วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรม ระดับโลกในยุคโลกาภิวัตน์


โลกาภิวัตน์ (มักเขียนผิดเป็น โลกาภิวัฒน์) หรือ โลกานุวัตร (อังกฤษ: globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลกโลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็น ต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่ เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก โลกาภิวัตน์ หมายถึงกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม-วัฒนธรรมและการเมือง
ประวัติ
คำว่า โลกาภิวัตน์ในภาษาอังกฤษคือ “Globalization” สามารถสืบย้อนไปได้ถึง พ.ศ. 2487 (1944) แต่ได้นำมาใช้โดยนักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 (1981) มานี้เอง อย่างไรก็ดี แนวคิดยังไม่แพร่หลายและเป็นที่นิยมจนกระทั่งหลัง พ.ศ. 2538 (1995) เป็นต้นมา แนวคิดแรกสุดและการพยากรณ์ถึงการหลอมรวมของสังคมของโลกเกิดจากข้อเขียนของ นักประกอบการที่ผันตัวเป็นศาสนาจารย์ชื่อ ชารลส์ ทาซ รัสเซลล์ (Charles Taze Russell) ผู้ใช้คำว่า บรรษัทยักษ์ใหญ่” (corporate giants) เมื่อปี พ.ศ. 2440 นักวิทยาศาสตร์สังคมหลายท่านได้พยายามแสดงให้เห็นความต่อเนื่องระหว่างแนวโน้มร่วมสมัยของโลกาภิวัตน์กับยุคก่อนหน้านั้น ยุคแรกของโลกาภิวัตน์ (ในความหมายเต็ม) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2344พ.ศ. 2443) เป็นการเติบโตที่รวดเร็วมากในด้านการค้านานาชาติระหว่างจักรวรรดิอำนาจในยุโรป อาณานิคมของยุโรปและสหรัฐฯ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกาภิวัตน์ได้เริ่มขึ้นใหม่และถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าใหญ่ๆ ที่ช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าลงได้มาก โลกาภิวัตน์ถูกมองว่าเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาเป็นศตวรรษที่ติดตามการขยายตัวของประชากรและการเจริญเติบโตทางอารยธรรมที่ถูกเร่งในอัตราสูงมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา รูปแบบโลกาภิวัตน์ยุคแรกๆ มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิพาเธีย (จักรวรรดิอิหร่านระหว่าง พ.ศ. 296พ.ศ. 763) และสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อเส้นทางสายไหมที่เริ่มจากจีนไปถึงชายแดนของจักรวรรดิพาเทียและต่อเนื่องไปสู่กรุงโรม ยุคทองของอิสลามนับ เป็นตัวอย่างหนึ่งเมื่อพ่อค้าและนักสำรวจชาวมุสลิมวางรากฐานเศรษฐกิจของโลก ยุคแรกไปทั่ว โลกเก่ายังผลให้เกิดโลกาภิวัตน์กับพืชผล การค้า ความรู้และเทคโนโลยีต่อมาถึงระหว่างยุคของจักรวรรดิมองโกลซึ่ง มีความเจริญมากขึ้นตามเส้นทางสายไหม การบูรณาการโลกาภิวัตน์มีความต่อเนื่องมาถึงยุคขยายตัวทางการค้าของยุโรป เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษ ที่ 16 และ17 (ระหว่าง พ.ศ. 2043พ.ศ. 2242) เมื่อจักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิสเปนได้แผ่ขยายไปทั่วทุกมุมโลกหลังจากที่ได้ขยายไปถึงอเมริกา
โลกาภิวัตน์กลายเป็นปรากฏการณ์ทางธุรกิจในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 2143พ.ศ. 2242) เมื่อบริษัทดัทช์อินเดียตะวันออก ซึ่งถือกันว่าเป็น บรรษัทข้ามชาติ” แรกได้รับการจัดตั้งขึ้น แต่เนื่องจากการมีความเสี่ยงที่สูงมากในการค้าระหว่างประเทศ บริษัทดัทช์อินเดียตะวันออกได้กลายเป็นบริษัทแรกของโลกที่ใช้วิธีกระจายความ เสี่ยง ยอมให้มีการร่วมเป็นเจ้าของด้วยการออกหุ้นซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดโลกาภิวัตน์ การปล่อยหรือการเปิดเสรีทางการค้าในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งบางครั้งเรียกกันว่า ยุคแรกแห่งโลกาภิวัตน์ เป็นยุคที่มีลักษณะการเจริญเติบโตของการค้าและการลงทุนของโลกในอัตราที่รวด เร็วระหว่างจักรวรรดิอำนาจยุโรปกับอาณานิคมอละต่อมากับสหรัฐฯ ในยุคนี้เองที่พื้นที่บริเวณใต้สะฮาราและหมู่เกาะแปซิฟิกถูกจัดรวมเข้าไว้ใน ระบบโลก ยุคแรกแห่งโลกาภิวัตน์เริ่มแตกสลายเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้น และต่อมาได้ล่มสลายในช่วงวิกฤติมาตรฐานทองคำในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2468พ.ศ. 2478
โลกาภิวัตน์สมัยใหม่
                โลกาภิวัตน์ในยุคตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลที่ตามมาจากการวางแผนของนักเศรษฐศาสตร์และผลประโยชน์ทางธุรกิจ รวมทั้งนักการเมืองได้ตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับลัทธิคุ้มครอง (Protectionism) การถดถอยของการรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ผลงานของพวกเขาได้นำไปสู่การประชุม เบรทตัน วูด” (Bretton Woods) ที่ทำให้เกิดสถาบันนานาชาติหลายแห่งที่มีวัตถุประสงค์คอยเฝ้ามองกระบวนการ โลกาภิวัตน์ที่ฟื้นตัวใหม่ คอยส่งเสริมการเจริญเติบโตและจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา สถาบันดังกล่าวได้แก่ ธนาคารสากลเพื่อการฟื้นฟูและการพัฒนา" (ธนาคารโลก) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทั้งสองสถาบันแสวงหาเทคโนโลยีขั้นก้าวหน้าต่างๆ มาใช้ เพื่อการลดต้นทุนการค้า มีการเจรจาทางการค้า ที่เดิมอยู่ภายใต้ความอุปถัมภ์ของ GATT ซึ่งจัดการให้มีการประชุมเพื่อเจรจาตกลงยกเลิกข้อจำกัดที่กีดขวางการค้าโดยเสรีอย่างต่อเนื่อง การประชุมรอบอุรุกวัย (พ.ศ. 2527พ.ศ. 2538) นำไปสู่การก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อใช้เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งทางการค้า และเพื่อจัดวางพื้นฐานให้การค้าเป็นในบรรทัดฐานเดียวกัน ข้อตกลงทวิภาคี และพหุภาคีทางการค้า รวมถึงส่วนของ สนธิสัญญามาสทริชท์” ( Maastricht Treaty) ของยุโรป และมีการตกลงและลงนามใน ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ” (NAFTA) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดอัตราภาษีและการกีดกันทางการค้า ผลของการตกลงนี้ทำให้สินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลอเมริกันไหลบ่าท่วมท้นตลาดต่างประเทศ การวัดความเป็นโลกาภิวัตน์

http://bits.wikimedia.org/static-1.21wmf7/skins/common/images/magnify-clip.png
                Japanese อาหารจานด่วน แมคโดแนลด์ ของญี่ปุ่นนับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวของความเป็นนานาชาติ
เมื่อมองโลกาภิวัตน์เฉพาะทางเศรษฐกิจ การวัดอาจทำได้หลายทางที่แตกต่างกัน โดยดูจากการรวมศูนย์การเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่อาจบ่งชี้ความเป็นโลกา ภิวัตน์เห็นได้ 4 แนวดังนี้:
  • ทรัพยากรและสินค้าและบริการ เช่น ความต้องการทรัพยากรธรรมชาติ การส่งออกและนำเข้าสินค้าที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ต่อหัวของประชาชาติ
  • แรงงานและคน เช่น อัตราการย้ายถิ่นฐานเข้าและออกโดยชั่งน้ำหนักกับประชากร
  • เงินทุน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเงิน การไหลเข้าและไหลออกของเงินลงทุนทางตรงที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ประชาชาติและรายได้ต่อหัวของประชากร
  • อำนาจและเทคโนโลยี เช่น ความมั่นคง การย้ายขั้วทางการเมือง การเคลื่อนไหวกองกำลังติดอาวุธ การเคลื่อนไหวของงานวิจัยและ พัฒนา สัดส่วนของประชากร (และอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา) ใช้เทคโนโลยีที่เกิดใหม่ (เทคโนโลยีขั้นก้าวหน้า เช่น การใช้อาวุธใหม่ การใช้โทรศัพท์ รถยนต์ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ฯลฯ)
นั่นคือ เป็นการวัดดูว่าชาติ หรือวัฒนธรรมนั้นๆ มีความเป็นโลกาภิวัตน์ตั้งแต่ต้นมาถึงในปีที่ทำการวัดล่าสุด โดยการใช้ตัวแทนง่ายๆ เช่น การเคลื่อนไหลของสินค้าเข้า-ออก การย้ายถิ่นฐาน หรือเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศดังกล่าวข้างต้น 
เนื่องจากโลกาภิวัตน์ไม่ใช่ปรากฏการณ์อย่างเดียวทางเศรษฐกิจ การใช้การเข้าสู่ปัญหาด้วยวิธีแบบหลายตัวแปรมาเป็นตัวชี้วัดความเป็นโลกา ภิวัตน์จึงเกิดขึ้นโดยการเริ่มของ ถังความคิด” (Think tank) ในสวิสเซอร์แลนด์ KOF ดัชนีมุ่งชี้วัดไปที่มิติหลัก 3 ตัวของโลก ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง นอกจากการใช้ตัวชี้วัดหลักทั้งสามตัวนี้แล้ว ดัชนีรวมของโลกาภิวัตน์และตัวชี้วัดกึ่งดัชนีโยงไปถึงการเคลื่อนไหวจริงทาง เศรษฐกิจ ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อของบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลของความใกล้ชิดติดต่อกันทางวัฒนธรรม เหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณด้วย มีการเผยแพร่ข้อมูลนี้เป็นรายปี เป็นข้อมูลรวมของประเทศต่างๆ 122 ประเทศดังในรายละเอียดใน “Dreher, Gaston and Martens (2008) [6].
จากดัชนีดังกล่าว ประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์มากที่สุดในโลกได้แก่เบลเยียม ตามด้วยออสเตรีย สวีเดน สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์น้อยที่สุดตามดัชนี KOF ได้แก่ไฮติ เมียนมาร์ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และบูรุดี[4] การวัดอื่นๆ มองภาพโลกาภิวัตน์ในฐานะเป็นกระบวนการที่เป็นปฏิสัมพันธ์ของการหลอมกระจายเพื่อหาระดับของผลกระทบ (Jahn 2006)  เอ.ที. เคียร์นีย์ ( A.T. Kearney) และวารสารนโยบายต่างประเทศ ( Foreign Policy Magazine) ได้ร่วมกันตีพิมพ์ ดัชนีโลกาภิวัตน์” (Globalization Index) ขึ้นอีกแหล่งหนึ่ง จากดัชนีเมื่อ พ.ศ. 2549 ผลปรากฏว่า สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ แคนาดา และเดนมาร์กเป็นประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์มากที่สุด อียิปต์ อินโดนีเซีย อินเดียและอิหร่านเป็นโลกาภิวัตน์น้อยที่สุด ส่วนไทยอยู่ในลำดับที่ 45 และจากดัชนีในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2550 อับดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของไทย ตกลงไปอยู่ที่อันดับที่ 59
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์
                โลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อโลกในหลายแง่มุม เช่น
  • อุตสาหกรรม การปรากฏของตลาดการผลิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก และช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่กว้างขึ้นสำหรับผู้บริโภคและบริษัท
  • การเงิน – การปรากฏขึ้นของตลาดการเงินทั่วโลกและการเข้าถึงเงินลงทุนจากแหล่งภายนอกที่ ง่ายและสะดวกขึ้นของบริษัทต่างๆ ประเทศและรัฐต่ำกว่าประเทศที่ประสงค์ของกู้ยืม
  • เศรษฐกิจ - การยอมรับตลาดร่วมของโลกบนพื้นฐานแห่งเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้าและทุน
  • การเมือง - การเมืองโลกาภิวัตน์หมายถึงการสร้างสรรค์รัฐบาลโลกที่จะทำหน้าที่กำกับดูแล ความสัมพันธ์ระหว่างชาติและให้หลักประกันสิทธิ์ที่เกิดจากสังคมและเศรษฐกิจ ของโลกาภิวัตน์[5] ในทางการเมือง สหรัฐฯ ได้รับประโยชน์จากการครองอำนาจในโลกในหมู่ชาติมหาอำนาจ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความั่งคั่งของประเทศ ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์และจากการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ประเทศจีนได้ เจริญเติบโตอย่างมหาศาลในช่วงเพียงทศวรรษที่ผ่านมา หากจีนมีความเจริญเติบโตในอัตราตามแนวโน้มนี้ต่อไป เป็นไปได้ที่จะเกิดการเคลื่อนย้ายศูนย์อำนาจในระหว่างประเทศผู้นำภายใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศจีนจะมีความมั่งคั่ง มีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่สามรถท้าทายสหรัฐฯ ในการเป็นประเทศมหาอำนาจผู้นำ[6]
  • ข้อมูลข่าวสาร มีการเพิ่มการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารระหว่างพื้นหรือภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลกันมาก
  • วัฒนธรรม การเจริญเติบโตของการติดต่อสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม เกิดมีประเภทใหม่ๆ ในด้านความสำนึกและเอกลักษณ์ เช่น โลกาภิวัตน์นิยม” - ซึ่งครอบคลุมการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและการได้บริโภคผลิตภัณฑ์และความคิด จากต่างประเทศ การรับเทคโนโลยีใหม่มาใช้และการเข้าร่วมใน วัฒนธรรมโลก
  • นิเวศวิทยา การปรากฏขึ้นของความท้าทายในปัญหาสภาวะแวดล้อมในระดับโลกที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยปราศจากความร่วมระดับนานาชาติ เช่นปัญหา การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศมลภาวะทางน้ำและอากาศที่ครอบคลุมหลายเขตประเทศ การทำประมงเกินขีดความสามารถในการรองรับ การกระจายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ การสร้างโรงงานเป็นจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาที่ก่อมลภาวะได้อย่างเสรี
  • สังคม ความสำเร็จในการบอกรับข่าวสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนของทุกชาติในโลก
  • การขนส่ง การลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ ของรถยุโรปในถนนของยุโรป (อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันสำหรับอเมริกา) และการสิ้นปัญหาเรื่องระยะทางที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยลดเวลาการเดินทาง[ต้องการอ้างอิง]
  • การแลกเปลี่ยนที่มากขึ้นของวัฒนธรรมสากล
    • การขยายตัวของ อเนกวัฒนธรรมนิยมและการเข้าถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ง่ายขึ้นสำหรับปัจเจกบุคคล (เช่นการส่งออกภาพยนตร์ของฮอลลีวูดและบอลลีวูด หรืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของ อินเดีย) อย่างไรก็ดี การนำเข้าวัฒนธรรมอาจทำให้เกิดการกลืนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ง่าย มีผลให้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีน้อยลงจากการผสมผสานระหว่างกันเกิดเป็น วัฒนธรรมพันทาง หรืออาจถูกกลืนโดยการค่อยๆ รับวัฒนธรรมใหม่มาใช้โดยสิ้นเชิง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในกรณีนี้ได้แก่การรับวัฒนธรรมตะวันตก ( Westernization) ของหลายประเทศเมื่อเร็วๆ นี้ แต่การรับวัฒนธรรมจีน ( Sinicization) ได้เกิดขึ้นทั่วเอเชียมานานนับศตวรรษแล้ว
  • การเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มากขึ้น
  • ด้านเทคนิค/กฎหมาย
  • การตระหนักด้านเพศ โดยทั่วไป การมองโลกาภิวัตน์เฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องง่าย แต่ในด้านเพศนี้มีเบื้องหลังในความหมายทางสังคมที่หนักแน่น โลกาภิวัตน์มีความหมายในปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆ หลายประเทศ โลกาภิวัตน์อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านความเสมอภาคทางเพศ และประเด็นนี้เองที่นำไปสู่การตระหนักถึงความไม่เสมอภาคของสตรีเพศ (บางครั้งเป็นความโหดร้าย) ที่เป็นอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ตัวอย่างเช่น สตรีในในหลายประเทศในแอฟริกาที่สตรีจะต้องถูกขริบอวัยวะเพศด้วยวิธีการที่เป็นอันตราย ซึ่งโลกเพิ่งรับรู้และทำให้ประเพณีนี้ลดน้อยลง 
องค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international organisation) หมายถึง โครงสร้างหรือสถาบันที่เป็นทางการ ถูกสร้างขึ้นโดยข้อตกลงระหว่างรัฐหรือไม่ใช่รัฐก็ได้ เพื่อบรรลุจุดประสงค์และผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งองค์การระหว่างประเทศจะตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างสอง "รัฐ" ขึ้นไป
หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ
1.             จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่าง "รัฐ"
2.             วางกฎเกณฑ์ต่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง "รัฐ"
3.             จัดสรรทรัพยากร (resource allocation)
4.             เสนอการใช้วิธีป้องกันร่วมกัน (collective defence)
5.             เสนอการใช้วิธีปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
6.             ส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่าง ๆ
องค์กรหลักระหว่างประเทศในเครือสหประชาชาติ
รวม 21 องค์กร ได้แก่




รวม 3 องค์กรคือ
รวม 4 องค์กรคือ
  องค์การระหว่างประเทศ
     องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกัน จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่างๆเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ
     ความสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ
     การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ เป็นไปด้วยความสมัครใจของรัฐที่จะอยู่รวมกลุ่มกัน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์การระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญ ดังนี้

     1. เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุมพบปะกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน
     2. ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเวทีสำหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน
     3. รัฐได้รู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือที่เป็นสถาบัน และวิธีการที่เป็นระบบ การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศจึงเป็นทางออกของรัฐ ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์และ วางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติต่อไป

   ในที่นี้ ขอกล่าวถึงองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่
     1. องค์การสหประชาชาติ (The United Nations : UN)
     องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยมีประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 51 ประเทศ ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ค.ศ. 1946 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักงานภาคพื้นยุโรปตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ปัจจุบันมีสมาชิก 192 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศเอกราชต่างๆ จากทุกภูมิภาคของโลก






     วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาต
     กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้

     1) เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติและความมั่นคงระหว่างประเทศ
     2) เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดหลักการเคารพต่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน
     3) เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม และการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นมูลฐานของมนุษย์ โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่อง เชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา
     4) เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการประสานงานของประชาชาติทั้งมวลให้กลมกลืนกัน อันจะนำไปสู่จุดหมายปลายทางร่วมกัน
กล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากสงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลมนุษยชาติ

     องค์กรขององค์การสหประชาชาติ
     องค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ ที่มีความสำคัญ ได้แก่

     1) สมัชชา (General Assembly)
      สมัชชา คือ ที่ประชุมของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง สมัชชามีหน้าที่พิจารณาให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ภายในกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ นอกจากนั้นยังคอยกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ เรียกร้องให้มีการประชุมระดับโลกในหัวข้อสำคัญๆ และกำหนดปีสากลเพื่อเน้นความสนใจในประเด็นที่สำคัญๆ ของโลกสมัชชามีการประชุมสมัยสามัญปีละครั้ง การลงคะแนนเสียงในเรื่องทั่วไปๆ ใช้เสียงข้างมาก แต่ถ้าเป็นปัญหาสำคัญจะต้องได้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
     2) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
     คณะมนตรีความมั่นคง เป็นองค์กรที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยจะเข้าไปแก้ไขวิกฤตการณ์หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศของทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของสหประชาชาติหรือไม่ก็ตาม คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกถาวร 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี ในกรณีประเทศสมาชิกถาวรประเทศใดประเทศหนึ่งออกเสียงคัดค้าน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) อันจะมีผลทำให้เรื่องนั้น ๆ ตกไป ในยุคของสงครามเย็น การดำเนินงานของคณะมนตรีความมั่นคงประสบกับสภาวะชะงักงัน เนื่องจากการใช้สิทธิยับยั้งของประเทศมหาอำนาจ ปัจจุบันสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงไม่ว่าจะเป็นสมาชิกถาวรหรือไม่ก็ตาม จะต้องงดเว้นการออกเสียง เมื่อมีการพิจารณาปัญหาข้อพิพาทที่ตนเป็นคู่กรณีด้วย
     3) สำนักเลขาธิการ (The Secretariat)
   
 เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการองค์กรอื่นๆ ของสหประชาชาติ ประกอบกับ การดำเนินงานตามนโยบายและบริหารโครงการตามที่องค์กรต่างๆ ของสหประชาชาติ กำหนดไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งมาจากประเทศที่เป็นสมาชิกร่วมกันปฏิบัติงาน และมีเลขาธิการสหประชาชาติเป็นหัวหน้าองค์กร เลขาธิการสหประชาชาติเป็น      ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากสมัชชาใหญ่ มีวาระคราวละ 5 ปี โดยหลักของการ เลขาธิการจะมาจากประเทศที่เป็นกลางหรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หน้าที่สำคัญของเลขาธิการ คือ การรายงานสถานการณ์ระหว่างประเทศ ที่กระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบ และทำหน้าที่ทางการทูตของสหประชาชาติ

     4) ทบวงการชำนัญพิเศษ (Specialized Agencies)
     เป็นองค์กรอิสระและปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ผูกพันกับองค์การสหประชาชาติตามข้อตกลงพิเศษ ประกอบด้วยสมาชิกทั้งที่เป็นและไม่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ โดยมี คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมกับสมัชชา เป็นองค์กรประสานงาน ทบวงการชำนัญพิเศษมี 16 องค์กร ดังนี้
     1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)
     2. องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO)
     3. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nation Educational Scientific and Cultural Organization : UNESCO)
     4. องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
     5. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)
     6. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development : IBRD)
     7. สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association : IDA)
     8. บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation : IFC)
     9. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO)
     10. สหภาพไปรษณีย์สากล (Universal Postal Union : UPU)
     11. สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU)
     12. องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO)
     13. องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO)
     14. องค์การทรัพย์สินทางพุทธิปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization : WIPO)
   

  15. กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม (International Fund for Agricultural Development : IFAD)
     16. องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization : UNIDO)
    
     องค์การระหว่างประเทศอิสระ (Autonomous International Organization)
     องค์การนี้มิใช่ทบวงการชำนาญพิเศษ แต่ถือว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับองค์การ ดังกล่าว ที่สำคัญมีดังนี้
     1. ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA - International Atomic Energy Agency)      มีหน้าที่แสวงหาลู่ทางในการส่งเสริมและขยายการนำพลังงานนิวเคลียร์มา ใช้ในทางสันติ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแห่งโลก
     2. ความตกลงทั่วไปด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GATT - General Agreement on Tariffs and Trade)      มีหน้าที่แสวงหาความร่วมมือในการป้องกันการกีดกันทางการค้า คุ้มกันและสร้างกรอบของการเจรจาเพื่อลดพิกัดอัตราภาษีและค่าผ่านแดนอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศโดยผ่านการเจรจาและออกเป็นข้อบัญญัติทางกฎหมาย
     นอกจากนี้ยังมี โครงการ/คณะมนตรี/และคณะกรรมการอื่นๆ (Programmes, Councils and Commissions) ซึ่งสมัชชาหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจัดตั้งขึ้น เพื่ออำนวยความช่วยเหลือแก่เลขาธิการสหประชาชาติ ที่สำคัญมีดังนี้
     1. สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR - UN High Commissioner for Refugees)
     2. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF - UN Children’s Fund)
     3. ที่ประชุมสหประชาชาติเรื่องการค้าและการพัฒนา (UNCTAD - UN Conference on Trade and Development)
     4. โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP - UN Development Programme)
     5. โครงการอาหารโลก (WFC - World Food Programme)
     6. สภาอาหารโลก (WFC- World Food Council)
     7. โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP - UN Environment Programme)
     8. กองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA - UN Fund for Population Activities)
     9. กองทุนเพื่อควบคุมการใช้ยาในทางที่ผิดแห่งสหประชาชาติ (UNFDAC - UN Fund for Drug Abuse Control)
     10. คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB - International Narcotics Control Board)
     11. สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR - UN Institute for Training and and Research)
     12. สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ใน ตะวันออกใกล้ (UNRWA - UN Relief and Works Agency for Palestine Refugees in the Near East)
     13. สำนักงานบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟูแห่งสหประชาชาติ (UNRRA - The United Nations Relief and Rehabilitation Administration )

     ผลงานขององค์การสหประชาชาติ
     ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ทำให้เกิดร่วมมือระหว่างประเทศ ที่ครอบคลุมการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ดังนี้
การรักษาสันติภาพ คณะมนตรีความมั่นคงได้ดำเนินมาตรการบีบบังคับทั้งที่ไม่ใช้กำลังอาวุธและใช้ กำลังอาวุธโดยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกในสงครามเกาหลี ปี ค.ศ. 1950 และสงครามอ่าวเปอร์เซียในกรณีที่อิรักส่งทหารเข้ายึดครองคูเวต ค.ศ. 1991 นอกจากนั้นสหประชาชาติยังรับหน้าที่เจรจาแก้ไขความขัดแย้ง เช่น การยุติสงครามอิรัก-อิหร่าน การถอนทหารโซเวียตออกจากอัฟกานิสถาน การยุติความขัดแย้งในกัมพูชา
การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติโดยคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนได้สืบสวน เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และได้กระตุ้นให้ประชาคมโลกสนใจในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ จนก่อให้เกิดแรงกดดันระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเรื่องสิทธิมนุษย ชนในประเทศนั้น ๆ การปกป้องสิ่งแวดล้อมและชั้นโอโซน สหประชาชาติได้จัดประชุมนานาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่ริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ใน ค.ศ. 1992 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรักษาระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกไม่ให้โลกร้อนขึ้น และลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รับรองแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา เพื่อบรรลุถึงการพัฒนาแบบยั่งยืนและได้จัดประชุมนาชาติชี้ให้เห็นอันตรายจาก การสูญเสียชั้นโอโซน ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะที่ผ่านมา การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) ได้ให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ และมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเกือบ 3 ล้านชิ้น กฎดังกล่าวยังมีผลให้การคุ้มครองผลงานของศิลปิน นักประพันธ์เพลงนักเขียนทั่วโลก การอนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญ ที่เป็นโบราณสถานทางประวัตศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม ใน 81 ประเทศ เช่น กรีซ อียิปต์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และไทย นอกจากนี้ยังได้จัดประชุมนานาชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม



     สหภาพยุโรป (European Union: EU)
     สหภาพยุโรป หรือ อียู เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะสร้างสันติภาพในทวีปยุโรป ไม่ให้ประเทศในยุโรปใช้ทรัพยากรในประเทศของตนทำสงครามระหว่างกัน ค.ศ. 1951 ประเทศในทวีปยุโรป 6 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมันตะวันตก ลักเซมเบอร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ จึงรวมตัวกันก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรป (The European Coal and Steel Community : ECSC) ขึ้น ให้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับเหล็กและถ่านหินของประเทศสมาชิก การจัดตั้ง ECSC ประสบความสำเร็จอย่างมาก ประเทศสมาชิกจึงมีความคิดที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น เพื่อสร้างให้เกิดตลาดเดียว (Common Market) โดยการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ดังนั้น ค.ศ. 1957 ทั้ง 6 ประเทศจึงลงนามในสนธิสัญญากรุงโรม (The Treaties of Rome) ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (The European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในเบื้องต้นประชาคมเศรษฐกิจยุโรปมุ่งเน้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า แต่ต่อมาความร่วมมือนี้ได้ขยายตัวออกไป จนนำไปสู่การรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ต่อมามีการออกกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ใน ค.ศ. 1992 ต่อมาประเทศสมาชิกได้ลงนามร่วมกันในสนธิสัญญามาสทริชท์ (The Treaty of Maastricht) ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนในการทำให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็น สหภาพยุโรป ต่อมาเพิ่มความร่วมมือทางด้านการทหาร ความยุติธรรมและกิจการภายใน (Justice and Home Affairs) และในปีค.ศ. 1993 ประชาคมยุโรปจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สหภาพยุโรป (European Union) โดยมีสมาชิกขณะนั้น 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และยังก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ยุโรป (Economic and Monetary Union : EMU) เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศสมาชิกเป็นระบบเดียวกัน และใช้เงินสกุลเดียวกัน คือ เงินยูโร (EURO)
     นับแต่เริ่มก่อตั้งสหภาพยุโรป มีการรับสมาชิกเพิ่มอีกหลายครั้ง ครั้งล่าสุดคือเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2004 โดยรับสมาชิกใหม่อีก 10 ประเทศ ส่งผลให้ปัจจุบันสหภาพยุโรปมีสมาชิกทั้งหมด 25 ประเทศ นับเป็นการขยายสมาชิกภาพครั้งที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมา ประเทศสมาชิกใหม่จะต้องยกเลิกกฎหมาย ระเบียบ มาตรการที่ใช้อยู่เดิมและมาใช้กฎหมาย ระเบียบ มาตรการของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกใหม่ 10 ประเทศนี้จะยังไม่ได้รับสิทธิ์ทุกประการเท่ากับประเทศสมาชิกเดิม เช่น ประชาชนของ 10 ประเทศสมาชิกใหม่ไม่สามารถอพยพย้ายถิ่นเข้าไปในประเทศสมาชิกเดิมได้ จนกว่าประเทศเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมาแล้ว 7 ปีเป็นต้น ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน 2004 ที่ประชุมผู้นำชาติสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศ มีมติรับรองธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์ หลังจากเตรียมการกันมานานราว 4 ปี ซึ่งการผ่านรัฐธรรมนูญดังกล่าวถือเป็นย่างก้าวที่สำคัญอย่างยิ่ง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่อีกครั้งในยุโรป แม้จะยังต้องมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่ชาติสมาชิกต้องตกลงร่วมกัน สหภาพยุโรปมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลศ์ ประเทศเบลเยี่ยม

     วัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรป
     สหภาพยุโรปเป็นการรวมตัวกันของประเทศในทวีปยุโรป เพื่อสร้างเสถียรภาพ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาค แนวคิดการสร้างให้เกิดสันติภาพในยุโรปเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกและสงคราม ระหว่างประเทศในภูมิภาค ในช่วงแรกเป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาให้เกิดตลาดเดียว(Single Market) ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการยกเลิกพรมแดนระหว่างกัน ประชาชน สินค้า บริการ และเงินทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิก
     ประเทศสมาชิกภาพยุโรปได้เริ่มนำเงินยูโรมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1999 โดยเป็นการใช้เงินทางระบบบัญชี ตราสาร และการโอนเงินเท่านั้น ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ของเงินยูโรได้เริ่มนำมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2002 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่เป็นสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป (EMU) และร่วมใช้เงินยูโร 12 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมัน กรีซ สเปน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส และฟินแลนด์ แต่ยังมี 4 ประเทศ คือ อังกฤษ เดนมาร์ก สวีเดน และกรีซ ที่ยังไม่ยอมรับเงิน สกุลนี้


อ้างอิงจาก http://www2.udru.ac.th
                    http://th.wikipedia.org
                    http://th.wikipedia.org/wik