อโกนจุก
            - อาบน้ำเมื่อต่างงานเพื่อทำตัวให้สะอาดก่อนเข้าหอแต่ต่อมากลายเป็นสาระสำคัญของพิธีแต่งงาน  คือการรดน้ำสังข์
            - อาบน้ำเมื่อตาย
            การอาบน้ำศพ  คือการอาบน้ำชำระศพให้สะอาด  เมื่ออาบน้ำแล้วต้องหวีผม  หวีที่ใช้นั้นเมื่อเสร็จแล้วต้องหักทิ้ง  ใช้ผ้าขาวนุ่งให้ศพโดยเอาชายพกไว้ข้างหลัง  เมื่อนุ่งห่มเช่นนี้แล้ว  ให้นุ่งห่มตามธรรมดาทับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นปริศนาธรรม  อธิบายได้ว่า  คนเราเกิดมา ตายแล้วเกิดใหม่ ทนทุกขเวทนาเวียนว่ายตายเกิดไม่จบสิ้น   เมื่ออาบน้ำ  นุ่งผ้า  หวีผมให้ศพเรียบร้อยแล้ว  จะต้องปิดหน้าศพ การปิดหน้าศพใช้ขี้ผึ้งหนาประมาณครึ่งนิ้ว กว้างยาวขนาดหน้าของศพ  แผ่ปิดหน้าเหมือนปิดด้วยหน้ากาก  ในราชสำนักถ้าเป็นพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน  จะใช้แผ่นทองปิดพระพักตร์  นอกจากนี้มีกรวยดอกไม้ ธูปเทียน ใช้ดอกไม้หนึ่งดอกเทียนหนึ่งเล่ม ใส่กรวยใบตองให้ศพพนมมือถือไว้  เพื่อนำไปไหว้พระจุฬามณีบนสวรรรค์
            การนำเงินใส่ปากศพ  เพื่อเป็นทางให้พิจารณาว่าบรรดาทรัพย์สินที่สะสมไว้  แม้มากเท่าใดก็นำไปไม่ได้จะเอาไปได้ก็แต่กรรมดีที่ติดตามไป  แต่อย่างไรก็ตามชาวยิวก็ยังนิยมเอาเหรียญเงินใส่ปากศพ  ส่วนชาวยุโรปที่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก  จะเอาเงินหนึ่งเพนนีวางไว้ตรงกระบอกตาของผู้ตาย  เพื่อเป็นค่าจ้างข้ามแม่น้ำแห่งความตาย  ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ
            การบรรจุศพ  มีทั้ง  หีบศพ  โกศ  และลุ้น การนำศพใส่โกศ  สำหรับพระเจ้าแผ่นดินนั้นเนื่องจากคติทางศาสนาพราหมณ์ว่า เป็นเทวดาจุติลงมาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว  พระวิญญาณจะเสด็จคืนไปสู่สวรรค์ก่อนถวายพระเพลิงจึงต้องแต่งพระสรีระให้สมกับที่เป็นเทวดา  และต้องถวายพระโกศใส่พระศพให้เหมือนประทับในปราสาท  แต่เดิมมีพระโกศเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน  ต่อมาโปรดเกล้าฯให้ใส่โกศเป็นเกรียติยศไปถึงพระศพพระมเหสี  และเสนาบดีผู้มีความชอบต่อแผ่นดิน  ปัจจุบันผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป  ก็จะได้รับพระราชทานโกศใส่ศพ
            บุคคลธรรมดา  ใช้บรรจุศพลงในหีบศพ  และยังมีหีบศพที่เป็นหีบพระราชทานแก่ผู้สมควรได้รับพระราช-ทานซึ่งไม่ถึงขั้นที่จะพระราชทานโกศ  เช่น  หีบเชิงชาย ส่วน  ลุ้ง  เป็นธรรมเนียมของจีน  สำหรับใส่ศพพระจีนที่มรณภาพ  โดยมิได้จัดตามสมณศักดิ์แต่อย่างไรหากอยู่ที่ลักษณะว่านั่งตายหรือนอนตาย  ถ้านั่งตายก็ทำลุ้งให้  ถ้านอนตายก็ทำหีบใส่  เพราะไม่อยากถูกต้องแผ้วพานกับศพ  ตายเท่าใดก็คงไว้ท่านั้น  ทั้งนี้เป็นลักษณะของพระจีนที่บางรูปนั่งทำสมาธิไปจนตาย
            เมื่อบรรจุศพลงในหีบแล้ว  จะได้กล่าวถึงพิธีกรรมในงานต่อไป  เริ่มต้นเมื่อเข้าไปในงานศพ  เราจะเห็นพวงหรีด  ที่องค์หรือผู้คุ้นเคย  ญาติสนิทมิตรสหายของผู้ตาย  นำไปเคารพศพ
            พวงหรีด  ต้นเหตุที่เกิดการวางพวงหรีดในงานศพเชื่อกันว่า  พวงมาลาเป็นของสูงสำหรับรัดเศียรเทวดาต่อมากลายเป็นพวงหรีดและมงกุฎฝรั่ง  อาจเป็นเพราะพวงหรีดไม่อ่อนปวกเปียกเหมือนพวงมาลา  ใช้สอยได้สะดวกกว่า  กรีกและโรมันมีธรรมเนียมว่า  ถ้าผู้ใดไปรบทัพจับศึกและชนะกลับมา  ประชาชนจะสวมพวงหรีดให้เป็นเกียรติยศ  แม้ในปัจจุบัน  เมื่อจะให้รางวัลผู้แข่งขันที่ได้ชัยชนะ  ก็สวมพวงหรีดให้เป็นเกียรติยศ  แต่ของไทยสวมพวงมาลา  การสวมพวงมาลาให้แก่ผู้ตาย  ถือว่าเป็นการให้เกียรติผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย  ซึ่งเป็นพิธีกรรมของฮินดูในการสวมพวงมาลัยให้แก่ผู้ตาย  แต่ปัจจุบันการนำพวงหรีดไปวางหน้าศพผู้ตาย  ถือกันว่าเป็นการไว้อาลัยหรือเป็นเครื่องหมายแสดงความเศร้าโศกเท่านั้น
          การตามไฟหน้าศพ  เป็นพิธีกรรมทางฮินดู  แต่เดิมไฟนั้นใช้น้ำมันมะพร้าวใส่กะลามะพร้าว  ใช้นมไม้ทองหลางร้อยด้ายเป็นไส้  บางทีใส่เกลือด้วย  มีภาชนะบรรจุข้าวเปลือกกรองรับตะเกียงกะลามะพร้าว  เหตุที่ตามไฟศพ  อธิบายตามหลักพระพุทธศาสนาว่า  มนุษย์เรานั้นมี    จำพวก
๑.     มาสว่างไปสว่าง  พวกที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนามีความเลื่อมใสนับถือ  เจริญภาวนาปฏิบัติธรรมจึงได้ชื่อว่า  มาสว่างไปสว่าง
๒.      มาสว่างไปมืด  พวกที่เกิดในพระพุทธศาสนาแต่ไม่เลื่อมใสศรัทธา  ไม่ประพฤติปฏิบัติในศีล  ไม่เลื่อมใสและไม่ปฏิบัติธรรม  พวกนั้นถือว่า มาสว่างไปมืด
๓.     มามืดไปสว่าง  คือคนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา  ภายหลังมาเลื่อมใสศรัทธาบำเพ็ญทานศีลภวานาได้ชื่อว่ามามืดไปสว่าง
๔.     มามืดไปมืด  คือพวกที่เกิดมาจนตายก็ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา  ได้ชื่อว่ามามืดไปมืด
            ตามลัทธิฮินดู  เหตุที่ตามไฟหน้าศพเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติคนเป็นให้หาทางไปแต่ทางสว่าง  หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อยังมีชิวิตอยู่  ธาตุทั้ง ๔  ยังอยู่พร้อม  ครั้นเมื่อตายแล้วธาตุทั้ง    ก็แยกกัน  จึงจุดไฟตามไว้
            การสวดหน้าศพ  ถือว่าเป็นเรื่องสอนคนเป็น  เพื่อจะได้พิจารณาในมาณานุสสติ
            การทำบุญหน้าศพ  ตามประเพณีจีนและมอญนั้นจะทำบุญหน้าศพทุก ๆ  วัน  นับตั้งแต่วันตายไปจนครบ    วัน  เมื่อครบ    วันแล้ว  จึงจะทำบุญอีกครั้งหนึ่งและทำไปอีก    ครั้ง  ครบ  ๕๐  วัน  แล้วหยุดไปถึง  ๑๐๐  วัน  จึงทำพิธีใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย  และพิธีกงเต็กในงานศพก็ทำเช่นกัน
            ประเพณีของคนไทย  เดิมเราไม่มีการทำบุญ  ๕๐  วัน  และ  ๑๐๐  วัน  เพราะเราจะไม่เก็บศพไว้เกิน    วันแต่การทำบุญดังกล่าวเป็นประเพณีของจีนและมอญ  เพิ่งมีทำในราชกาลที่    ครั้งงานพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์  มีการทำกงเต็ก  ถือเป็นประเพณีที่เกิดขึ้น  และมีสืบมาจนทุกวันนี้  และถือเป็นต้นแบบการทำบุญที่เรียกว่า  สัตตมวาร (ทำบุญ    วัน)  ปัญญาสมวาร  (ทำบุญ  ๕๐  วัน)  และสตมวาร  (ทำบุญ  ๑๐๐  วัน)
            ธูป  เทียน  ดอกไม้จันทน์  ธูปและเทียนนั้นสำหรับขมาศพ  ส่วนดอกไม้จันทน์คือเชื้อเพลิงสำหรับเผาศพประเพณีฮินดูนั้น  เมื่อเกิดมาต้องจุดคบเพลิง    ดวงไว้สำหรับตัวและต้องรักษาคบเพลิงนั้นไว้ตลอดชีพ เมื่อชีวิตดับใช้เพลิงนั้นเผาศพเป็นที่สุด  แต่เรารับธรรมเนียมนี้มาใช้แต่เพียงจุดเทียนกัลเม็ดเมื่อเกิด  และเมื่อตายมีเพลิงเผาศพ
            การนำศพเวียนเชิงตะกอน  โดยการเวียนซ้ายไปขวาให้ครบ    รอบ  อธิบายเป็นปริศนาธรรมได้ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้ง    เป็นการเตือนสติผู้ยังไม่ตาย  แต่บางท่านว่า  เวียน  ๓ รอบ ได้แก่  พระไตรลักษณ์  คือ  อนิจจํ   ทุกขํ  อนตฺตา  เกิดมาเป็นทุกข์  มีความปรวนแปร  ในที่สุดก็ตายเอาอะไรไปก็ไม่ได้  เป็นของเปล่าทั้งสิ้น  ประเพณีฮินดูผู้เป็นทายาทเท่านั้นจะเวียนเชิงตะกอน    ครั้ง  และแบกหม้อน้ำไปด้วย  ปล่อยให้น้ำหยดไปตลอดทาง  แล้วเอาหม้อกระแทกกับหัวศพให้หม้อแตก  หรืออีกนัยหนึ่ง  ให้ผู้ตายได้ร่ำลาบรรดาญาติสนิทมิตรสหายที่มาร่วมงาน
            การนำน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ  เมื่อถึงเวลาจะเผาศพ  จะนำมะพร้าวผลหนึ่งกะเทาะเปลือกเตรียมไว้ต่อยเอาน้ำรดหน้าศพ  (เนื้อมะพร้าวที่หลังจากใช้น้ำล้างหน้าศพแล้วเชื่อกันว่าถ้าใครได้กินจะแก้การนอนกัดฟันได้)  เรื่องนี้อธิบายเป็นปริศนาธรรมได้ว่า  น้ำที่อยู่ในมะพร้าวมีเครื่องห่อหุ้มหลายชั้น  เป็นของสะอาดผิดกับน้ำธรรมดา  ซึ่งขุ่นระคนไปด้วยเปือกตม  เปรียบด้วยกิเลศราคะที่ดองสันดานอยู่  เมื่อเอาน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ  หมายความว่า  ได้เอาสิ่งที่สะอาดจริง ๆ  ล้างสิ่งโสโครก  เท่ากับเอากุศลกรรม  ฉะนั้น
            ประเพณีมอญ  ก่อนเผาศพ  ทอดผ้าขาวชักมหาบังสุกุล  จะต่อยมะพร้าว  เอาน้ำราดหัวโลง  ส่วนประเพณีชวา  เวลานำศพลงหลุมจะต่อยมะพร้าวซีกหนึ่งวางไว้ทางศีรษะศพ  อีกซีกหนึ่งวางไว้ปลายเท้าศพ
            มะพร้าวนั้น  ตามคติอินเดียในมัธยมประเทศ ถือว่าเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์  เรียกว่า  ศรีผล  หรือผลไม้ที่มีสิริ  มะพร้าวเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์เมื่อจะทำพิธีใด ๆ   จะขาดมะพร้าวไม่ได้  ส่วนงานศพพวกพราหมณ์บางแห่ง  เมื่อหามศพไปถึงป่าช้าที่เผาวางพักศพลงบนแท่นที่พักศพก่อด้วยอิฐ  เรียกว่าแท่นวิศราม   นำมะพร้าว    ผล  ที่ผูกติดมากับที่หามศพต่อยให้แตก  แล้วจึงยกศพไปเผา  ตามคติของชาวฮินดูที่ว่าเวลาโยคีตายไป  วิญญาณหรืออาตมันจะออกทางขม่อม  เมื่อโยคีตนใดจะตาย  เขาจะยกเอาไปไว้ในที่โปร่ง ๆ  เพื่อให้อาตมันออกไปได้สะดวก  เวลาเผาศพ  พวกฮินดูฝ่ายเหนือ  จะเอาไม้กระทุ้งกระโหลกศพให้แตก  ในขณะที่ไฟไหม้ศพจวนจะมอด  เพื่อให้อาตมันออกไป  บางแห่งกล่าว  พวกสันยาสี (นักบวช)  เมื่อรู้ตัวว่าจะตาย  สั่งให้พวกศิษย์พยุงตนขึ้นนั่งในหลุมที่เตรียมไว้และโรย  เกลือให้ทั่ว  พอจวนสิ้นใจ  ศิษย์คนหนึ่งจะเอามะพร้าวห้าวหรือหินกระแทกศรีษะสันยาสีโดยแรง เพื่อให้ขม่อมแยกอาตมันจะได้หนีไปทางเบื้องสูง  ถ้าไม่เช่นนั้น  เวลาตายอาตมันจะออกทางทวารหนัก  ซึ่งถือว่าไม่ดี  เป็นเครื่องหมายของคนบาป  คล้ายกับเรื่องทุบกะโหลกมะพร้าวของเรา  ซึ่งอาจเป็นได้ว่าเราได้คตินี้มาจากฮินดู  แต่เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก  เพราะยังรู้สึกสมเพชเวทนาศพอยู่  จึงเปลี่ยนเป็นต่อยมะพร้าวแทน  เพื่อนำน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ  ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ  ซึ่งเชื่อกันว่า  น้ำมะพร้าวเกิดจากศรีผล  หรือผลไม้อันเป็นสิริ  จึงนำมาล้างหน้าศพเพื่อเอาเคล็ดดังกล่าว


(ครอบครัวของผู้เสียชีวิต คือคุณแม่พั่ว สี้สี้ว เป็นมารดา และลูกสาวของผู้เสียชีวิตอีกสองคน ส่วนสามีของผู้เสียชีวิตได้หย่าหล้ากันแล้ว)
          การปลงศพ  ตามแบบฉบับของอินเดีย  มี    แบบ
            ๑. คติทางพระพุทธศาสนา  ใช้หีบศพใส่ศพ  เมื่อเผาแล้วนำอัฐิไปบรรจุในสถูปหรือเจดีย์
            ๒. คติทางศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู  ใช้โกศใส่ศพ  เมื่อเผาแล้วนำอัฐิลอยน้ำ
            ข้อนี้ยังเป็นประเพณีของคนไทยส่วนมาก  ที่เรียกกันว่า  “ลอยอังคารที่เป็นเช่นนี้เพราะได้อิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์จากขอม
            การเดินสามหาบ  หลังจากทำพิธีเผาศพแล้ว  จะมีกรรมวิธีที่ถือกันว่าเป็นประเพณีเก่าแก่  เรียกว่า  การเดินสามหาบ  คือ  การจัดทำสำรับคาวหวานหาบไปถวายพระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นจากที่ได้ทำพิธีเผาแล้ว
            แปรรูปเก็บอิฐ  เช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากเผาศพแล้วจะนำอัฐิในกองฟอนมาเรียงเป็นรูปคน  โดยเก็บส่วนของกระดูกเข้าลำดับของรูปเท่าที่จะทำได้  โดยหันหัวของรูปไปทางทิศตะวันตก  สมมุติว่าตาย  แล้วนิมนต์พระมาบังสุกุลผู้ตาย  เสร็จแล้วเกลี่ยแปรรูปทำเป็นรูปใหม่ให้หันหัวไปทางตะวันออก  สมมุติว่าเกิด  และเอาเงินปลีกวางไว้บนอัฐิ  ใช้ดอกไม้โปรยและประพรมด้วยของหอม  แล้วพระจะบังสุกุลอีกครั้ง  เสร็จแล้วเก็บอัฐิบางส่วนบรรจุไว้ในสถูปหรือเจดีย์  ส่วนอัฐิและเถ้าถ่านที่เหลือนำไปลอยในแม่น้ำ  ที่เรียกกันว่า  ลอยอังคารซึ่งเป็นคติทางศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู
            การไว้ทุกข์  อาจเป็นเรื่องยุ่งยากด้วยเรื่องเกียรติยศและการถือชั้นกัน  แต่ก่อนมีทั้งนุ่งดำ  นุ่งขาว  นุ่งน้ำเงิน  และนุ่งผ้าสีนกพิราบ  บางทีมีการโกนหัว  อย่างไรก็ตามปรกติจะใช้สีดำ  แต่ถ้าเป็นคนจีน  คนในบ้านจะนุ่งขาวตลอดในวันปลงศพ  แต่ถ้าเป็นแขกจะนุ่งดำและน้ำเงินสำหรับสีน้ำเงินนี้น่าจะเกิดขึ้นในรัชกาลที่  ๖เนื่องจากข้าราชการในสมัยนั้นนุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน  เมื่อไปในงานศพที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกับผู้ตาย  แต่ประสงค์จะให้เป็นเกียรติยศแก่งาน  จึงแต่งเครื่องแบบข้าราชการพลเรือนไป
            ประเพณีในการไว้ทุกข์  แต่โบราณถ้าเป็นญาติผู้ใหญ่  เช่น  บิดา  มารดา  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ก็จะไว้ทุกข์กันไม่เกินหนึ่งปี  แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไป  ความจำเป็นในชีวิตปัจจุบันเปลี่ยนไป  การไว้ทุกข์จึงอยู่ที่ความพร้อมของบุตรหลาน  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์  ๑๐๐  วัน  เป็นส่วนมาก
            การโกนหัวไว้ทุกข์  ได้รับอิทธิพลจากอินเดียในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต  ได้มีการให้ชายและหญิงโกนผมทุกคน  เดือนละครั้ง  จนกว่าจะถวายพระเพลิงพระบรมศพ  เมื่อครั้งกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทสวรรคต  ใน  พ.ศ.  ๒๓๔๖  ก็เช่นกัน  แต่มีบางเมืองยกเว้นเพื่อปิดบังไม่ให้ข้าศึกรู้เรื่องการสวรรคตเมืองที่ได้รับการยกเว้นได้แก่  เมืองตาก  กำแพงเพชรศรีสวัสดิ์  ไทรโยค  เมืองหน้าด่าน  ลำปาง  ลำพูน  แพร่  น่าน  เชียงใหม่  หลวงพระบาง  เวียนจันทน์  เมืองลาว  เมืองเขมร  ให้มีตราบอกไปให้ทราบ
            ต่อมาเมื่องพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชดำริว่า  ตามโบราณราชประเพณี  เวลาพระเจ้าแผ่นดินสวรรคคต  พระบรมวงศ์  ข้าราชการและบรรดาราษฎรทั้งหลาย  ต้องโกนผมแทนการไว้ทุกข์ทั่วพระราชอาณาจักร  การไว้ทุกข์ด้วยวิธีการดังกล่าวนั้น  ย่อมเป็นเครื่องเดือดร้อนอยู่เป็นส่วนมาก  จึงมีพระบรมราชโองการให้ยกเลิกการโกนผมตั้งแต่นั้นมา
                 มีประเพณีทางภาคอีสานที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบอกงานศพ  กล่าวคือจะใช้วิธีตีกลอง  ใครได้ยินก็ไปเองตามใจสมัคร  ไม่จำเป็นต้องบอก  จะบอกแต่คนที่โกรธกับผู้ตาย  เพื่อให้ไปขอขมาลาโทษเป็นครั้งสุดท้าย  แต่ในปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้น  เพราะถือกันว่าการไปเผาศพเป็นเรื่องได้บุญ  จะรู้จักหรือไม่รู้จักก็ไปเผาได้ประการสำคัญหนังสือที่เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานศพ  เป็นหนังสือที่มีผู้ประสงค์จะได้รับกันมาก  เพราะส่วนมากเรื่องที่นำมาพิมพ์นั้น หาไม่ได้ในตลาดหนังสือทั่วไป
            จารีตประเพณีที่พึงทำเมื่อกลับจากงานเผาศพ  ต้องล้างหน้า  ล้างมือ  ล้างเท้า  หรืออาบน้ำชำระร่างกายเพื่อปลดเปลื้องมลทินที่ไปเผาศพ  เพื่อล้างจัญไรที่อาจติดมาให้สะอาดหมดจดกลับเป็นมงคลอีก   ประเพณีที่ทำกันในชนบท  จะตักน้ำใส่ครุตั้งไว้หลาย ๆ  ครุ  เมื่อเสร็จจากเผาศพ  ผู้ที่มาจะวักน้ำในครุล้างหน้าและล้างศรีษะก่อนกลับบ้าน
            ในเบื้องต้น  ได้กล่าวถึง  ดอกไม้จันทน์  ธูป  เทียน  ที่เกี่ยวกับงานศพมาแล้ว  จะรวมกล่าวถึง  ดอกไม้ธูป  เทียน  ที่ใช้ในกิจกรรมอื่นเพื่อให้สมบูรณ์เพราะเป็นเรื่องใกล้กัน
            ดอกไม้  ตามคติพราหมณ์  ดอกไม้ไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นเหม็น  ไม่ให้นำมาบูชาเทพเจ้า  ประเพณีเก่าของไทย  วันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ผู้คนจะเก็บดอกไม้มาบูชาพระพุทธรูปในวัด  ทำบุญใส่บาตรพร้อมธูป
เทียน  บางครั้ง  หัวเรือซึ่งเป็นที่สิงสถิตของแม่ย่านางเรือก็ใช้ดอกไม้ประดับ  แสดงว่าดอกไม้เป็นของสูง  และของงาม  จึงใช้เป็นเครื่องประดับ  ดังนั้นประเพณีที่นำดอกไม้หรือพวงหรีด  ไปวางเป็นเครื่องเคารพ   ขมาศพ  ก็เป็นคติเดียวกัน 
            ธูป  เป็นคำสันสกฤตและบาลี  แปลว่า  กลิ่นหอมเครื่องหอม  สิ่งเหล่านี้เป็นที่พึงใจของมนุษย์  ด้วยเหตุนี้  จึงได้หาอุบายที่จะถวายกลิ่นหอมแก่เทวดา  แต่เดิมคงใช้กองไฟเผา  ต่อมาจึงได้นำภาชนะรองรับ  เช่น  ตะคันเผาธูป  ชาวอียิปต์และกรีกใช้ในการทำพิธี  ส่วนธูปที่เราใช้อยู่เข้าใจว่าคงได้มาจากจีน  การจุดไฟให้เกิดเป็นควันหอม  เท่ากับส่งอาณัติสัญญาณไปเมืองสวรรค์ให้เทวดาทราบ  เพื่อให้รู้ว่ามีผู้มาบูชา  เพื่อขอความช่วยเหลือ
            เทียน  มนุษย์เชื่อกันว่า  การจุดเทียนบูชาคือความสว่าง  เป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญรุ่งเรือง  และเป็นลักษณะของเทวดา  หรือพระเจ้าซึ่งเรามองไม่เห็น  และอีกอย่างหนึ่งเชื่อกันว่า  ไฟสามารถชำระล้างบาปมลทินได้  การจุดประทีปให้มีแสงสว่างเป็นเครื่องบูชานั้น  จัดเป็นมงคลในทางลัทธิศาสนา
            รวมความว่า  ดอกไม้เป็นสิ่งงดงาม  ธูปเป็นสิ่งหอมเทียนเป็นแสงสว่าง  ล้วนเป็นสิ่งดีทั้งสิ้น  ดังนั้นการให้ของทั้งสามสิ่งนี้ แสดงให้เห็นด้วยตา  เพื่อบูชาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้ที่ตนเคารพนับถือ  ท่านผู้ใหญ่กล่าวว่าผู้ให้เป็นผู้บูชา  ผู้รับเป็นผู้รับบูชา  ผู้ให้ต้องเป็นผู้น้อยผู้รับต้องเป็นผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่ด้วยทรงคุณความดีด้วยยศ  ด้วยอายุ  การนำดอกไม้  ธูป  เทียน  ไปเผาศพ  คือการไปขมาศพ  เป็นการอโหสิกรรม  ซึ่งเท่ากับเป็นการบูชาให้เกียรติผู้ตาย
   งานศพมีวัตถุประสงค์
                เพื่อสวดอภิธรรมศพ บำเพ็ญบุญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ให้ไปสู่สุขคติ เช่นการบังสุกุลตามแบบพุทธศาสนา สวดศพ แล้วบางแห่งยังมีกัณฑ์เทศน์นำก่อน เพื่อให้ผู้มาฟังธรรมเรื่องความกตัญญูต่อบิดามารดา และการฟังเรื่องอนัตตา ไม่อาจบังคับบัญชาเอาได้ดังใจ บังสุกุล ใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจ์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุลบังสุกุลตาย อนิจจา วะตะสังขารา อุปาทายะวะธัมมิโน อุปปัชชิตวา นิรุชชันติ เตสัง วูปปะสะโมสุโข ฯ    กล่าวสามครั้งคำแปลสังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ เมื่อเกิดแล้วก็มีความเสื่อมไป สลายไป การเข้าไปสงบในกายนั่นแล คือความสุขแท้  มีประโยชน์  เพราะเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี งานศพ เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ในพิธีกรรม  ส่วนเพลงที่ใช้ประกอบพิธีงานศพคือ เพลง ธรณีกรรแสง
กำหนดในการสวดพระอภิธรรม

ได้เวลานิมนต์พระประจำที่
เจ้าภาพจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนธูป ณ ที่พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม
เสร็จแล้วจุดเทียนธูปบูชาหน้าศพ แล้วกลับมานั่ง
พิธีกร อาราธนาศีล รับศีลจบแล้ว พระสงฆ์ก็เริ่มสวดพระอภิธรรมต่อไป
เมื่อถึงเวลาเลิกสวดประจำคืน พระสวดพระอภิธรรมจบสุดท้ายแล้ว พิธีกร
เชิญเจ้าภาพถวายไทยธรรม แล้วชักผ้าภูษาโยง หรือด้ายสายสิญจน์
เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุล (ถ้ามี)
พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล
พระสงฆ์อนุโมทนา
เจ้าภาพกรวดน้ำ พระสงฆ์เดินทางกลับ
เสร็จพิธี
เมื่อเก็บศพไว้ครบ 7 วัน เช่น ตายในวันศุกร์ พอถึงวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ต่อมา ก็นิมนต์พระ 7 รูป (พิธีทางราชการ 10 รูป) มาสวดพระพุทธมนต์เย็น ถวายอาหารบิณฑบาตเช้าในวันรุ่งขึ้น แล้วจะมีสดับปกรณ์ (สวดมาติกาบังสุกุล) แสดงพระธรรมเทศนาต่อก็ได้ หรือทำในตอนเช้าหรือตอนเพล โดยไม่ต้องสวดมนต์เย็นก็ได้




    ลำดับพิธีฌาปนกิจศพ
09.00 น.
เชิญศพขึ้นตั้งบนศาลาบำเพ็ญกุศล
10.15 น.
นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์
10.20 น.
เจ้าภาพจุดเทียนธูปพระรัตนตรัย
10.25 น.
อาราธนาพระปริตร
10.30 น.
พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
11.00 น.
ถวายภัตตาหารเพล
ถวายเครื่องไทยธรรม
พระสงฆ์อนุโมทนา
12.00 น.
เลี้ยงอาหารกลางวันญาติมิตร และแขกที่มาในงาน
14.00 น.
นิมนต์พระเทศน์ขึ้นพักบนอาสน์สงฆ์
14.05 น.
เจ้าภาพจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย เทียนกัณฑ์เทศน์, เทียนธูปหน้าศพ
อาราธนาศีล, อาราธนาธรรม (เทศน์ธรรมดาหรือเทศน์แจงก็ได้)
14.10 น.
พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนาจบแล้ว ถวายกัณฑ์เทศน์
15.00 น.
นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป (หรือจำนวนตามแต่นิมนต์) ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน
มาติกาบังสุกลุ
15.30 น.
เคลื่อนศพเวียนเมรุ 3 รอบ พระสงฆ์นำศพ 1 รูป
15.45 น.
เชิญศพขึ้นสู่เมรุ
16.00  น.
แถวกองเกียรติยศเข้าที่พร้อมหน้าเมรุ (ถ้าเป็นศพที่ต้องจัดกองเกียรติยศ)
อ่านคำไว้อาลัย (ถ้ามี) (ท้ายคำไว้อาลัยมียืนไว้อาลัยศพที่มีกองเกียรติยศไม่ต้องเชิญยืนไว้อาลัย)
เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล โดยจัดลำดับจากผู้มีอาวุโสน้อยไปหาผู้มีอาวุโสขึ้นไปตามลำดับ
-  ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าศพ
ประธาน ฯ (กรณีพระราชทานเพลิงศพ ให้ถวายคำนับยังทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ฯ
ในวันนั้น) วางกระทงดอกไม้ (เครื่องขมา)
เป่าแตรนอน 1 จบ (กรณีจัดกองเกียรติยศ)
เจ้าหน้าที่เพลิงหลวงส่งธูปเทียน และดอกไม้จันทน์ให้ประธาน ฯ (ทำในเขตกรุงเทพ ฯ)
ประธาน ฯ ลงจากเมรุ
เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิง
เสร็จพิธี
หมายเหตุ
ตามตัวอย่างนี้เป็นศพทหารซึ่งต้องมีกองเกียรติยศ ถ้าเป็นศพไม่มีกองเกียรติยศ
ก็ต้องตัดรายการเกี่ยวกับกองเกียรติยศออก
ศพที่มีกองเกียรติยศ ไม่ต้องเชิญยืนไว้อาลัยหลังอ่านคำไว้อาลัย
รายการนี้สมมติขึ้นเต็มอัตรา ซึ่งยังย่อส่วนได้เพื่อการประหยัด เช่น
ตัดพิธีสวดมนต์เลี้ยงพระตอนเช้าออกได้ คงเหลือพิธีเทศน์มาติกาบังสุกุลตอนบ่าย
และตัวอย่างนี้ตั้งศพทำบุญที่วัด ถ้าตั้งศพทำบุญที่บ้านก่อน แล้วเคลื่อนศพมาที่วัดในวันนั้น
ก็เดินเวียนเมรุแล้วนำศพขึ้นเมรุต่อไป
เวลาเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
หากมีผ้าทอดจำนวนหลายผืน จะเชิญญาติและแขกผู้ใหญ่ทอดก่อนอ่านคำไว้อาลัยก็ได้
โดยเหลือไว้สำหรับประธาน ฯ 1 ผืน หรือ 1 ไตร
            เมื่อเจ้าภาพได้บำเพ็ญกุศลครบ 3 วัน 7 วัน 50 วัน 100 วันแล้ว ยังไม่ทำฌาปนกิจ จะต้องเก็บไว้เพื่อรอญาติ รอโอกาสอันเหมาะสม ก็นิยมเก็บศพไว้ที่บ้านหรือที่วัด ก็สุดแต่จะสะดวก ถ้าเก็บไว้ที่วัด ก็นิยมการบรรจุศพ พิธีบรรจุศพก็ไม่มีอะไรมาก เมื่อเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลครบ 3, 5, 7, 50, 100 วัน หรือมากกว่านั้นแล้ว พอได้เวลา (ส่วนมากเวลา 15.00 - 17.00) ก็นำศพไปยังสถานที่บรรจุนำหีบศพเข้าที่เก็บ แต่ยังไม่ปิดที่เก็บ เชิญแขกเข้าเคารพ โดยเจ้าภาพจัดหาดินเหนียวก้อนเล็ก ๆ ห่อกระดาษดำ และกระดาษขาวใส่ถาดไว้ เพื่อแจกแขกคนละก้อน จะมีดอกไม้ด้วยก็ได้ เมื่อแขกนำดินเหนียวและดอกไม้ไปวางเคารพศพแล้ว เจ้าภาพก็ทอดผ้าบังสุกุลปากหีบศพ และนิมนต์พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล (หรือทอดผ้าบังสุกุลก่อนเชิญแขกเข้าเคารพศพก็ได้) พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุลแล้วก็เก็บ เป็นอันเสร็จพิธี ผู้จัดการฌาปนสถานก็จัดการปิดที่เก็บหีบศพต่อไป


                บทสรุปตรงนี้คือ  ความเชื่อถือของคนแต่ก่อนซึ่งถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา  ถ้าเอาความเห็นของคนถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา  ถ้าเอาความเห็นเป็นการเชื่อถือกัน  อย่างเหลวไหล  ไม่มีเหตุผล  ทั้งนี้เพราะเอาของใหม่ไปวัดของเก่า  ความเชื่อถือของคนในสมัยใด  ก็ย่อมต้องเป็นไปตามความต้องการของคนในสมัยนั้นเพราะจารีตประเพณีที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุผลที่ถือกันว่าเป็นคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม  จารีตประเพณีนั้นจะเสื่อมสลายไปหรือ  ไม่อยู่ที่การแก้ไขให้เหมาะ  และแก้ไขเปลี่ยนแปลงพอกพูนกันเรื่อยมา  นับได้หลายชั่วอายุคนจนเกิดเป็นจารีตประเพณีในทุกวันนี้
                 การสร้างวัฒนธรรมองค์กรนั้น.......เปรียบเสมือนเป็นการฝังรากปะปนอยู่ด้วย  ถ้าสร้างวัฒนธรรมในทางที่ดีจะทำให้องค์กรนั้นมีรากที่ดีมั่นคง.....แต่ถ้าบุคลากรในองค์กรสร้างวัฒนธรรมที่ไม่ดีจะทำให้การฝังรากนั้นเป็นไปในทางที่ไม่ดี....ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้นำในทุกระดับขององค์กรจะต้องส่งเสริมรณรงค์และกระตุ้นให้บุคลากรทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึก ในการร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ให้เกิดขึ้นภายในองค์กรอย่างแท้จริง การสร้างวัฒนธรรมองค์กรจะไม่ประสบผลสำเร็จ....ถ้าผู้นำหมายเลขหนึ่งขององค์กรไม่ให้ความร่วมมือและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่มีลักษณะขัดแย้งกับวัฒนธรรมองค์กรที่คาดหวังไว้ในอนาคต

อ้างอิง
km.camt.cmu.ac.th
www.microsoft.com
                ต้องขอขอบคุณครอบครัวผู้เสียชีวิต ที่ได้ให้ข้อมูลในการศึกษา (นางสิทธิ์ สอนภักดิ์ดี ผู้เสียชีวิต) บ้านปละ ม.4 .สะพุง อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น