วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบเศรษฐกิจโลก


ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน ย่อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพในสังคม การผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจก็ตาม สังคมทุกรูปแบบไม่ว่าจะมองในแง่ส่วนบุคคลแต่ละคนหรือในแง่เป็นหมู่คณะ ต่างก็มีความต้องการในสินค้าและบริการมากกว่ากำลังการผลิตเสมอ ยิ่งสังคมเจริญก้าวหน้ามากขึ้นก็จะก่อให้เกิดการขยายตัวของความต้องการชนิด ใหม่ หรือความต้องการชนิดใหม่ในรูปแบบเก่าอยู่ตลอดเวลา ความต้องการทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางสติปัญญา และจินตนาการมีมากมายหลายรูปแบบ และโดยแท้จริงแล้ว ความต้องการต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดมักจะมีจุดอิ่มตัวได้ เช่น เมื่อหิวคนเราต้องการอาหารจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง แต่เมื่ออิ่มก็ไม่ต้องการอาหารอีกจนกว่าจะเกิดความหิวและต้องการอาหารขึ้นมา ใหม่ แต่ความต้องการทั้งหมดของคนเรานั้นไม่มีขอบเขตหรือไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อมนุษย์มีปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการ ดำรงชีวิตครบถ้วนแล้วก็เริ่มมีความต้องการที่พิเศษออกไป เช่น อยากรับประทานอาหารรสเลิศตามสถานที่หรู ๆ ชุดเดินเล่น ฯลฯ ความต้องการต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อแบ่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของ มนุษย์ จึงจำเป็นต้องมีวิธีการตัดสินว่าความต้องการชนิดใดมีความสำคัญกว่ากัน เพื่อจะได้จัดเข้าเป็นความต้องการที่ได้รับการบำบัดก่อนหลัง การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการและการหาสรรพสิ่งต่างๆ มาบำบัดความต้องการนี้เองเป็นหน้าที่การดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
หมายถึงหน่วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจย่อยมากมายมารวม ตัวกันดำเนินการผลิตในสังคมโดยใช้หลักการแบ่งงานกันตามความถนัด มีการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบาย และแนวทางการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน หน่วยเศรษฐกิจ คือ หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ จะทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจอันได้แก่การผลิต การบริโภค และการแจกจ่ายสินค้าและบริการ  หน่วยเศรษฐกิจเป็นหน่วยงานที่มีอยู่ในแต่ละระบบ เศรษฐกิจจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยครัวเรือนหรือผู้บริโภค หน่วยธุรกิจหรือผู้ผลิต และองค์การของรัฐบาล โดยจะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
  • หน่วยครัวเรือนหรือผู้บริโภค อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ซึ่งจะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ทรัพยากร สมาชิกของครัวเรือนอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นแรงงานเป็นผู้ประกอบการของกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดในระบบเศรษฐกิจก็ได้ ถ้าเป็นเจ้าของที่ดินก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าเช่า ถ้ารับจ้างทำงานก็จะได้ค่าจ้าง ถ้านำเงินให้กู้ยืมก็จะได้ดอกเบี้ย ถ้าเป็นผู้ประกอบการจะได้ผลตอบแทนในรูปของกำไรหรือขาดทุน แต่ทุกครัวเรือนจะต้องมีการบริโภคทั้งสิ้นและเป้าหมายหลักของผู้บริโภคเหล่า นี้ก็คือความพึงพอใจสูงสุดนั้นเอง
  • หน่วยธุรกิจหรือผู้ผลิต เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำเอาปัจจัยการผลิตดังกล่าวข้าง ต้นมาทำการผลิตสินค้าและบริการ และนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคหน่อยธุรกิจประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้ขาย ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ แสวงหากำไรสูงสุด
  • องค์การของรัฐบาล เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยราชการต่างๆ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานตามนโยบาย โดยจะทำหน้าที่ในระบบเศรษฐกิจแทนรัฐบาล และสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะมีบทบาทมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐบาลจะควบคุมหน่วยธุรกิจและครัวเรือนน้อยหรือ บางอย่างไม่ควบคุมเลย แต่ในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ รัฐบาลจะควบคุมทั้งหน่วยธุรกิจและหน่วยครัวเรือนมากกว่าระบบเศรษฐกิจแบบอื่น
                ระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ย่อมมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการที่รัฐบาลจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจัดตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) และให้ผู้ใดเป็นเจ้าของทรัพย์สินความมั่งคั่ง ตลอดจนวางข้อบังคับและวิธีการควบคุมด้วย ดังนั้นการที่แต่ละสังคมมีขนบธรรมเนียมประเพณีและระบบการเมืองการปกครองที่ แตกต่างกันไป ทำให้วิธีการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร การตัดสินใจปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระบบ เศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ ระบบเศรษฐกิจสามารถจำแนกออกเป็น 4 ระบบด้วยกัน คือ ระบบทุนนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และแบบผสม โดยมีลักษณะสำคัญและข้อดี-ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
  คำว่า เศรษฐกิจ (economy) เป็นเรื่องของความพยายามในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (economic activities) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิต (production) การบริโภค (consumption) หรือ การจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการ (distribution) ทั้งนี้เพราะทุกสังคมในโลกต่างประสบกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจร่วมกัน นั่นคือความไม่สมดุลระหว่างทรัพยากรที่จะใช้ในการผลิตสินค้าและบริการซึ่งมีอยู่จำกัดกับความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่ไม่จำกัด สังคมจึงต้องหาวิธีการที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ในทางที่ประหยัดที่สุดและสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มบุคคลต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สังคมหนึ่งๆย่อมประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจต่างๆมากมายรวมตัวกันขึ้นเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจ (economic institution) และเนื่องจากแต่ละสังคมมีการปกครอง จารีตประเพณี และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์และนโยบายที่เป็นแบบแผนให้สถาบันทางเศรษฐกิจถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ระบบเศรษฐกิจ (economic system) หมายถึง กลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น สถาบันการผลิต สถาบันการเงินการธนาคาร สถาบันการค้า สถาบันการขนส่ง สถาบันการประกันภัย ฯลฯ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันคืออำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้นให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ระบบเศรษฐกิจทำหน้าที่แก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ
-                   ตัดสินใจว่า จะผลิตสินค้าหรือบริการอะไรบ้าง และควรผลิตในจำนวนเท่าใด
-                   ตัดสินใจว่าในการผลิตสินค้าหรือบริการเหล่านั้นควรจะใช้วิธีการผลิตอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด
-                   ตัดสินใจว่า จะจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าหรือบริการที่ผลิตขึ้นมานั้นไปยังบุคคลกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างไร จึงจะได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเป็นธรรมมากที่สุด
ระบบเศรษฐกิจใดที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างครบถ้วนย่อมเท่ากับว่าประเทศหรือสังคมนั้นจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนของประเทศที่มีอยู่ไม่จำกัดได้อย่างทั่วถึงช่วยให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี ประเทศชาติย่อมพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้  ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในโลกจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครอง ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนแนวคิดในการบริหารเศรษฐกิจของผู้บริหารในแต่ละประเทศ
 ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระบบใหญ่ๆดังนี้
1)   ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม (Laissez-Faire or Capitalism)
           ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เศรษฐทรัพย์ต่างๆที่ตนหามาได้ มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการเลือกอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการต่างๆ แต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย กล่าวคือการดำเนินการใดๆจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลอื่น ใช้ระบบของการแข่งขันโดยมีราคาและระบบตลาดเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากร โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะมีหน้าที่เพียงการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและการป้องกันประเทศ
2)   ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
           ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ หน่วยธุรกิจและครัวเรือน จะผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล กล่าวคือรัฐบาลจะเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจว่าทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ควรจะนำมาผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร การตัดสินใจ มักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับจากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการ ของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญโดยสรุประบบเศรษฐกิจแบบนี้จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลางรัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนแต่เพียงผู้เดียวเอกชนมีหน้าที่เพียงแต่ทำตามคำสั่งของทางการ เท่านั้น
3)   ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)
           ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกับระบบเศรษฐกิจ แบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมรัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรการผลิตพื้นฐาน ไว้เกือบทั้งหมด และเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐาน กิจการหลักที่มี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ เช่น ธุรกิจธนาคาร อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ป่าไม้ น้ำมัน กิจการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่างๆ ฯลฯ รัฐจะเป็นผู้เข้ามาดำเนินการเอง อย่างไรก็ตาม รัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน เช่น สามารถทำธุรกิจค้าขายขนาดย่อมระหว่างท้องถิ่นใกล้เคียง สามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน เพื่อการยังชีพ โดยสรุป ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่อาศัยกลไกรัฐเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ แต่ทว่ากลไกราคาพอจะมีบทบาทอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้
4)   ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
           ระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ในส่วนที่เป็นแบบทุนนิยม คือ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่าง มีเสรีภาพในการเลือกผลิตหรือบริโภค ใช้ระบบของการแข่งขัน กลไกราคาเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ส่วนที่เป็นแบบสังคมนิยม คือ รัฐบาลเข้ามาควบคุมหรือเข้ามาดำเนินกิจการที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กิจการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมหลัก และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องมีการลงทุนมากเพราะหาเอกชนลงทุนได้ยาก เนื่องจากเป็นกิจการที่ต้อง เสี่ยงกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มกับการลงทุน แต่กิจการเหล่านี้จำเป็นต้องมีเพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การขนส่ง และคมนาคม เหตุที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินการในกิจการดังกล่าวก็เพื่อขจัดปัญหาในเรื่องการผูกขาดหรือเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นถ้าปล่อยให้เอกชนทำการแข่งขัน
           โดยสรุปแล้วระบบเศรษฐกิจแบบผสมจึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้ทั้งระบบกลไกราคา หรือระบบตลาดควบคู่ไปกับระบบกลไกรัฐในการจัดสรรทรัพยากร

อ้างอิง
  พัชรี สุวรรณศรี
       สุภัทณี เปี่ยมสุวรรณกิจ
      https://sites.google.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น