วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์


ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถาม ความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์[1][2] และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่าง ยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของ มัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถี การให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบัน เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์[6][7] เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ก่อนประวัติศาสตร์
ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติ ศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษา

อุทานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัด บุรีรัมย์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

นิตเช นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ตีความว่าข้อเท็จจริงคือคำอธิบายที่เกิดจากการตีความของเราเอง
ปัญหาเชิงปรัชญาประการหนึ่งเกี่ยวกับการแสวงหาคำตอบหรือคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-17 คือ การหาความจริงทางประวัติศาสตร์เป็นการหาความจริงแบบไหนและสามารถพิสูจน์/เปรียบเทียบกับการหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรทั้งนี้ เพราะเชื่อกันว่าการหาความรู้/ความจริงแบบวิทยาศาสตร์เป็นการหาความรู้/ความจริงที่ถูกต้อง มาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำถามที่ถกเถียงกันมากก็คือ ประวัติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ?และนักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามเสนอ (defense) โดยทำให้ประวัติศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ มีการนำวิธีการ "วิพากษ์" หลักฐานทางประวัติศาสตร์มาใช้ นักประวัติศาสตร์ในยุคนั้นพยายามทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเห็นว่าความเป็น "วัตถุวิสัย" ของประวัติศาสตร์ลดลง เช่นเดียวกันกับที่ยอมรับว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์[10]
การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
·         การรวบรวมหลักฐาน
·         การคัดเลือกหลักฐาน
·         การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
·         การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
·         การนำเสนอข้อเท็จจริง[11]
นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้
·         วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
·         นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
·         การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป
·         วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม

เบเนเดทโต โครเช่ (Benedetto Croce) นักปราชญ์ชาวอิตาลีต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ทั้งหมดคือประวัติศาสตร์ร่วมสมัย[12]
ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน อันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยมในชาติหรือเผ่าพันธุ์ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา, การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิเคราะห์ ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆ คุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคมที่เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง
สำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย
·         มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
·         มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
·         มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
·         มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
·         มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
·         มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
·         มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
·         มีจินตนาการ (Historical imagination) [13]

อ้างอิง




 


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พื้นที่
5,000,000 ตร.กม.
ประชากร
610,000,000
ความหนาแน่น
118.6 /ตร.กม.
ประเทศ
11
ดินแดน
GDP (2011)
$2.158 ล้านล้าน (อัตราแลกเปลี่ยน)
GDP per capita (2011)
ภาษา

เขตเวลา
UTC+5:30 (หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์) ถึง UTC+9:00 (อินโดนีเซีย)
เมืองหลวง

เมืองใหญ่สุด

           เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมุทร ประกอบด้วย บรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์ตะวันออก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1. สภาพทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง ดินแดนที่อยู่ระหว่างจีนและอินเดีย  ปัจจุบันได้แก่ ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และติมอร์ตะวันออก  ดิน แดนเหล่านี้ในอดีตเรียกกันหลายอย่าง เช่น เอเชีย-ดินแดนมรสุม ที่เรียกเช่นนี้เนื่องมาจากมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุม ซึ่งมีความสำคัญต่อดินแดนบริเวณนี้   คำว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่งเริ่มใช้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรคือ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ  ได้ตั้งศูนย์บัญชาการการรบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South - East Asia Command) ขึ้นในค.ศ.1943  เมื่อทำการสงครามกับญี่ปุ่น  การ เรียกชื่อเช่นนี้เพื่อความเด่นชัดทางด้านภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดเขตการปฏิบัติ การของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร โดยหมายความถึง ภูมิภาคที่ประกอบด้วยประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย  โดยไม่ รวมถึงฟิลิปปินส์ จนในทศวรรษ 1960 จึงรวมฟิลิปปินส์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค และในค.ศ.1984 เมื่อบรูไนได้รับเอกราชก็เข้าร่วม รวมทั้งติมอร์ตะวันออกในค.ศ.2002
สภาพภูมิศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 28 องศาเหนือ ถึง 11 องศาใต้ และลองจิจูดที่ 92 องศา ถึง 141 องศาตะวันออก มีพื้นที่ 3.9 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 9% ของทวีปเอเชีย แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นแผ่นดิน และส่วนภาคพื้นน้ำคือหมู่เกาะต่างๆสภาพภูมิอากาศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนเขตลมมรสุม แต่เนื่องจากความกว้างใหญ่ทางภูมิศาสตร์ จึงมิได้มีอากาศแบบเดียวกันทั้งภูมิภาค ลักษณะของฝนเกิดขึ้นจากมรสุมที่พัดมาจากทะเล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตที่เหมาะแก่การเพาะปลูก  แต่ก็มิได้อุดมสมบูรณ์ทุกเขต  ขึ้น อยู่กับว่าในแต่ละเขตเป็นพื้นที่ราบ มีแม่น้ำหรือไม่ บริเวณที่อุดมสมบูรณ์จะมีเฉพาะบริเวณแม่น้ำแดง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำอิระวดี ส่วนแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง น้ำไหลเชี่ยว จึงไม่เหมาะกับการเพาะปลูกมากนัก
ทรัพยากร และการประกอบอาชีพ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก เชื่อกันว่าการทำนาดำเป็นเทคนิควิทยาเฉพาะที่เกิดขึ้นในดินแดนนี้ก่อน แล้วแผ่ขยายไปยังดินแดนอื่น พืชเฉพาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ กล้วย ส้ม มะนาว มะพร้าว เป็นต้น  พืช ที่มิได้เป็นอาหารแต่มีความสำคัญต่อชีวิตคนในภูมิภาคนี้คือ ไผ่ (แม้ว่าหน่อจะรับประทานได้) นิยมนำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งสร้างที่อยู่อาศัย จนเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวต่างชาติว่า ประชาชนแถบนี้เป็นพวกมีวัฒนธรรมไผ่  ส่วน บริเวณภาคใต้พวกคาบสมุทรและหมู่เกาะมีปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เป็นต้น ตอนหลังเมื่อมีการเข้ามาของชาติตะวันตกจึงมีการปลูกยางพาราและทำเหมืองแร่
เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอินโดนีเซียเป็นแหล่งจูงใจให้เกิดสินค้าระดับโลกมา แล้วตั้งแต่อดีต เพราะผลิตผลพื้นเมืองคือ เครื่องเทศ ทำให้หมู่เกาะนี้ได้ชื่อว่าเป็นหมู่เกาะเครื่องเทศ เครื่องเทศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเก็บอาหารและเนื้อมิให้เน่าเสียได้ง่าย  และใช้ในการดัดแปลงปรุงรสหรือผสมในยาบางชนิด  สุมาตรามีชื่อเสียงในเรื่องพริกไทยและกำยาน  แต่ หมู่เกาะเครื่องเทศจริงๆ คือ เกาะอัมบอง และเกาะบันดา ตลอดทางใต้ในหมู่เกาะโมลุกกะ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตลูกจันทน์และกานพลู ซึ่งใช้เป็นเครื่องเทศ ถนอมอาหาร ทำน้ำหอมและเป็นตัวยา  ในอินโดนีเซียมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ ช้าง ลิงอุลังอุตัง      ควายป่า และแรด  พ่อค้ายินดีซื้อนอแรดในราคาสูง เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติเป็นยาและเครื่องราง
การ ค้าเป็นสิ่งที่มีมาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นเวลานาน มีทั้งการค้าภายในประเทศ การค้าระหว่างประเทศที่ค้าระหว่างกันในภูมิภาค และค้ากับพ่อค้าต่างชาติ เช่น ชาวจีน ชาวอินเดีย ชาวตะวันออกกลาง(อาหรับ เปอร์เซีย) และชาวยุโรป  การค้า ที่เด่นในสมัยโบราณคือการค้าทางทะเลกับชาวต่างชาติในสมัยที่ใช้เรือใบต้อง อาศัยลมมรสุม(เดือนเมษายน-กันยายน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  และ เดือนตุลาคม-มีนาคม คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) ควบคุมการเดินเรือทะเล  ผู้ปกครองชาวพื้นเมืองมักร่วมมืออย่างแข็งขันในการทำการค้าทางทะเล เพราะจะได้รับรายได้จากภาษีศุลกากร  ภาษีท่าเรือ บรรณาการ และการแต่งกองโจรสลัดไปโจมตีท่าเรือที่เป็นคู่แข่ง
เชื้อสายประชากรและภาษาที่ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือ พวกที่มีเชื้อสายออสตราลอยด์(Australoids) ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณแหลมมลายู หมู่เกาะอินโดนีเซีย นิวกีนี จนถึงทวีปออสเตรเลีย อีกพวกคือ เมลานีลอยด์(Melaneloids) อยู่บริเวณหมู่เกาะตะวันออก ทั้งสองพวกเป็นกลุ่มชนที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ชนกลุ่มใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพวกที่อพยพเข้ามาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์มากที่สุด อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียโดยเฉพาะบริเวณประเทศจีนและทิเบต เข้าสู่บริเวณที่ราบลุ่มของภูมิภาคคือ ลุ่มแม่น้ำแดง แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในภูเขาและที่ราบสูง เช่น ชาวเขาเผ่าต่างๆ บางพวกอพยพลงมาทางใต้เข้าสู่บริเวณคอคอดกระจนถึงแหลมมลายูและบริเวณหมู่เกาะ บ้างตั้งแหล่งอาศัยอยู่ถาวร บ้างอพยพย้อนกลับขึ้นบนพื้นแผ่นดินใหญ่อีก
                ภาษาที่ใช้ในภูมิภาคนี้ มี 3 ตระกูลภาษา คือ
                1. ภาษามาลาโย-โพลีนีเชียน(Malayo-Polynesian)ใช้พูดในแหลมมลายู และบริเวณหมู่เกาะ เช่น หมู่เกาะอินโดนีเซียและหมู่เกาะฟิลิปปินส์
                2. ภาษาออสโตร-เอเชียติก (Austro-Asiatic) ใช้พูดกันในผืนแผ่นดินใหญ่ เช่น ภาษาของชาวมอญ เขมร และเวียดนาม
                3. ภาษาทิเบโต-ไชนีส(Tibeto-Chinese) ใช้พูดกันในบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ เช่น ภาษาพม่าและภาษาไทย
ความสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความสำคัญทางภูมิศาสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่และพื้นน้ำ ส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ประกอบด้วยเทือกเขา 3 เทือก คือ เทือกเขาอาระกัน เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาแอนนาไมท์หรืออันนัม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสาละวิน  แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำแดง เป็นเส้นทางการคมนาคมการค้า และการดำรงชีวิต  บริเวณเทือกเขายังมีป่าไม้และแร่ธาตุมาก  รวมทั้งเป็นพรมแดนธรรมชาติ  ในส่วนพื้นน้ำ มีช่องแคบหลายแห่งที่เป็นเส้นทางสำคัญในการเดินเรือ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก
ความสำคัญทางการเมือง  ใน อดีตดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งยุทธศาสตร์ที่สำคัญโดยเฉพาะช่องแคบมะละกา เป็นเส้นทางการค้าทางทะเลที่เรือชาติต่างๆต้องแล่นผ่านและแวะจอดที่เมือง มะละกา  ซึ่งเป็นเมืองท่าริมฝั่งของเส้นทางไปมาค้าขายระหว่างจีนและอินเดีย  ผู้ ใดมีอำนาจเหนือเมืองมะละกา จะสามารถแผ่ขยายอิทธิพลทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจจนเข้าครอบงำบริเวณรัฐ ต่างๆในหมู่เกาะ เช่น ประเทศจีนสมัยราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1408-1644)เมื่อค.ศ.1403 กองเรือจีนเดินทางจากจีนมามะละกาและแสดงความมีอำนาจของจีนเหนือช่องแคบ มะละกาในช่วงค.ศ.1408-1431 จีนได้ยกทัพเรือมาถึง 7 ครั้ง เพื่อบังคับให้รัฐต่างๆ แถบนี้ยอมรับอำนาจของจีน
                สมัยที่ชาวตะวันตกเข้ามายังดินแดนนี้ ดินแดนนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการแข่งขันและแย่งชิง  แต่ละประเทศต่างมีจุดมุ่งหมายในการเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ทั้ง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โปรตุเกส ฮอลันดา   ต่างมีอาณานิคมในภูมิภาคนี้ และเมื่อญี่ปุ่นพัฒนาตนเองเป็นประเทศมหาอำนาจก็เข้ายึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และเข้าช่วงชิงอำนาจกันระหว่างโลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์ จนเกิดเป็นสงครามอินโดจีนนานนับสิบปี
ความสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งอุดมด้านทรัพยากรธรรมชาติ  เนื่อง จากเป็นเขตลมมรสุมและมีแม่น้ำที่สำคัญหลายสายเหมาะสมแก่การเพาะปลูก มีพืชพรรณธรรมชาติเขตร้อนชื้นมากมาย มีผลไม้หลากหลายตลอดทั้งปี เป็นแหล่งแร่ธาตุ มีเครื่องเทศซึ่งเป็นสินค้าที่ช่วงชิงกันในหมู่ประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตก  ปัจจุบัน ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นแหล่งพืชผลเมืองร้อนที่ สำคัญ โดยเฉพาะข้าวเจ้าเป็นสินค้าออกชั้นนำของโลกจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแดง แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสาระวินรวมทั้งบริเวณรอบทะเลสาบเขมร
ความ สำคัญทางด้านสังคมและวัฒนธรรม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่มีอารยธรรมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของโลก แห่งหนึ่ง เริ่มตั้งแต่สมัยหินแล้วพัฒนาความเจริญและวัฒนธรรมของตนให้ก้าวหน้าขึ้น เรื่อยๆ เช่น วัฒนธรรมดองซอน ทางด้านการเกษตร มีพัฒนาการการทำนาแบบนาดำเป็นที่แรกของโลก ในบริเวณบ้านเชียง เป็นแหล่งกำเนิดการปลูกข้าวเมื่อ 5,600 ปีมาแล้ว มีการทำนาระบบกักเก็บน้ำ มีระบบชลประทานที่ก้าวหน้า รู้จักใช้วัวควายไถนาและมีความชำนาญด้านการเดินเรือ

2. ความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของรัฐต่างๆ
เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เคยเป็นที่ตั้งของรัฐต่างๆ ที่กำเนิดขึ้นมา โดยมีวิธีการก่อตั้งมีความเจริญรุ่งเรืองตามแบบฉบับของตน เช่น รัฐฟูนัน อาณาจักรของชาวกัมพูชา รัฐจามปา รัฐเวียดนามโบราณ รัฐทวารวดี รัฐพยู รัญพุกาม รัฐมะทะรัม รัฐศรีวิชัย รัฐมัชปาหิต รัฐมะละกา และบารังไกส์ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์  ความเจริฐรุ่งเรืองต่อเนื่องกันมา จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 14 จึงเสื่อมและสิ้นสุดลง  หลังจากนั้นได้เกิดอาณาจักรใหม่ขึ้นแทนที่โดยพัฒนามาจากรัฐในอดีต
2.1 ฟูนัน(Funan)
ฟู นันเป็นรัฐที่รุ่งเรืองอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บางตอนของที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู ฟูนันรวมตัวกันเป็นรัฐแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรัฐชลประทานภายในดินแดนที่ประชาชนดำรงชีวิตด้วยการเกษตร  โดยใช้น้ำจากระบบชลประทานที่พัฒนาเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ฟูนันยังมีเมืองท่าสำหรับจอดเรือและค้าขายกับต่างประเทศ   จึงมีรายได้จากการค้าและการเดินเรือ
เรื่อง ราวของอาณาจักรฟูนัน จากบันทึกของจีนปรากฎว่า ได้เขียนเล่าถึงความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ของชุมชนที่เป็นระเบียบ มีคุณธรรม มีการปกครองระบบกษัตริย์ มีเมืองต่างๆมาขึ้นด้วยหลายเมือง มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีการติดต่อต่างประเทศ ทั้งในเอเชียและโลกตะวันตก
ชาว พื้นเมืองมีชนชั้นสูงเป็นพวกมาลาโยโพนีเซียน ชนชั้นล่างเป็นพวกเนกริโตและเมลานีเซีย ฟูนันมีประวัติความเป็นมา เริ่มจากการรวมตัวกันของผู้คนเป็นชุมชนเล็กขนาดหมู่บ้านจากนั้นพัฒนาขึ้นมา จนกลายเป็นรัฐ
สาเหตุที่ฟูนันพัฒนาจากสังคมเผ่ามาเป็นสังคมรัฐ  สังคมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมเผ่า(Tribal Society)ต่อมาพัฒนาเป็นสังคมรัฐ(Social State) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา  สำ หรับฟูนัน เดิมเป็นหมู่บ้าน ต่อมาขยายออกไป เพราะมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงต้องขยายที่เพาะปลูกให้พอกินพอใช้กับจำนวนชุมชนที่ขยายขึ้น ได้พยายามหาเทคนิค วิทยาการต่างๆมาช่วย เช่น ขุดคลองกั้นน้ำ เพื่อให้อยู่ดี มีอาหารพอเพียง  ต่อมาเริ่มมีโครงร่างสังคมดีขึ้นจึงพัฒนาเป็นรัฐ
เหตุ ที่ฟูนันพัฒนาเป็นรัฐได้นั้น เพราะฟูนันมีการพัฒนาเรื่องการเพาะปลูก และเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลจากสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะเมืองออกแก้ว(Oc-EO) เป็นเมืองท่าของฟูนันที่เรือต่างๆผ่านมาต้องแวะ และการชลประทานในฟูนันก็เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกทำให้ฟูนันขยายตัวเป็นรัฐ แรกในภูมิภาคนี้ 
ความเจริญและความเสื่อมของฟูนัน ตามหลักฐานของจีน ระบุว่า ฟูนันตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธิญญะ(Kaundinya)ผู้มีอิทธิพลเหนือชนพื้นเมือง และได้แต่งงานกับเจ้าหญิงนาคี(Nagi) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ฟูนันอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ มีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ(Vyadhapura)แปลว่าเมืองของกษัตริย์นายพราน(The city of the hunter king)  ซึ่งคำว่าฟูนันเป็นคำที่เทียบเคียงกับภาษาเขมร คือ พนม หรือ บนม ที่แปลว่า ภูเขา ผู้ปกครองของฟูนัน เรียกว่า กูรุง บนม(Kurung Bnam) คือ เจ้าแห่งพนม (King of the Mountain) วยาธปุระ อยู่ใกล้เขาบาพนมและมีเมืองท่าที่สำคัญคือออกแก้ว  มีแม่น้ำยาว 200 กิโลเมตรต่อเชื่อมเมืองท่าออกแก้วกับเมืองวยาธปุระ  เนื่อง จากเมืองหลวงอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง บริเวณที่แม่น้ำ ทะเลสาบไหลมาบรรจบกัน จึงช่วยเรื่องการระบายน้ำจากทะเลสาบไปที่ราบทางฝั่งตะวันตกซึ่งช่วยในเรื่อง การเพาะปลูกได้ดี  สถานที่ตั้งทาง ด้านยุทธศาสตร์ของฟูนัน ทำให้สามารถควบคุมเส้นทางช่องแคบเชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเล อันดามันและเมืองท่าต่างๆของจีนตอนใต้ ทำให้มีความมั่งคั่งและอิทธิพลทางด้านการเมือง  ฟูนันมีอำนาจการปกครองเหนือลังกาสุกะ(Langkasuka มีเมืองหลวงอยู่ในบริเวณปัตตานีปัจจุบัน) และเมืองตามพรลิงค์(Tambralings มี เมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือเมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ ฟูนันยังมัอำนาจเหนือเจนละ ซึ่งอยู่ตอนเหนือของฟูนัน ฟูนันมีอำนาจถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5
การ ขนส่งภายในฟูนันเป็นการคมนาคมทางน้ำ ประชากรอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ ปลูกบ้านแบบใต้ถุนสูง กีฬาที่ชอบคือ การชนไก่ ชนหมู ภาษีอากรจ่ายเป็นทอง เงิน ไข่มุก น้ำหอม ฟูนันมีการติดต่อการค้ากับตะวันตก เนื่องจากปรากฏเหรียญเงินรูปจักรพรรดิโรมัน แหวนจารึกภาษาอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 2
ลักษณะของวัฒนธรรมที่เมืองออกแก้ว  เป็น แบบวัฒนธรรมผสมกันระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมืองกับวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ประเพณีการบูชาภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าหญิงธิดาพญานาคของชาวฟูนัน  ได้สืบทอดมาเป็นธรรมเนียมที่กษัตริย์กัมพูชาทรงปฏิบัติ  ส่วน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมชาวฟูนั้นได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียสมัย ราชวงศ์ปาลวะและราชวงศ์คุปตะ ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ใช้ภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นอิทธิพลจากอินเดีย
ฟูนันมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน  ดัง นั้น เรื่องราวของอาณาจักรฟูนันจึงปรากฏในเอกสารจีนเป็นจำนวนมาก ที่กล่าวไว้คือ เมืองต่างๆของฟูนันมีกำแพงล้อมรอบ มีปราสาทราชวัง และบ้านเรือนราษฎร  ชาวฟูนันมีผิว ดำ ผมหยิก เดินเท้าเปล่า ทำการเพาะปลูก ชอบการแกะสลักเครื่องประดับ การสลักหิน มีตัวอักษรใช้ มีทาสเชลยศึก มีการค้าทองคำ การค้าเงิน ค้าไหม การพิจารณาคดีความใช้แบบจารีตนครบาล มีแหล่งน้ำใช้ร่วมกัน มีการทดน้ำ เพื่อการเพาะปลูก
สรุป ได้ว่า เรื่องราวของฟูนันส่วนมากเป็นความรู้ที่ได้มาจากบันทึกของชาวจีนที่ชื่อ คังไถ่ ที่เดินทางมายังอาณาจักรฟูนันในคริสต์ศตวรรษที่ การ ล่มสลายของฟูนันปรากฎในเอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถังในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ว่าฟูนันเสื่อมเนื่องจากแพ้พวกเจนละ กษัตริย์ฟูนันต้องหนีไปทางทิศใต้ หลังเหตุการณ์ดังกล่าวรัฐเจนละได้เข้าครอบครองฟูนัน กษัตริย์เจนละทุกพระองค์ได้รับเอาเรื่องราวของฟูนันเป็นของตน และสมัยต่อมา คือ สมัยนครวัด กษัตริย์ทุกพระองค์ที่นครวัดถือว่าตนเองสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์      วยาธปุระทั้งสิ้น  จึงกล่าวได้ว่าอาณาจักรฟูนันเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของประเทศกัมพูชา
2.2 อาณาจักรของชาวกัมพูชา (Khmer Empire หรือ Kambujadesa)
ดิน แดนปัจจุบันที่เป็นประเทศกัมพูชาสืบเชื้อสายมาจากรัฐโบราณหลายรัฐ เริ่มจาก ฟูนัน เจนละ นครวัด นครธม จนถึงกัมพูชา ตามลำดับ โดยมีประวัติความเป็นมาเริ่มต้นที่ฟูนัน เมื่อฟูนันอ่อนแอลงเจนละจึงเข้าครอบครองฟูนัน  สำหรับ เจนละเมื่อแรกก่อตั้ง น่าจะอยู่บริเวณตะวันออกของทะเลสาบเขมรและขึ้นต่อฟูนันมีเมืองสำคัญคือ นครเชษฐาปุระ แต่หลักฐานของจีนกล่าวว่า สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 กษัตริย์ของเจนละมาประทับที่เมืองอิสานปุระ  เมื่อครอบครองฟูนันแล้วชาวฟูนันอยู่ปะปนกับชาวเจนละ เจนละจึงรับวัฒนธรรมฟูนันไว้  ต่อมารัฐเจนละอ่อนแอลงจนแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ เจนละบก(Upper Chenla)และ เจนละน้ำ(Lower Chenla) เมื่อหลังค.ศ.706 เล็กน้อย ต่อมาคริสต์ศตวรรษที่ 8 เจนละตอนล่างถูกโจมตี โดยราชวงศ์ไศเลนทร์(Sailendras)แห่งเกาะชวา  และเจนละทั้งหมดตกเป็นเมืองขึ้นของไศเลนทร์ระยะหนึ่ง  จนค.ศ.802 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ค.ศ.802-850) สามารถรวบรวมเจนละทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นรัฐเอกราชแล้วขนานนามใหม่ว่าเป็นรัฐนครวัดเป็นการปลดแอกจากราชวงศ์ไศเลนทร์ และในสมัยพระเจ้ายะโสวรมัน(ค.ศ.889-900)ได้ขยายอิทธิพลไปถึงแหลมมลายู กษัตริย์แห่งรัฐในแหลมมลายูต้องส่งเครื่องบรรณาการให้ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้ายะโสวรมันคือ การสร้างเมืองนครวัดซึ่งเป็นเมืองที่มีระบบชลประทานอย่างดี มีอ่างเก็บน้ำมีลำคลองมากมายจึงมีน้ำใช้อย่างอุดม สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2(ค.ศ.1113-1150)ได้สร้างปราสาทนครวัดเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ ที่แสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของชาวกัมพูชา และแสดงออกถึงอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีต่อสถาปัตยกรรมของเขมร 
รัฐ นครวัด สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 9 กษัตริย์องค์แรกๆเริ่มพัฒนาเทคนิคในการเกษตร ควบคุมสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างศาสนสถาน อาณาจักรจึงยังไม่ขยายไปกว้างไกลมากนัก โดยได้ครอบครอง        รัฐเล็กๆในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน   รัฐ นครวัดพัฒนาตนเองจนเป็นใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความพยายามในการเอาชนะการขาดแคลนน้ำ เพราะในดินแดนรัฐแม้จะมีฝนตกแต่ก็แล้งยาวนานถึง 6 เดือน  ชาวกัมพูชาจึงใช้เวลาหลายศตวรรษพัฒนาการเก็บน้ำ โดยพัฒนาอ่างเก็บน้ำ(เขมรเรียก บาราย)ทำให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง  จนกล่าวได้ว่า ชาวนครวัดมีทักษะในงานวิศวกรรมระบบชลประทาน  ทำให้พื้นที่รอบนครวัดสามารถปลูกข้าวได้ถึงปีละ 3 ครั้ง พอเพียงเลี้ยงประชากร ซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ทำให้    นครวัดสามารถรองรับจำนวนประชากรจำนวนมากพอที่จะสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่
ความ เสื่อมของอาณาจักรนครวัด เนื่องมาจากความสนใจในการขยายอาณาเขต โดยการทำสงคราม เช่น เข้าตีรัฐจามปาเป็นนิจ จนในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้ปกครองดินแดนจามปาทั้งหมด การทำสงคราม  การสร้างนครวัด  ทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้น จนราษฎรก่อการจลาจล  ส่วนรัฐต่างๆที่อยู่ในอำนาจของนครวัด เช่น บริเวณที่ปัจจุบันเป็นดินแดนประเทศไทย ลาว เวียดนาม ได้ทำสงครามปลดแอกจากนครวัด  จน ถึงขั้นเข้าทำลายระบบชลประทานของนครวัด ทำให้นครวัดเสียอำนาจให้กับพวกจาม ในค.ศ.1177 อาณาจักรกัมพูชาจึงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7(ค.ศ.1181-1219)ได้ทรงรวบรวมผู้คนขับไล่พวกจามออกจากนครวัด และสร้างราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่เมืองนครธมได้ขยายอำนาจออกไปปกครองดินแดนแม่น้ำโขงตอนล่าง  ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โปรดให้สร้างปราสาทบายนที่เมืองนครธมเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายาน ยอดปราสาทเป็นพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  ภาพสลักภายในปราสาทเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขมร และภาพการทำสงครามระหว่างชาวเขมรกับพวกจาม
เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรอ่อนแอลง  ทำให้ชนชาติไทยซึ่งตั้งหลักอยู่บริเวณตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  รวมกำลังตั้งเป็นรัฐอิสระจากเขมร  คือ อาณาจักรสุโขทัย และ อาณาจักรล้านนา  ต่อ มาอิทธิพลขอมอ่อนลง มีการตั้งอาณาจักรอยุธยาและในค.ศ.1431 ได้ยกกองทัพไปตีนครธมโดยเจ้าสามพระยา อำนาจของเขมรที่มียาวนานกว่า 600 ปีได้สิ้นสุดลง แต่อาณาจักรเขมรยังคงอยู่โดยย้ายราชธานีไปอยู่ที่พนมเปญ เพื่อให้ห่างไกลจากราชอาณาจักรไทย  เมืองนครวัดและนครธมถูกปล่อยเป็นเมืองร้าง
อาณาจักรเขมรที่พนมเปญกลายเป็นดินแดนของไทยและเวียดนามผลัดกันเข้าปกครอง  สมัย กรุงศรีอยุธยาเขมรตกอยู่ใต้อำนาจของไทยบ่อยๆสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ก็เช่นกันแต่เขมรก็ส่งบรรณาการให้ญวนด้วย จนต่อมาในสมัยจักรวรรดินิยมเขมรก็ตกเป็นของฝรั่งเศส
2.3 จามปา(Champa)
เป็น รัฐที่ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นดินแดนเวียดนามใต้ในปัจจุบัน เป็นรัฐที่อยู่ติดทะเล แต่มีการจัดการเรื่องระบบชลประทานภายในแผ่นดิน ดำรงชีวิตด้วยการเกษตร และรับวัฒนธรรมอินเดีย บันทึกของชาวจีนเรียกอาณาจักรนี้ว่าลินยี่แต่จารึกที่พบเป็นภาษาสันสกฤตที่พบในยุคหลังเรียกว่า จามปา รัฐนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือและตะวันออกของฟูนัน สันนิษฐานว่า ตั้งขึ้นประมาณศตวรรษเดียวกับฟูนัน ถือโอกาสตอนที่ราชวงศ์ฮ
สร้าง: 07 กรกฎาคม 2552 15:29 · แก้ไข: 07 กรกฎาคม 2552 15:29
ดอกไม้: 1 · ความเห็น: 34 · อ่าน: 29751 · สร้าง: มากกว่า 3 ปี ที่แล้ว

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org