วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ซูการ์โน
นักชาตินิยมแห่งประเทศอินโดนีเซีย


ประวัติความเป็นมา
                ซูการ์โน (เกิด 6 มิถุนายน ค.ศ. 1901 เสียชีวิต 21 มิถุนายน ค.ศ. 1970) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอินโดนีเซีย เขามีส่วนสำคัญในการประกาศเอกราชของอินโดนีเซียต่อประเทศเนเธอร์แลนด์ และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างปี ค.ศ. 1945 - ค.ศ. 1967 ซูการ์โนถูกบีบให้ลงจากอำนาจโดยอดีตลูกน้องของเขาคือนายพลซูฮาร์โต ซึ่งรับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1967 ลูกสาวของเขาคือ เมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ห้าของอินโดนีเซีย  ชื่อ "ซูการ์โน" นั้นสะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า "Sukarno" เริ่มใช้ในปี 1947 ก่อนหน้านั้นสะกดว่า Soekarno ชาวอินโดนีเซียจะจดจำเขาในนาม บุงการ์โน (Bung Karno) หรือ ป้ะการ์โน (Pak Karno) เขามีเพียงชื่อเดียวเฉกเช่นชาวชวาทั่วไปที่ไม่ใช้นามสกุล เขามีชื่อทางศาสนาคือ อัชเหม็ด ซูการ์โน[1] ส่วนชื่อ ซูการ์โน เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตในภาษาชวา มีความหมายว่า พระกรรณะที่ดี

            ชีวิตในวัยเด็ก


http://bits.wikimedia.org/static-1.21wmf2/skins/common/images/magnify-clip.png
ประธานาธิบดีซูการ์โน กุนทูร์ และเมกาวาตี ถ่ายรูปคู่กับนายกรัฐมนตรีของอินเดีย จาวาฮาร์ลาลและนางอินทิรา คานธี บุตรสาว เมกาวาตีเกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2490 ที่ยอกยาการ์ตาในภาคกลางของเกาะชวา หลังจากที่ซูการ์โนประกาศเอกราชของอินโดนีเซียได้ไม่ถึงสองปี มารดาของเมกาวาตีคือ ฟัตมาวาตี ซึ่งเป็นภรรยาคนหนึ่งในบรรดาเก้าคนของซูการ์โน เมกาวาตีเป็นลูกสาวคนแรกของซูการ์โน โดยมีพี่ชายหนึ่งคน ชื่อว่ากุนทูร์ เมกาวาตีเติบโตขึ้นมาในวังเอกราช ซึ่งเป็นทำเนียบประธานาธิบดีในสมัยนั้น เมื่อซูการ์โนถูกโค่นลงจากอำนาจ เมกาวาตีมีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น ซึ่งหลังจากซูการ์โนลงจากอำนาจแล้ว รัฐบาลใหม่ไม่อนุญาตให้คนในครอบครัวของซูการ์โนเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง อีกเมกาวาตีเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปาจาจารันในบันดุงทางด้านเกษตรกรรม แต่แต่ก็ลาออกในปีในปีที่บิดาถูกโค่นลงจากอำนาจ ในปีพ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีที่ซูการ์โนเสียชีวิต เมกาวาตีได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซียทางด้านจิตวิทยา แต่ก็ลาออกหลังจากเข้าเรียนได้เพียงสองปี




เหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญ ของ ประธานาธิบดีซูการ์โน กุนทูร์

การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีเมกาวาตี เป็นบุตรสาวของซูการ์โน ผู้นำชาตินิยมและประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย เข้ารับตำแหน่งแทนในฐานะรองประธานาธิบดีภายหลังประธานาธิบดีวาหิดออกจาก ตำแหน่ง เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2001 ถึง 19 ตุลาคม 2004 ระหว่างดำรงตำแหน่ง แม้จะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ แต่ขณะนั้นประเทศมีปัญหารุมเร้ามากมาย ทั้งการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว ปัญหาทุจริตที่ยังมีเรื่อยมา และปัญหาใหญ่คือ ปัญหาการก่อการร้าย อันเนื่องจากเหตุการณ์โจมตีสหรัฐฯ เมื่อ 11 กันยายน 2000 และการโจมตีอัฟกานิสถานของสหรัฐฯในปี 2001 ทำให้มีกลุ่มต่อต้านสหรัฐฯและชาวตะวันตก เกิดขึ้นมากมายในอินโดนีเซีย และได้มีการก่อความรุนแรงหลายครั้ง ซึ่งครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง คือการลอบวางระเบิดสถานบันเทิงที่เกาะบาหลี จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน จนทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องดำเนินการในการต่อต้านปราบปรามการก่อการ ร้ายอย่างเข้มงวดจนถึงปัจจุบัน
จนกระทั้งนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงการมีอยู่ของอาณาจักรดังกล่าวเมื่อปี 1918

ภาพประธานาธิบดีซูการ์โน
เรื่องราวของอาณาจักรศรีวิไชยไม่เคยมีกล่าวถึงแม้ในประวัติของอินโดนีเซียเองก็ตาม  จนกระทั่งได้รับการนำเสนอขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยนักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่มีนามว่า จอร์จ โคเดส  เขา ได้ตีพิมพ์การค้นพบของเขาเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิไชยแห่งนี้ซึ่งเป็นอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกตามบันทึกของชาวจีนและบันทึกโบราณของมาเลย์ เป็นอาณาจักรที่คานอำนาจในเขตนี้กับอาณาจักรมัชปาหิจที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศ ตะวันตก ต่อมมาในศตวรรษที่ยี่สิบทั้งสองอาณาจักรได้ถูกอ้างถึงโดยนักวิชาการด้านรัฐ ชาติในฐานะของประเทศอินโดนีเซียตามแนวคิดของฮอนแลนด์เป็นยุคที่ศาสนาฮินดู และพุทธรุ่งเรืองมากจนแผ่ขยายออกไปตามที่ต่างๆ ใยยุค ที่ถือว่ารุ่งเรืองที่สุดของอินโดนีเซียคือสมัยของอาณาจักรมัชปาหิต จะอยู่ในช่วงราวๆศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นช่วงที่อินโดนีเซียขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวาง  ในช่วงนั้นได้เริ่มมีพ่อค้ามุสลิมเดินทางเข้ามาค้าขายในอินโดนีเซียและเริ่มเผยแผ่ศาสนาครั้งแรกขึ้นในเกาะสุมาตราตอนเหนือ  หลัง จากนั้นส่วนอื่นๆในอินโดนีเซียก็เริ่มนับถือศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจน กลายเป็นศาสนาหลักของเกาะชวาและสุมาตราไปในช่วงปลายศตวรรษที่สิบหก  อิสลามได้รวมเอาวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมเข้าไปด้วยจนทำให้มีประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้นับถือศาสนาอิสลามโดยเฉพาะในชวา  

 http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/30/Nazi-parading-in-elysian-fields-paris-desert-1940.png/200px-Nazi-parading-in-elysian-fields-paris-desert-1940.png
   

            สงครามโลกครั้งที่สอง


นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หน้านี้ได้ถูกล็อกจากการแก้ไขโดยผู้ใช้ใหม่หรือผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน
Infobox collage for WWII.PNG
เรียงจากซ้ายไปขวา: กองทัพญี่ปุ่นใน
ยุทธการอู่ฮั่น; ทหารอังกฤษในยุทธการเอล อาลาเมนครั้งที่สอง; ทหารโซเวียตในยุทธการสตาลินกราด; เครื่องบินดำทิ้งระเบิดสตูก้าในแนวรบด้านตะวันออก; วิลเฮล์ม ไคเทลลงนามในตราสารยอมจำนน; กองทัพเรือสหรัฐในอ่าวลินกาเยน
สงครามโลกครั้งที่สอง (อังกฤษ: World War II หรือ Second World War[note 1]; มักย่อว่า WWII หรือ WW2) เป็นความขัดแย้งทางทหารในระดับโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1939 ถึง 1945 ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด ประเทศผู้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางทหารสองฝ่ายคู่สงคราม คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ระหว่างสงครามมีการระดมทหารมากกว่า 100 ล้านนาย ได้มีลักษณะของ "สงครามเบ็ดเสร็จ" ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักได้ทุ่มเทขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อความพยายามของสงครามทั้งหมด โดยไม่เลือกว่าทรัพยากรนั้นจะเป็นของพลเรือนหรือทหาร ประมาณกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3][4] ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด[5] และนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ[6] ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 40 ถึงมากกว่า 70 ล้านคน โดยทั่วไปมักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การรุกรานโปแลนด์ของเยอรมนี ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 อันนำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของฝรั่งเศสและประเทศส่วนใหญ่ในจักรวรรดิอังกฤษและเครือจักรภพ ภายในหนึ่งปี เยอรมนีก็มีชัยเหนือยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพที่ยังเป็นกำลังหลักที่ยังต่อกรกับ เยอรมนีทั้งที่เกาะบริเตน แอฟริกาเหนือ และกลางแอตแลนติกอย่างยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ฝ่ายอักษะรุกรานสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งกำลังทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ด้วยปรารถนาจะยึดครองเอเชียทั้งหมด จึงฉวยโอกาสโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และส่งทหารรุกรานหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว  การรุกคืบของฝ่ายอักษะยุติลงใน ค.ศ. 1942 หลังความพ่ายแพ้ในญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์ และหลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะยุโรปในอียิปต์และที่สตาลินกราด ใน ค.ศ. 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การรุกรานอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร ตลอดจนถึงชัยชนะของสหรัฐอเมริกาในแปซิฟิกได้ทำลายการริเริ่มและส่งผลทำให้ ฝ่ายอักษะล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ใน ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรเปิดแนวรบใหม่ในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับสหภาพโซเวียตที่ยึดดินแดนคืนและรุกรานเยอรมนีและพันธมิตรสงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการรุกรานแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945
สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชใน ทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหาย ระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพ ความสัมพันธ์หลังสงคราม


ทัศนะทั่วไป
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เกิดสงครามในระดับโลกขึ้นถึงสองครั้ง โดยสงครามโลกครั้งแรกเป็น สงครามที่เกิดขึ้นเฉพาะในทวีปยุโรปเป็นสำคัญเท่านั้น แต่ในสงครามโลกครั้งที่สองนับได้ว่าเป็นสงครามที่ลุกลามไปทั่วโลกอย่างแท้ จริง และพบว่าสงครามโลกทั้งสองครั้งมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการทีเดียวสงครามโลกครั้งที่สองก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในหลาย ประเทศ เพราะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นการระดมคนจำนวนมากเข้ามาประหัตประหารกัน ที่เรียกว่า "สงครามของคนหมู่มาก" (War of the Masses) แต่ในสงครามโลกครั้งที่สอง ประชาชนทุกคนล้วนเกี่ยวข้องกับสงครามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สงครามโลกครั้งที่สองนั้นเป็น "สงครามของประชาชนทุกคน"สงครามโลกครั้งที่สองกลายเป็นการรบซึ่งตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานสองประการ ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่ายหนึ่งต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกใหม่ (ฝ่ายอักษะ) และอีกฝ่ายที่พยายามจะรักษาแนวทางเดิมของโลกเอาไว้ (ฝ่ายสัมพันธมิตร)  หรืออาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มตามอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติในครอบครองของ ตน ได้แก่ "กลุ่มประเทศมี" (Have Countries) กับ "กลุ่มประเทศไม่มี" (Have not Countries) อย่างไรก็ตาม พันธมิตรทางทหารทั้งสองฝ่ายก็มิได้ให้ความร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นมากนัก เพราะทั้งสองฝ่ายเพียงร่วมมือกันระหว่างประทศคู่สงครามเพื่อทำลายอีกคู่ สงครามฝ่ายลงอย่างราบคาบเท่านั้นการรบในสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งยุทธศาสตร์ ยุทโธปกรณ์และยุทธวิธี จนมีนักประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า สงครามโลกครั้งที่สอง "เป็นการรบที่กระทำอย่างกะทันหันโดยปราศจากการวางแผนอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดใน ประวัติศาสตร์"[50] เพราะไม่อาจกำหนดได้อย่างชัดเจนว่าที่ใดคือจุดแตกหักของสงคราม อาวุธใดโดดเด่นที่สุดในสงครามและข้อสรุปทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ทวีปยุโรปไม่เหลือพลังอำนาจที่จะดำเนินนโยบายของตนในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกได้อีกต่อไป ดังที่เห็นได้จากสถานการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตรกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบฝ่าย อักษะหลังสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเข้าสู่สงคราม[51] ดังนั้น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตจึงก้าวขึ้นเป็นสองประเทศอภิมหาอำนาจที่ดำเนินนโยบายของโลกในเวลาต่อมา




การนับเวลา
สงครามโลกครั้งที่สองไม่สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นอย่างชี้ชัดแน่นอนได้ เพราะเป็นการไม่ยุติธรรมต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง นักประวัติศาสตร์จึงเลือกหลายช่วงเวลาว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้ง นี้แตกต่างกันไปตามแนวคิดของตน ซึ่งได้แก่ เหตุการณ์ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย ในปี ค.ศ. 1931[52][53] อิตาลีรุกรานเอธิโอเปีย ในปี ค.ศ. 1935[54][55][56] ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของสันนิบาติชาติ[57] สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1937[58][59] เยอรมนีรุกรานโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม[60][61][62] ญี่ปุ่นโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ในปี ค.ศ. 1941 และเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1941[62] และยังมีนักเขียนบางคนให้ความเห็นว่า สงครามโลกครั้งที่สองเป็นสงครามครั้งเดียวกันกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยซ้ำไป[63] (ใช้คำว่า "สงครามกลางเมืองยุโรป" หรือ "สงครามสามสิบปีครั้งที่สอง"[64][65]) อย่างไรก็ตาม ในตำราส่วนใหญ่มักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 และยุติเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945  นอกเหนือจากนั้น สงครามโลกครั้งที่สองยังมีกำหนดเวลาสิ้นสุดแตกต่างกันเช่นกัน บ้างก็นับที่การประกาศสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 มากกว่าการยอมจำนนอย่างเป็นทางการเมือ่วันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945; บางประเทศในทวีปยุโรปยึดเอาวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป (8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945) เป็นสำคัญ แต่ว่า สนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศญี่ปุ่นก็ยังไม่ได้มีการลงนามจนกระทั่งปี ค.ศ. 1951[66] และสนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศเยอรมนีมีการลงนามใน ค.ศ. 1990[67]









จุดเปลี่ยนของสงคราม
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/b9/SBDs_and_Mikuma.jpg/200px-SBDs_and_Mikuma.jpg
http://bits.wikimedia.org/static-1.21wmf3/skins/common/images/magnify-clip.png
เครื่องบินดำทิ้งระเบิดอเมริกันระหว่างยุทธนาวีมิดเวย์
ต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นได้เริ่มวางแผนยึดพอร์ตมอร์สบีในปฏิบัติการโม โดยการโจมตีแบบสะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อเป็นการตัดเส้นทางเสบียงระหว่างสหรัฐอเมริกากับออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเข้าขัดขวางและทำให้ทัพเรือญี่ปุ่นต้องล่าถอยไปได้ในยุทธนาวีทะเลคอรอล และสามารถขัดขวางการรุกรานปาปัวนิวกินีได้สำเร็จ[175] ส่วนแผนการขั้นต่อไปของญี่ปุ่น อันเกิดจากการกระตุ้นหลังกรุงโตเกียวถูกทิ้งระเบิด คือ การยึดครองหมู่เกาะมิดเวย์ รวมไปถึงการล่อเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทร แปซิฟิกมาทำลายในการรบด้วยและในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นได้ส่งอีกกองทัพหนึ่งไปยึดหมู่เกาะอะลูเชียนในอะแลสกา[176] ในต้นเดือนมิถุนายน ญี่ปุ่นก็ได้งัดเอาแผนของตัวเองออกมาปฏิบัติ แต่ก็ถูกสกัดกั้น เนื่องจากกองทัพสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับกองทัพเรือญี่ปุ่นได้ ตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาจึงได้เตรียมตัวรับมือกับการบุกของญีปุ่นได้อย่างถูก ต้อง รวมไปถึงใช้ข่าวกรองดังกล่าวกระทั่งได้รับชัยชนะเด็ดขาดในยุทธนาวีมิดเวย์เหนือกองทัพเรือญี่ปุ่น      เนื่องจากญี่ปุ่นทรัพยากรในการรุกรานอย่างมากที่มิดเวย์ ญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนเป้าหมายไปทำการรบที่การทัพโคโคดะบนดินแดนปาปัว ในความพยายามอีกครั้งหนึ่งในการยึดพอร์ตมอร์สบี[178] สำหรับฝ่ายสหรัฐก็ได้วางแผนที่จะตีโต้ตอบครั้งต่อไปในหมู่เกาะโซโลมอน โดยเริ่มต้นจากเกาะกัวดาคาแนล อันเป็นก้าวแรกของการเข้ายึดราบูล ซึ่งเป็นฐานทัพเรือหลักของกองทัพญี่ปุ่นในเอเชียอาคเนย์[179]แผนการทั้งสองเริ่มต้นขึ้นในเดือนกรกฎาคม แต่เมื่อถึงกลางเดือนกันยายน ญี่ปุ่นจำต้องหันมาให้ความสำคัญกับการทัพกัวดาคาแนลมาก ขึ้น และกองทัพญี่ปุ่นในเกาะนิวกินีนั้นได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่เขต พอร์ตมอร์สบีไปยังทางตอนเหนือของเกาะ ที่ซึ่งกองทัพนี้ต้องเผชิญกับกำลังผสมระหว่างสหรัฐกับออสเตรเลีย[180] กัวดาคาแนลได้กลายเป็นจุดยุทธศาตร์สำคัญสำหรับทั้งสองฝ่าย ทำให้เกิดการทุ่มทรัพยากรคนและเรือรบมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการรบ จนกระทั่งในตอนต้นของปี ค.ศ. 1943 กองทัพญี่ปุ่นก็พ่ายแพ้บนเกาะกัวดาคาแนลและถอยทัพกลับ[181] ในประเทศพม่า กองทัพเครือจักรภพได้รบในสองปฏิบัติการ หนึ่งคือการรุกเข้าไปในแคว้นอาระกันระหว่างการทัพพม่า ในปลายปี ค.ศ. 1942 แต่ก็ประสบความหายนะอย่างร้ายแรง และจำเป็นต้องถอยทัพกลับเข้าสู่อินเดีย ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943[182] และปฏิบัติการที่สอง ก็คือ การส่งกองกำลังนอกแบบเข้าทางด้านหลังแนวรบของญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน ก็ได้รับผลที่ไม่แน่นอนเท่าใดนัก[183]
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ef/RIAN_archive_44732_Soviet_soldiers_attack_house.jpg/300px-RIAN_archive_44732_Soviet_soldiers_attack_house.jpg
http://bits.wikimedia.org/static-1.21wmf3/skins/common/images/magnify-clip.png
ทหารโซเวียตโจมตีอาคารบ้านเรือนระหว่างยุทธการสตาลินกราด ค.ศ. 1943
ขณะที่เหตุการณ์ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพเยอรมันและพันธมิตรฝ่ายอักษะ ยังคงเอาชนะกองทัพโซเวียตที่ยุทธการคาบสมุทรเคิร์ชและยุทธการฮาร์คอฟครั้งที่สอง[184] ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้เปิดฉากรุกหนักในฤดูร้อนในกรณีสีน้ำเงินใน แถบสหภาพโซเวียตตอนใต้ ระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 เพื่อยึดครองแหล่งขุดเจาะน้ำมันทุกแห่งในแถบคอเคซัสและทุ่งหญ้าสเตปป์คูบาน อันกว้างใหญ่ เยอรมนีแบ่งหมู่กองทัพใต้ออกเป็นสองส่วน หมู่กองทัพเอถูกส่งไปโจมตีแม่น้ำดอนตอนล่าง ขณะที่หมู่กองทัพบีถูกส่งไปโจมตีทางตะวันตกเฉียงใต้โดยมุ่งหน้าไปยังคอเคซัส และแม่น้ำวอลกา[185] กองทัพโซเวียตได้ตัดสินใจที่จะตั้งรับที่สตาลินกราด ซึ่งอยู่ในเส้นทางเดินทัพของฝ่ายอักษะ
ตอนกลางเดือนพฤศจิกายน กองทัพอักษะเกือบจะพิชิตสตาลินกราดในการสงครามเมืองอันขมขื่นแล้ว แต่กองทัพโซเวียตก็ทำการตีโต้ตอบในฤดูหนาวเป็นครั้งที่สอง โดยเริ่มจากการโอบล้อมกองทัพเยอรมันที่สตาลินกราด[186] ตามด้วยการโจมตีสันเขารซเฮฟ ใกล้กรุงมอสโก แม้ว่าจะปราชัยย่อยยับในภายหลังก็ตาม[187] ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 กองทัพเยอรมันประสบกับความสูญเสียมหาศาล และกองทัพเยอรมันในสตาลินกราดถูกบีบบังคับให้ยอมจำนน[188] แนวรบด้านตะวันออกถูกผลักดันไปยังจุดก่อนการรุกในฤดูร้อน กลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่การตีโต้ตอบของโซเวียตหยุดชะงัก กองทัพเยอรมันได้โจมตีฮาร์คอฟอีกครั้งหนึ่ง เกิดเป็นแนวรบที่ยื่นเข้าไปในดินแดนของโซเวียตรอบเคิสก์[189]
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/b4/IWM-E-6724-Crusader-19411126.jpg/200px-IWM-E-6724-Crusader-19411126.jpg
http://bits.wikimedia.org/static-1.21wmf3/skins/common/images/magnify-clip.png
รถถังครูเซเดอร์ของอังกฤษขณะดำเนินการรุดหน้าในการทัพแอฟริกาเหนือ
ทางด้านตะวันตก ด้วยความวิตกกังวลว่าญี่ปุ่นอาจใช้เกาะมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นฐานทัพของวิชีฝรั่งเศส กองทัพอังกฤษจึงสั่งดำเนินการโจมตีเกาะมาดากัสการ์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942[190] และทางด้านการทัพแอฟริกาเหนือ การโจมตีครั้งล่าสุดของฝ่ายอักษะที่ยุทธการกาซาลา ได้ผลักดันให้กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรให้กลับเข้าสู่อียิปต์ จนกระทั่งการบุกต้องหยุดชะงักที่เอล อาลาเมน[191] ระหว่างการรบในช่วงนี้ บนยุโรปภาคพื้นทวีป หน่วยคอมมานโดของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตีโฉบฉวยเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ และจบลงด้วยการตีโฉบฉวยดิเอปเป ซึ่งผลเป็นความหายนะ[192] แสดงให้เห็นถึงความไม่สามารถของฝ่ายพันธมิตรตะวันตกในการออกปฏิบัติการ รุกรานยุโรปภาคพื้นทวีปโดยปราศจากการเตรียมการ ยุทโธปกรณ์และความมั่นคงทางปฏิบัติการมากกว่านี้[193] ในเดือนสิงหาคม กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถผลักดันแนวรบฝ่ายอักษะให้ถอยไปในยุทธการเอล อาลาเมนครั้งที่สอง และด้วยการสิ้นเปลืองทรัพยากรอย่างสูงลิบ ก็สามารถขนทรัพยากรที่ต้องการไปให้เมืองมอลต้าที่ถูกปิดล้อมเอาไว้ได้ในปฏิบัติการฐานเสาหิน[194] จากนั้น ไม่กี่เดือนหลังจากยุทธการเอล อาลาเมนครั้งที่สองในอียิปต์ ทางด้านอังกฤษและประเทศเครือจักรภพก็เริ่มเคลื่อนทัพไปทางทิศตะวันตกสู่ ประเทศลิเบีย[195] ไม่นานหลังจากที่การรุกรานแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสของสหรัฐอเมริกา-สหราชอาณาจักร ซึ่งก็ได้ชัยชนะ และเป็นผลให้ดินแดนดังกล่าวเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร[196] ฮิตเลอร์ได้ตอบสนองต่อการเอาใจออกห่างของอาณานิคมฝรั่งเศสโดยการออกคำสั่งยึดครองวิชีฝรั่งเศส[196] ถึงแม้ว่าวิชีฝร่งเศสจะไม่ละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลงหยุดยิง แต่กระทรวงทหารเรือของวิชีฝรั่งเศสได้จัดการจมกองทัพเรือของตนเพื่อมิให้ตก อยู่ในมือของฝ่ายเยอรมนี[197] เมื่อถูกบีบจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้กองทัพฝ่ายอักษะต้องถอยร่นไปตั้งรับในตูนิเซีย ซึ่งนำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943[198]


ฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งหลักได้
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d7/U.S._Soldiers_at_Bougainville_%28Solomon_Islands%29_March_1944.jpg/200px-U.S._Soldiers_at_Bougainville_%28Solomon_Islands%29_March_1944.jpg
http://bits.wikimedia.org/static-1.21wmf3/skins/common/images/magnify-clip.png
ทหารสหรัฐในการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นบนหมู่เกาะโซโลมอน
ภายหลังจากการทัพเกาะกัวดาร์คาแนล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็เริ่มปฏิบัติการทางทหารมากมายต่อกองทัพญี่ปุ่นในมหาสมุทร แปซิฟิก ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 กองทัพอเมริกันถูกส่งออกไปโจมตีกองทัพญี่ปุ่นจากหมู่เกาะอะลูเชียน[199] และเริ่มต้นปฏิบัติการหลักในการโดดเดี่ยวเมืองราบูล โดยการยึดครองเกาะรอบ เพื่อตัดขาดกำลังสนับสนุน และการฝ่าช่องโหว่ในแนวป้องกันในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง[200] เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็สามารถประสบความสำเร็จทั้งในสองปฏิบัตการ และยังสามารถทำลายฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้ในบริเวณหมู่เกาะแคโรไลน์ เมื่อถึงเดือนเมษายน กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้เริ่มปฏิบัติการที่จะยึดครองเกาะนิวกินีตะวันตก[201] ทั้งสองฝ่ายส่งรถถังรวมกว่าแปดพันคันในยุทธการเคิสก์ นับเป็นยุทธการรถถังใหญ่ที่สุดตลอดกาล                       ในสหภาพโซเวียต ทั้งเยอรมนีและโซเวียตต่างตระเตรียมแผนการสำหรับการรุกครั้งใหญ่ในฤดูใบไม้ ผลิและฤดูร้อน ค.ศ. 1943 แถบรัสเซียตอนกลาง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 กองทัพเยอรมันเริ่มเข้าตีกำลังโซเวียตรอบแนวยื่นที่เคิสก์ แต่ฮิตเลอร์กลับต้องยกเลิกแผนการนี้แม้ว่าจะผ่านไปเพียงสัปดาห์เดียว เนื่องจากสูญเสียต่อการวางระบบป้องกันเป็นขั้น ๆ อย่างลึกและการป้องกันที่สร้างไว้อย่างดี[202][203][204] ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ฮิตเลอร์มีพฤติการณ์ดังกล่าว แม้ว่าปฏิบัติการดังกล่าวจะยังไม่บรรลุผลทางยุทธศาสตร์หรือยุทธวิธีเลยก็ตาม[205] การตัดสินใจดังกล่าวบางส่วนเป็นผลมาจากการรุกรานเกาะซิซิลีของ สัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ประกอบกับความล้มเหลวของอิตาลีที่ผ่านมา ส่งผลให้มุสโสลินีถูกขับออกจากตำแหน่งและถูกจับกุมหลังจากนั้น[206]
วันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 สหภาพโซเวียตได้ทำการตีโต้ตอบของตน และดับความหวังใด ๆ ของกองทัพเยอรมันที่จะชนะหรือกระทั่งรักษาสถานการณ์คุมเชิงไว้ได้อีกในทาง ตะวันออก[207] ชัยชนะที่เคิสก์ของโซเวียตนำพาให้ความเหนือกว่าของเยอรมนีเสื่อมลง และให้สหภาพโซเวียตกลับเป็นฝ่ายริเริ่มในแนวรบด้านตะวันออก[208][209] ทหารเยอรมันพยายามสร้างความมั่นคงแก่แนวรบด้านตะวันออกของตนตามแนวพัน เทอร์-โวทันที่มีการเสริมอย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ดี ฝ่ายโซเวียตสามารถตีผ่านแนวดังกล่าวได้ที่สโมเลนสก์และโดยการรุกโลวเออร์นี เปอร์[210] เดือนกันยายน ค.ศ. 1943 สัมพันธมิตรตะวันตกเริ่มการรุกรานแผ่นดินใหญ่อิตาลี ตามด้วยการสงบศึกกับสัมพันธมิตรของอิตาลี[211] เยอรมนีสนองโดยการปลดอาวุธกองทัพอิตาลี ยึดการควบคุมทางทหารในพื้นที่อิตาลีทั้งหมด[212] และสร้างแนวป้องกันขึ้นมาหลายชั้นด้วยกัน[213] เมื่อวันที่ 12 กันยายน กองกำลังพิเศษเยอรมันช่วยเหลือตัวมุสโสลินี และสถาปนารัฐบริวารในอิตาลีส่วนที่ถูกเยอรมนียึดครอง ชื่อว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี[214] ฝ่ายกองทัพสัมพันธมิตรทะลวงผ่านแนวป้องกันเยอรมันได้หลายแนว จนถึงแนวป้องกันหลักของเยอรมนีเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน[215] ทางด้านการรบทางทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติก กองทัพเรือเยอรมันประสบความสูญเสียอย่างหนักในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 จนถูกเรียกว่า "พฤษภาอนธการ" ความสูญเสียกองเรือดำน้ำของฝ่ายเยอรมนีเป็นจำนวนมาก ทำให้การดักทำลายกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตรต้องหยุดชะงัก[216] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 แฟรงกลิน รูสเวลล์และวินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้เดินทางไปพบกับเจียง ไคเช็ค ระหว่างการประชุมกรุงไคโร[217] และอีกครั้งกับโจเซฟ สตาลินระหว่างการประชุมกรุงเตหะราน[218] และผลจากการประชุมทั้งสองครั้งได้ข้อตกลงว่า สัมพันธมิตรตะวันตกจะรุกรานยุโรปภายในปี ค.ศ. 1944 และสหภาพโซเวียตจะประกาศสงครามกับญี่ปุ่นภายในสามเดือนหลังเยอรมนียอมแพ้[218]
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/41/Landing_at_Anzio.jpg/200px-Landing_at_Anzio.jpg

การยกพลขึ้นบกของทหารอเมริกันที่อันซิโอ
เดือนมกราคม ค.ศ. 1944 กองทัพสัมพันธมิตรได้เข้าตีหลายครั้งที่มอนเต คาสสิโน และพยายามตีโอบด้วยการยกพลขึ้นบกที่อันซิโอ[219] เมื่อถึงปลายเดือนมกราคม กองทัพโซเวียตก็สามารถขับไล่กองทัพเยอรมันออกจากมณฑลเลนินกราด[220] ยุติการล้อมที่เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ปฏิบัติการรุกในเวลาต่อมาของโซเวียตถูกหยุดตรงพรมแดนเอสโตเนียก่อนสงคราม ซึ่งกองทัพกลุ่มเหนือของเยอรมนีได้รับความช่วยเหลือจากชาวเอสโตเนีย ด้วยหวังจะสถาปนาเอกราชของชาติใหม่[221][222] ความล่าช้านี้ได้ส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการในแถบทะเลบอลติก[223] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1944 กองทัพโซเวียตปลดปล่อยคาบสมุทรไครเมีย โดยสามารถขับไล่กองทัพอักษะออกจากยูเครนขนานใหญ่ และเริ่มทำการรุกเข้าไปยังโรมาเนีย ซึ่งถูกขับไล่โดยกองทัพอักษะ[224] พร้อมกับที่การรุกอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความสำเร็จ และบังคับให้กองทัพเยอรมันต้องล่าถอยไป และในวันที่ 4 มิถุนายน โรมก็ตกอยู่ในมือของฝ่ายสัมพันธมิตร[225]
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a8/IND_004723.jpg/200px-IND_004723.jpg
http://bits.wikimedia.org/static-1.21wmf3/skins/common/images/magnify-clip.png
ทหารอังกฤษขณะทำการยิงปืนครกในยุทธการอิมพัล
เริ่มในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 ฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานหนึ่งในสองครั้ง คือ ปฏิบัติการต่อที่ตั้งของอังกฤษในรัฐอัสลัม ประเทศอินเดีย[226] และสามารถล้อมที่ตั้งของเครือจักรภพได้ที่อิมพัลและโคฮีมา[227] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1944 กำลังอังกฤษรุกโต้ตอบกองทัพญี่ปุ่นกลับไปยังพม่า[227] และกองทัพจีนซึ่งรุกรานพม่าตอนเหนือเมื่อปลาย ค.ศ. 1943 ได้ล้อมกองทัพญี่ปุ่นไว้ที่มยิตตยินา (Myitkyina)[228] การรุกรานครั้งที่สองของญี่ปุ่นเป็นความพยายามที่จะทำลายกำลังรบหลักของจีน สร้างความปลอดภัยแก่ทางรถไฟระหว่างดินแดนที่ญี่ปุ่นยึดไว้และยึดสนามบินของสัมพันธมิตร[229] เมื่อถึงเดือนมิถุนายน กองทัพญี่ปุ่นสามารถพิชิตมณฑลเหอหนานและเริ่มต้นการเข้าตีฉางชาใหม่ในมณฑลหูหนาน[230]







ฝ่ายสัมพันธมิตรรุกคืบ
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/96/Approaching_Omaha.jpg/200px-Approaching_Omaha.jpg

การยกพลขึ้นบกที่หาดโอมาฮ่าในแคว้นนอร์มองดีระหว่างปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกได้ยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด และหลังจากการมอบหมายหน้าที่ให้กับกองทัพสัมพันธมิตรหลายกองพลในอิตาลีแล้ว จึงเริ่มการรุกเข้าสู่ฝรั่งเศสตอนใต้ในเดือนสิงหาคม[231] จนสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสได้ในวันที่ 25 สิงหาคม [232] และในช่วงเวลาต่อมากระทั่งสิ้นปี กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้ผลักดันกำลังเยอรมันในยุโรปตะวันตกกลับไปถึงแม่น้ำไรน์ แต่ความพยายามที่จะรุกเข้าสู่เยอรมนีตอนเหนือ ซึ่งนำโดยปฏิบัติการพลร่มครั้งใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ จบลงด้วยความล้มเหลว[233] จากนั้น สัมพันธมิตรตะวันตกผลักเข้าสู่เยอรมนีอย่างช้า ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการข้ามแม่น้ำรูร์อีกครั้งในการรุกครั้งใหญ่ ในอิตาลี การรุกของสัมพันธมิตรก็ช้าลงเช่นกัน เมื่อถึงแนวป้องกันหลักสุดท้ายของเยอรมนี ส่วนทางด้านแนวรบด้านตะวันออก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน กองทัพโซเวียตได้กระหน่ำโจมตีเป็นชุดอย่างหนักต่อเยอรมนี โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ไล่ตั้งแต่ปฏิบัติการบากราติออนในเบลารุส ซึ่งสามารถทำลายกองทัพกลุ่มกลางของเยอรมนีลงเกือบทั้งหมด[note 4] ตามด้วยปฏิบัติการในการขับไล่ทหารเยอรมันออกจากยูเครนตะวันตกและโปแลนด์ตะวันออก ซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ขบวนการกู้ชาติโปแลนด์ได้เริ่มต้นก่อการจลาจล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรุงวอร์ซอ และการจลาจลในสโลวาเกียทางตอนใต้ แต่ทั้งการก่อจลาจลทั้งสองครั้งไม่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังโซเวียตเลย และถูกปราบปรามลงโดยกองทัพเยอรมัน[234] ส่วนการโจมตีโรมาเนียได้ทำลายกองทัพเยอรมันไปเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดการรัฐประการในโรมาเนียและบัลแกเรีย ส่งผลให้ประเทศทั้งสองเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตรแทน[235] ในเดือนกันยายน 1944 กองทัพแดงได้เคลื่อนทัพไปยังยูโกสลาเวีย ทำให้กองทัพกลุ่มอีและกองทัพกลุ่มเอฟต้องถอยร่นอย่างต่อเนื่องในกรีซ อัลเบเนียและยูโกสลาเวียต้องถอนกำลังออกไป เพื่อป้องกันมิให้ถูกตัดออกจากกำลังส่วนอื่น ๆ[236] เมื่อถึงจุดนี้ พลพรรคชาวยูโกสลาฟ ภายใต้การนำของจอมพลโยเรียน เซ็กเซียนโต ซึ่งได้ครอบครองดินแดนจำนวนมากในยูโกสลาเวียและโจมตีกองทัพเยอรมันต่อไปทางทิศใต้ ในเซอร์เบีย กองทัพแดงได้มีส่วนช่วยเหลือพลพรรคในการปลดปล่อยกรุงเบลเกรด เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ไม่กี่วันหลังจากนั้น กองทัพแดงได้โจมตีฮังการีครั้งใหญ่ในการรุกบูดาเปสต์ ซึ่งกินเวลานานก่อนที่กรุงบูดาเปสต์จะแตกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945[237] อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสหภาพโซเวียตจะประสบความสำเร็จในคาบสมุทรบอลข่าน แต่การต่อต้านของฟินแลนด์ต่อ ปฏิบัติการของโซเวียตบนคอคอดแครีเลียน ได้ปฏิเสธการยึดครองของสหภาพโซเวียต ก่อนจะมีการนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกด้วยเงื่อนไขที่เสียเปรียบ เพียงเล็กน้อย[238][239] และทำให้ฟินแลนด์เปลี่ยนมาอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตรแทน
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/7c/Yamato_hit_by_bomb.jpg/200px-Yamato_hit_by_bomb.jpg

เรือประจัญบาน ยามาโตะ ถูกทิ้งระเบิดใกล้กับฐานปืนใหญ่ด้านหัวเรือ ระหว่างยุทธนาวีอ่าวเลย์เต
ถึงต้นเดือนกรกฎาคม กองทัพเครือจักรภพ ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถคลายวงล้อมของกองทัพญี่ป่นที่รัฐอัสลัมลงได้ และสามารถผลักดันให้กองทัพญี่ปุ่นถอยไปได้จนถึงแม่น้ำชินด์วินด์[240] ขณะที่กองทัพจีนสามารถยึดเมืองมยิตคยินาในประเทศพม่าได้ ส่วนทางด้านประเทศจีน กองทัพญี่ปุ่นเริ่มได้รับชัยชนะอย่างมาก จากการยึดเมืองฉางชาไว้ได้ในที่สุดในตอนกลางเดือนมิถุนายน และยึดเมืองเหิงหยางได้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม[241] จากนั้นจึงได้เคลื่อนทัพต่อไปยังมณฑลกวางสี สามารถเอาชนะกองกำลังจีนได้ที่กุ้ยหลินและหลิวโจว เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน [242] และประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อกองทัพญี่ปุ่นในจีนและในคาบสมุทรอินโดจีนในกลางเดือนธันวาคม[243] ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพอเมริกันยังคงกดดันแนวป้องกันของญี่ปุ่นตามหมู่เกาะต่าง ๆ ต่อไป ราวกลางเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 กองทัพอเมริกันเริ่มการโจมตีหมู่เกาะมาเรียนาและปาเลา และได้รับชัยชนะเด็ดขาดต่อกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์ภายในเวลาไม่กี่วัน ผลของความปราชัยนี้นำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นของพลเอกโตโจ และทำให้สหรัฐอเมริกามีฐานทัพอากาศซึ่งสามารถรองรับเครื่องบินทิ้งระเบิด หนักเพื่อโจมตีแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่นได้ ปลายเดือนตุลาคม กองทัพอเมริกันยกพลขึ้นบกที่เกาะเลย์เต หลังจากนั้นไม่นาน กองทัพเรือของสัมพันธมิตรก็ได้รับชัยชนะครั้งใหญ่ต่อกองทัพญี่ปุ่นอีกครั้งในยุทธนาวีอ่าวเลย์เต ซึ่งถือได้ว่ายุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์[244]


ฝ่ายอักษะล่มสลาย ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัย
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1b/AmericanAndSovietAtElbe.jpg/200px-AmericanAndSovietAtElbe.jpg

ทหารอเมริกันพบกับทหารโซเวียตทางตะวันออกของแม่น้ำเอลเบ


http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e0/Nagasakibomb.jpg/200px-Nagasakibomb.jpg

วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1944 กองทัพเยอรมันได้พยายามอย่างเข้าตาจนเพื่อความสำเร็จโดยการเรียกระดมกองหนุนเยอรมัน และตีโต้ตอบครั้งใหญ่ที่ป่าอาร์เดนเนส เพื่อที่จะแบ่งแยกฝ่ายพันธมิตรตะวันตก โอบล้อมกองกำลังฝ่ายพันธมิตรตะวันตกขนาดใหญ่และยึดครองเมืองท่าเสบียงที่สำคัญที่อันท์เวิร์พ เพื่อที่จะรักษาความสงบทางการเมือง[245] ซึ่งกินเวลาจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 โดยไม่บรรลุวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์แต่อย่างใดเลย[245] ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพโซเวียตโจมตีถึงฮังการี และกองทัพเยอรมันจำเป็นต้องทิ้งกรีซและยูโกสลาเวีย[246] ขณะที่ในอิตาลี กองทัพสัมพันธมิตรยังคงไม่สามารถโจมตีผ่านแนวป้องกันของเยอรมันได้ และกลางเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตโจมตีโปแลนด์ สามารถผลักดันกองทัพเยอรมันจากแม่น้ำวิสตูลาถึงแม่น้ำโอเดอร์ในเยอรมนี และยึดครองปรัสเซียตะวันออก [247] เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียตได้เข้าร่วมการประชุมที่ยอลต้า ซึ่งได้ข้อสรุปถึงการแบ่งปันดินแดนของเยอรมนีภายหลังสงคราม [248] และกำหนดเวลาที่สหภาพโซเวียตจะเข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่น[249] ในเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้เข้าสู่แผ่นดินของเยอรมนีและเข้าประชิดแม่น้ำไรน์ ขณะที่กองทัพโซเวียตโจมตีโพเมอราเนียตะวันออกและไซลีเซีย เมื่อถึงเดือนมีนาคม กองทัพสัมพันธมิตรตะวันตกได้ข้ามแม่น้ำไรน์ทั้งทางเหนือและทางใต้ของแคว้นไรน์-รูร์ และสามารถล้อมกองทัพเยอรมันขนาดใหญ่เอาไว้[250] ส่วนด้านกองทัพโซเวียตสามารถรุกเข้าถึงกรุงเวียนนา ในที่สุดกองทัพสัมพันธมิตรตะวันดกก็สามารถตีฝ่าแนวป้องกันของเยอรมันได้ในอิตาลี และสามารถโจมตีได้ทางตะวันตกของเยอรมนี เมื่อต้นเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ขณะที่ปลายเดือนเดียวกัน กองทัพโซเวียตเข้าถล่มกรุงเบอร์ลิน กองทัพฝ่ายพันธมิตรตะวันตกและกองทัพโซเวียตได้มาบรรจบกันที่แม่น้ำเอลเบ เมื่อวันที่ 25 เมษายน เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 อาคารรัฐสภาไรช์สทักถูกยึดครอง แสดงถึงความพ่ายแพ้ทางการทหารของนาซีเยอรมนี[251] ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฟรงกลิน โรสเวลต์ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง ผู้ที่มารับตำแหน่งต่อคือ รองประธานาธิบดี แฮร์รี เอส. ทรูแมน ขณะที่เบนิโต มุสโสลินีถูกสังหารโดยขบวนการกู้ชาติอิตาลี เมื่อวันที่ 28 เมษายน[252] และอีกสองวันให้หลัง ฮิตเลอร์ก็ยิงตัวตาย และสืบทอดอำนาจต่อให้กับจอมพลเรือ คาร์ล เดอนิตช์[253]
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/1/14/Reichstag_flag_original.jpg/200px-Reichstag_flag_original.jpg

ทหารโซเวียตโบกธงค้อนเคียวเหนืออาคารรัฐสภาไรช์สทักของเยอรมนี ภายหลังจากที่อาคารถูกยึด
หลังจากนั้น กองทัพเยอรมันในอิตาลีได้ยอมแพ้ในวันที่ 29 เมษายน ส่วนเยอรมนีได้ยอมแพ้ในยุโรปตะวันตกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม[254] ทว่ากองทัพเยอรมันยังรบกับกองทัพโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออกต่อไปถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ส่วนกองทัพเยอรมันที่เหลือเพียงเล็กน้อยได้ทำการสู้รบต้านทานกับกองทัพโซเวียตในกรุงปรากกระทั่งยอมจำนนเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม[255]ทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพสหรัฐอเมริกาได้รุกเข้าสู่ฟิลิปปินส์ หลังจากได้ชัยในเกาะเลเตเมื่อปลายปี ค.ศ. 1944 จากนั้นก็ยกพลขึ้นบกที่ลูซอน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 และสามารถยึดกรุงมะนิลาคืนได้ในเดือนมีนาคม; การรบบนเกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และเกาะอื่น ๆ ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม[256] ในเดือนพฤษภาคม กองกำลังออสเตรเลียยกพลขึ้นบกบนเกาะบอร์เนียว และสามารถยึดครองบ่อน้ำมันที่นั่นได้ กองกำลังอังกฤษ อเมิรกัน และจีนก็สามารถเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นในพม่าตอนเหนือเมื่อเดือนพฤษภาคม และกองทัพอังกฤษรุดหน้าไปถึงกรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม[257] กองทัพอเมริกันยังคงมุ่งหน้าเข้าสู่ญี่ปุ่น สามารถยึดเกาะอิโวะจิมะได้ในเดือนมีนาคม และเกาะโอกินาวาในเดือนมิถุนายน[258] ในขณะที่เครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้ทำลายเมืองต่าง ๆ ของญี่ป่น และเรือดำน้ำอเมริกันก็เข้าปิดล้อมเกาะญี่ปุ่น ตัดขาดการนำเข้าจากภายนอก[259]
วันที่ 11 กรกฎาคม บรรดาผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรประชุมที่พอตสดัม ประเทศเยอรมนี ได้ข้อสรุปว่า ที่ประชุมให้การรับรองเกี่ยวกับข้อตกลงต่าง ๆ กับเยอรมนีก่อนหน้านี้[260] และย้ำถึงความจำเป็นของญี่ปุ่นที่จะต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำกล่าวที่ว่า "อีกทางเลือกหนึ่งของญี่ปุ่นก็คือหายนะเหลือแสน" ("the alternative for Japan is prompt and utter destruction") [261] ภายหลังจากการประชุมนี้ สหราชอาณาจักรได้มีการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1945 และคลีเมนต์ แอตลีย์ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรแทน วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีคนเดิม[262]
เมื่อญี่ปุ่นได้ปฏิเสธข้อเสนอที่พอตสดัม สหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูสองลูกบนแผ่นดินญี่ปุ่น ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ระหว่างการทิ้งระเบิดปรมาณูทั้งสองลูก สหภาพโซเวียตก็ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และโจมตีแมนจูเรียของญี่ปุ่น ตามข้อตกลงยอลตา ญี่ปุ่นได้ตัดสินใจยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 หลังจากนั้นในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นได้ลงนามในตราสารยอมจำนนอย่างเป็นทางการ และเป็นจุดจบของสงครามด้วยเช่นกัน[254]









หลังสงคราม
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้สถาปนาการบริหารยึดครองในออสเตรียและเยอรมนี ออสเตรียนั้นได้กลายมาเป็นรัฐที่เป็นกลางทางการเมือง โดยไม่อิงกับกลุ่มการเมืองใด ๆ ส่วนเยอรมนีนั้นถูกแบ่งออกเป็นเขตยึดครองฝั่งตะวันตกและตะวันออกซึ่งอยู่ภาย ใต้การควบคุมโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียตตามลำดับ โครงการขจัดความเป็นนาซี (Denazification) ในเยอรมนีได้นำไปสู่การฟ้องอาชญากรสงครามนาซีและ การปลดอดีตผู้นำนาซีลงจากอำนาจ แต่ต่อมานโยบายนี้ได้เปลี่ยนไปเป็นการนิรโทษกรรมและการยอมรับอดีตนาซีเข้า กับสังคมเยอรมนีตะวันตกอีกครั้ง[263] เยอรมนีสูญเสียพื้นที่ไปหนึ่งในสี่จากพื้นที่เมื่อ ค.ศ. 1937 พื้นที่ทางตะวันออก ได้แก่ ซีเลเซีย นอยมาร์ค และส่วนใหญ่ของโพเมอราเนียถูกผนวกเข้ากับโปแลนด์ ปรัสเซียตะวันออกถูกแบ่งระหว่างโปแลนด์กับสหภาพโซเวียต ตามด้วยการขับไล่ชาวเยอรมัน 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ เช่นเดียวกับชาวเยอรมัน 3 ล้านคนออกจากซูเดเตนแลนด์ในเชโกสโลวาเกียไปยังเยอรมนี ภายในคริสต์ทศวรรษ 1950 ชาวเยอรมันตะวันตกหนึ่งในห้าคนเป็นผู้ลี้ภัยมาจากทางตะวันออก สหภาพโซเวียตยังได้ยึดครองจังหวัดของโปแลนด์ที่อยู่ทางตะวันออกของเส้นเคอร์ ซอน ซึ่งชาวโปแลนด์กว่า 2 ล้านคนถูกขับไล่ออกมาด้วย[264] การยึดครองนี้รวมไปถึงโรมาเนียตะวันออก[265][266] บางส่วนของฟินแลนด์ตะวันออก[267] และรัฐบอลติกทั้งสาม[268][269]

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/02/Cold_war_europe_military_alliances_map_en.png/275px-Cold_war_europe_military_alliances_map_en.png




พันธมิตรทางทหารในทวีปยุโรปหลังสงคราม
ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น ด้วยความพยายามที่จะรักษาสันติภาพทั่วโลก[270] โดยมีผลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945[271] และปรับใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในปี ค.ศ. 1948 อันเป็นมาตรฐานสามัญซึ่งทุกชาติสมาชิกจะต้องบรรลุ ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียตได้เสื่อมลงตั้งแต่ ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สองจะจบลงแล้ว[272] และชาติอภิมหาอำนาจแต่ละฝ่ายต่างก็เริ่มสร้างเขตอิทธิพลของตนเองอย่างรวดเร็ว [273] ทวีปยุโรปได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ด้วยอิทธิพลของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ม่านเหล็ก" ซึ่งได้ลากผ่านประเทศเยอรมนีและประเทศออสเตรีย สหภาพโซเวียตได้สร้างค่ายตะวันออกขึ้น โดยการผนวกดินแดนหลายประเทศซึ่งถูกยึดครองอยู่ในลักษณะของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ซึ่งเดิมจะต้องผนวกรวมเข้ากับเยอรมนี ตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ อย่างเช่น โปแลนด์ตะวันออก[274] รัฐบอลติกทั้งสาม[275][276] บางส่วนของฟินแลนด์ตะวันออก[277] และโรมาเนียตะวันออกเฉียงเหนือ[278][279] ส่วนรัฐอื่นที่สหภาพโซเวียตยึดครองในระหว่างสงครามก็ถูกเปลี่ยนเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต อย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนฮังการี[280] สาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวัก[281] สาธารณรัฐประชาชนโรมาเนีย สาธารณรัฐประชาชนอัลเบเนีย[282] และเยอรมนีตะวันออกภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต[283]
ในทวีปเอเชีย สหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดครองญี่ปุ่น และดำเนินการปกครองหมู่เกาะต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ขณะที่สหภาพโซเวียตก็เข้ายึดครองหมู่เกาะซาฮาลินและหมู่เกาะคูริล ส่วนเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นนั้น ก็ถูกแบ่งแยกและถูกยึดครองโดยสองขั้วอำนาจ จากความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งพันธมิตรนาโต้ และทางสหภาพโซเวียตก็ได้ก่อตั้งสนธิสัญญาวอร์ซอขึ้น ทั้งสององค์การทางทหารนี้อาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น[284]
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a9/Colonization_1945.png/350px-Colonization_1945.png

แผนที่โลกแสดงอาณานิคมหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติเมื่อ ค.ศ. 1945 หลังจากนั้นไม่นาน หลายประเทศได้เรียกร้องเอกราช นำไปสู่การจัดตั้งอิสราเอล ตลอดจนการปลดปล่อยอาณานิคมในเอเชียและแอฟริกา หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นไม่นาน เกิดเหตุการณ์เกาหลีเหนือรุกรานเกาหลีใต้ขึ้น[285] ระหว่างเกาหลีเหนือซึ่งได้รับการหนุนหลังโดยจีนและสหภาพโซเวียต กับเกาหลีใต้ภายใต้ความช่วยเหลือของสหประชาชาติ[286] ซึ่งทึ่สุดแล้วจบลงด้วยการเสมอกันและสัญญาหยุดยิง หลังจากนั้น ผู้นำเกาเหลีเหนือ คิม อิลซอง ได้สร้างรูปแบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก รวมทั้งก่อให้เกิดลัทธิบูชาบุคคลอันน่าเกรงขาม[287][288] หลายประเทศซึ่งถูกชาติตะวันตกยึดครองเป็นอาณานิคม ได้ประกาศเอกราชและแยกตัวออกมาเป็นจำนวนมาก[289] เนื่องจากความสูญเสียทรัพยากรของชาติตะวันตก ทำให้อิทธิพลจากภายนอกอ่อนแอลง โดยการแยกตัวดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างสันติในหลายประเทศ ยกเว้นในเวียดนาม มาดากัสการ์ อินโดนีเซีย และอัลจีเรีย[290] ในอีกหลายพื้นที่ในโลก ทำให้เกิดเป็นประเทศใหม่ขึ้นมามากมาย ด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมและศาสนา การประกาศเอกราชที่โดดเด่นมาก คือ ปาเลสไตน์ในอาณัติอังกฤษ อันนำไปสู่การก่อตั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ และในอินเดียก็เกิดการแตกออกเป็นสองประเทศ คือ อินเดียและปากีสถาน[291] ส่วนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองมีความแตกต่างกัน ในหลากหลายภูมิภาคของโลก และพบว่าในหลายประเทศมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในทางบวก เช่น เยอรมนีตะวันตก ซึ่งเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจนอยู่ในสถานะก่อนสงครามได้ในคริสต์ทศวรรษ 1950[292] อิตาลี ซึ่งออกจากสงครามด้วยสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ[293] แต่ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เศรษฐกิจของอิตาลีก็มีอัตราการเติบโตสูงและมีเสถียรภาพ[294] สหราชอาณาจักรออกจากสงครามด้วยเศรษฐกิจตกต่ำเช่นกัน[295] แต่สภาพทางเศรษฐกิจของอังกฤษยังคงถดถอยอีกเป็นเวลากว่าทศวรรษ[296] ฝรั่งเศสก็มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างรวดเร็วเช่นกัน และมีอัตราการเจริญเติบโตสูงและมีการดำเนินตามสมัยนิยม[297] สหภาพโซเวียตก็มีอัตราการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังสงคราม[298] และญี่ปุ่น ซึ่งมีอัตราการเติบโจทางเศรษฐกิจสูงมาก จนกระทั่งก้าวขึ้นเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980[299] จีน ซึ่งเป็นประเทศล้มละลายจากผลของสงครามกลางเมือง[300] แต่ในปี ค.ศ. 1953 เศรษฐกิจก็มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว และมีอัตราการผลิตกลับมาเป็นปกติเหมือนก่อนสงคราม[300] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกาที่มีผลผลิตทางอุตสาหกรรมคิดเป็นครึ่งหนึ่งของโลก แต่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาก็ถดถอยอย่างหนัก[301]




ผลกระทบของสงคราม
ความสูญเสียและอาชญากรรมสงคราม
World War II Casualties2.png
ได้มีการประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่สองไว้อย่างหลาก หลาย แต่ส่วนใหญ่ได้เสนอว่าคิดเป็นจำนวนมากกว่า 60 ล้านคน ประกอบไปด้วยทหารอย่างน้อย 22 ล้านคน และพลเรือนอย่างน้อย 40 ล้านคน[302][303][304] สาเหตุเสียชีวิตของพลเรือนส่วนใหญ่นั้นมาจากโรคระบาด การอดอาหาร การฆ่าฟัน และการทำลายพืชพันธุ์ ด้านสหภาพโซเวียตสูญเสียประชากรราว 27 ล้านคนระหว่างช่วงสงคราม คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของความสูญเสียทั้งหมดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[305] จากความสูญเสียร้อยละ 85 เป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร (ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและชาวโซเวียต) และร้อยละ 15 เป็นของฝ่ายอักษะ มีการประมาณว่ามีพลเรือนราว 12 ล้านคนเสียชีวิตในค่ายกักกันนาซี[306] 1.5 ล้านคนจากการทิ้งระเบิด และสาเหตุอื่นๆ ในยุโรปอีก 7 ล้านคน รวมไปถึงอีก 7.5 ล้านคนในจีน[307] โดยเหตุการณ์ที่โด่งดัง ได้แก่ การสังหารหมู่ที่นานกิง[308] โดยสาเหตุที่ตัวเลขความสูญเสียมีความแตกต่างกันมากนั้นมีสาเหตุมาจากว่าการตายส่วนใหญ่ไม่ได้มีการจดบันทึกเอาไว้ จำนวนการเสียชีวิตจำนวนมากเป็นผลมาจากการล้างชาติพันธุ์ที่เกิดขึ้นในดิน แดนภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะ และอาชญากรรมสงครามอื่น ๆ ซึ่งถูกกระทำโดยชาวเยอรมันและชาวญี่ปุ่น โดยเหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีของอาชญากรรมสงครามชาวเยอรมัน ได้แก่ การล้างชาติโดยนาซี ซึ่งเป็นการล้างชาติอย่างเป็นระบบในเขตยึดครองของเยอรมนีและพันธมิตร โดยนอกจากชาวยิวแล้ว ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มความคิดอื่น ๆ ถูกสังหารอีกเป็นจำนวนกว่า 5 ล้านคน[309] และด้านทหารญี่ปุ่นก็ได้สังหารพลเรือนราว 3 - 10 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ระหว่างสงครามโลกครั้งทีสอง[310]
นอกจากนั้น เรื่องของการใช้อาวุธชีวภาพและอาวุธเคมียังได้ถูกนำมาตัดสินด้วย ทหารอิตาลีได้ใช้แก๊สมัสตาร์ดในการรุกรานเอธิโอเปีย[311] ส่วนญี่ปุ่นได้ใช้อาวุธดังกล่าวในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง[312][313] และในสงครามชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่น[314] โดยทั้งเยอรมนีและญี่ปุ่นได้มีการทดลองอาวุธกับพลเรือนและเชลยสงครามจำนวนมาก[315][316] ขณะที่การตัดสินคดีความอาชญากรรมสงครามของฝ่ายอักษะถูกชำระความในศาลชำระความระหว่างประเทศแห่งแรก[317] แต่ว่าอาชญากรรมของฝ่ายสัมพันธมิตรกลับตรงกันข้าม[318] ตัวอย่างอาชญากรรมสงคราม เช่น การถ่ายเทพลเรือนในสหภาพโซเวียต[319] ค่ายใช้แรงงานของโซเวียต[320] การกักกันชาวญี่ปุ่น-อเมริกันในสหรัฐอเมริกา ปฏิบัติการคีลฮาล (Operation Keelhaul)[321] การขับไล่ชาวเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การข่มขืนระหว่างการยึดครองเยอรมนี การสังหารหมู่คาตินของสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ ในสงครามยังมีผู้เสียชีวิตเป็นอันมากจากทุพภิกขภัย เช่น ทุพภิกขภัยแคว้นเบงกอล ค.ศ. 1943 และทุพภิกขภัยเวียดนาม ค.ศ. 1944-45[322] นักประวัติศาสตร์บางคนเสนอว่า การทิ้งระเบิดขนานใหญ่ในเขตพลเรือนในดินแดนข้าศึกของสัมพันธมิตรตะวันตก รวมทั้ง โตเกียว และที่โดดเด่นที่สุด คือ นครเดรสเดน ฮัมบูร์กและโคโลญของ เยอรมนี อันเป็นผลให้นครกว่า 160 แห่งถูกทำลายล้าง และพลเรือนชาวเยอรมันเสียชีวิตกว่า 600,000 คน ควรถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมสงครามด้วย[323]
ค่ายกักกันและการใช้แรงงานทาส

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e7/Ebensee_concentration_camp_prisoners_1945.jpg/200px-Ebensee_concentration_camp_prisoners_1945.jpg
นักโทษผู้ทรมานในค่ายกักกันเมาน์ธิวเซน-กูเซน ประเทศออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1945
การล้างชาติพันธุ์โดยนาซีได้ สังหารชาวยิวในทวีปยุโรปเป็นจำนวนอย่างน้อย 6 ล้านคน รวมไปถึงเชื้อชาติอื่นๆ อีกที่ถูกพวกนาซีลงความเห็นว่าเป็นพวกที่ "ไม่คู่ควร" หรือ "ต่ำกว่ามนุษย์" (รวมไปถึงผู้ที่ทุพพลภาพ ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิต เชลยสงครามโซเวียต พวกรักร่วมเพศ สมาคมฟรีเมสัน ผู้นับถือลัทธิพยานพระเยโฮวาห์และชาวยิปซี) โดยเป็นส่วนหนึ่งของถอนรากถอนโคนอย่างจงใจ และได้รับการดำเนินการโดยรัฐบาลฟาสซิสต์นาซี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มีกรรมกรและคนงานราว 12 ล้านคน ซึ่งโดยส่วนมากมาจากยุโรปตะวันออก ได้ถูกว่าจ้างให้มาทำงานให้เศรษฐกิจสงครามของนาซีเยอรมนี[324] นอกเหนือจากค่ายกักกันของนาซีแล้ว ยังมีค่ายกูลัก หรือค่ายแรงงานของ สหภาพโซเวียต ซึ่งได้นำไปสู่ความตายของพลเรือนจำนวนมากในดินแดนยึดครองของฝ่ายนาซีเยอรมนี และสหภาพโซเวียต ได้แก่ โปแลนด์ ลิธัวเนีย แลตเวียและเอสโตรเนีย รวมไปถึงเชลยสงครามของเยอรมัน และยังมีชาวโซเวียตบางส่วนที่คาดว่าเป็นผู้สนับสนุนของฝ่ายนาซี[325] จากหลักฐานพบว่าเชลยสงครามของโซเวียตกว่า 60% ของทั้งหมดได้เสียชีวิตระหว่างสงคราม[326] ริชาร์ด โอเวรีได้บันทึกตัวเลขเชลยศึกชาวโซเวียตไว้ 5.7 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ 57% เสียชีวิต คิดเป็น 3.6 ล้านคน[327] เชลยศึกโซเวียตที่รอดชีวิตและหลบหนีเข้าสู่มาตุภูมิจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ (ดูเพิ่ม: คำสั่งหมายเลข 270) [328]
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/44/Picture_of_Manchurian_Plague_victims_in_1910_-1911.jpg/220px-Picture_of_Manchurian_Plague_victims_in_1910_-1911.jpg
http://bits.wikimedia.org/static-1.21wmf3/skins/common/images/magnify-clip.png
ศพคนตายกองทับซ้อนกันในค่าย 731 ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยพัฒนาอาวุธชีวภาพของญี่ปุ่น
ค่ายเชลยสงครามของญี่ปุ่นเองก็มีผู้เสีบชีวิตเป็นจำนวนมาก และยังมีการตั้งเป็นค่ายแรงงาน ภายหลังจากการตัดสินของศาลทหารพิเศษนานาชาติแห่งภาคพื้นตะวันออกไกล (เดิมชื่อ ศาลพิเศษโตเกียว) ได้ลงมติว่าอัตราการเสียชีวิตของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรคิดเป็น 27.1% (ในจำนวนนี้เป็นทหารสหรัฐอเมริกา 37%) [329] คิดเป็นเจ็ดเท่าของอัตราเดียวกันของค่ายแรงงานของนาซีเยอรมนีและอิตาลี[330] แต่จำนวนดังกล่าวนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชลยศึกชาวจีน ซึ่งจากคำสั่งที่ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1937 โดยจักรพรรดิฮิโรฮิโต ได้ระบุว่า ชาวจีนไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายระหว่างประเทศ[331] หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารสหราชอาณาจักรได้รับการปล่อยตัว 37,853 นาย ทหารเนเธอร์แลนด์ 28,500 นาย ทหารสหรัฐอเมริกา 14,473 นาย แต่พบว่าทหารจีนถูกพบว่าได้รับการปล่อยตัวเพียง 56 นาย[332]
อ้างอิงจากการศึกษาร่วมกันของนักประวัติศาสตร์ ได้สรุปว่า มีชาวจีนมากกว่า 10 ล้านคนถูกเกณฑ์โดยกองทัพญี่ปุ่น และถูกใช้แรงงานอย่างทาส เพื่อวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ทั้งในแมนจูกัวและทางภาคเหนือของประเทศจีน[333] ห้องสมุดรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ประมาณว่าในเกาะชวาว่า ชาวอินโดนีเซียกว่า 4 ถึง 10 ล้านคนต้องถูกบังคับให้ทำงานแก่กองทัพญี่ปุ่นระหว่างสงคราม ชาวอินโดนีเซียบนเกาะชวากว่า 270,000 คนได้ถูกส่งไปทำงานในดินแดนที่ญี่ปุ่นยึดครองอยู่ในเอเชียอาคเนย์ ซึ่งมีเพียง 52,000 คนเท่านั้นที่สามารถกลับคืนสู่ถิ่นเดิมได้[334] เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ประธานาธิบดีรูสเวลล์ได้ลงนามในแผนการหมายเลข 9066 ซึ่งได้ทำการกักตัวชาวญี่ปุ่น ชาวอิตาลี ชาวเยอรมัน และผู้อพยพบางส่วนจากหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งหลบหนีหลังจากการโจมตีที่ฐานทัพเรือเพริ์ล ฮาเบอร์ในช่วงเวลาระหว่างสงครามเป็นจำนวนมาก ชาวญี่ปุ่น-อเมริกันถูกกักตัวโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นจำนวนกว่า 150,000 คน รวมไปถึงชาวเยอรมันและชาวอิตาลีซึ่งอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาเกือบ 11,000 คน ขณะเดียวกัน ก็การใช้แรงงานโดยฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในดินแดนตะวันออก อย่างเช่น ในโปแลนด์[335] แต่ยังมีผู้ใช้แรงงานอีกกว่าล้านคนในตะวันตก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1945 หลักฐานของฝรั่งเศสได้ระบุว่ามีเชลยสงครามชาวเยอรมันกว่า 2,000 คน ตายหรือพิการทุกเดือนในอุบัติเหตุการเก็บกวาดทุ่นระเบิด[336]
แนวหลังและอุตสาหกรรม
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/38/WorldWarII-GDP-Relations-Allies-Axis-simple.png/300px-WorldWarII-GDP-Relations-Allies-Axis-simple.png
http://bits.wikimedia.org/static-1.21wmf3/skins/common/images/magnify-clip.png
กราฟเปรียบเทียบอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมของฝ่ายอักษะเมื่อเทียบกับฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างปี 1938-1945
ในทวีปยุโรป ช่วงสงครามเริ่มขึ้นใหม่ ๆ นั้นฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นมีความได้เปรียบทั้งทางด้านจำนวนประชากรและความมั่น คงทางเศรษฐกิจ ในปี 1938 ฝ่ายสัมพันธมิตรมีประชากรมากกว่าฝ่ายอักษะ 30% และอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากกว่า ฝ่ายอักษะ 30% ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปรียบทางยุทธศาสตร์มากกว่า 5:1 ในด้านจำนวนประชากรและอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมคิดเป็น 2:1[337]
ในทวีปเอเชีย จีนนั้นมีประชากรเป็นหกเท่าของญี่ปุ่น และมีอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากกว่าญี่ปุ่นไป 89% แต่ถ้าหากรวมเอาอาณานิคมของญี่ปุ่นเข้าไปด้วย ความแตกต่างของจำนวนประชากรจะลดลงเหลือเพียงสามเท่าและความก้าวหน้าของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงเหลือ 38%[337]
แม้ความแตกต่างระหว่างทั้งสองฝ่ายจะมีมาก แต่ฝ่ายอักษะก็สามารถตัดกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้ด้วยบลิตซครีกของ เยอรมนีและญี่ปุ่นหลายครั้ง ทว่าความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและประชากรของฝ่ายสัมพันธมิตรได้กลายมาเป็น ปัจจัยแตกหักจนถึง ค.ศ. 1942 หลังสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเข้าสู่สงคราม โดยสงครามได้เปลี่ยนไปเป็นสงครามแห่งความสูญเสีย[338] ช่วงปลายสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถช่วงชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจได้ด้วยการเข้ายึด แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ความไม่เต็มใจของเยอรมนีและญี่ปุ่นที่จะเกณฑ์แรงงานสตรี[339][340] และการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจสงครามในตอนปลาย[341] เยอรมนีและญี่ปุ่นนั้นแท้จริงแล้วไม่ได้เตรียมการอย่างเหมาะสมสำหรับสงครามยืดเยื้อและไม่มีขีดความสามารถใด ๆ เลยที่จะทำเช่นนั้น[342][343] เพื่อที่จะเพิ่มการผลิต เยอรมนีและญี่ปุ่นจำเป็นต้องอาศัยแรงงานจากประเทศที่ตนเองสามารถยึดครองได้มาใช้แรงงานนับล้าน[344] โดยพบว่าเยอรมนีได้มีการใช้แรงงานทาสกว่า 12 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากยุโรปตะวันออก[345] และญี่ปุ่นได้มีการใช้แรงงานทาสเอเชียตะวันออกไกลกว่า 18 ล้านคน[346]
ดินแดนที่ถูกยึดครองระหว่างสงคราม
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0d/Soviet_guerilla.jpg/200px-Soviet_guerilla.jpg

ภาพทหารกองโจรของโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออก
ในทวีปยุโรป การยึดครองแบ่งออกเป็นสองประเภท สำหรับยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือและยุโรปกลาง เยอรมนีได้ออกนโยบายทางเศรษฐกิจซึ่งได้ผลตอบแทนกว่า 69.5 ล้านล้านไรช์มาร์กจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม ซึ่งยังไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยุทโธปกรณ์ทางทหาร วัตถุดิบและสินค้าอื่น ๆ ซึ่งเรียกกันว่า การปล้นของนาซี (Nazi plunder)[347] รายได้ของนาซีเยอรมนีในดินแดนยึดครองนั้นคิดเป็นกว่าร้อยละ 40 ของรายได้จากภาษีในแผ่นดินเยอรมนี และเพิ่มขึ้นเป็นเกือบร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมดของเยอรมนีในช่วงระหว่างสงคราม[348]
ส่วนทางยุโรปตะวันออก ซึ่งคนทั้งหลายต่างก็หวังต่อผลประโยชน์จากนโยบายแสวงหาพื้นที่อยู่อาศัยไม่ ประสบความสำเร็จ เนื่องจากแนวรบซึ่งไม่แน่นอน และผลจากนโยบาย "Scorched earth" ของโซเวียต ซึ่งเป็นการปฏิเสธมิให้ทรัพยากรทั้งหลายตกอยู่ในเงื้อมมือของชาวเยอรมัน[349] ไม่เหมือนกับทางยุโรปตะวันตก นโยบายเชื้อชาติของพรรคนาซีนั้นได้ก่อให้เกิดความเลวร้ายต่าง ๆ กับ "ชนชั้นต่ำกว่ามนุษย์" ในแนวรบด้านตะวันออก จึงเต็มไปด้วยการฆาตกรรมและการสังหารหมู่[350] และถึงแม้ว่าจะมีขบวนการกู้ขาติเกิดขึ้นมากมายในประเทศที่ถูกยึดครอง แต่ก็ยังไม่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบโดยรวมต่อการขยายตัวของนาซีเยอรมนีได้ กระทั่งปลาย ค.ศ. 1943[351][352] ในเอเชีย ญี่ปุ่นพยายามสร้างวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพาขึ้น และมีจุดประสงค์ที่จะครองความเป็นใหญ่ โดยอ้างการปลดปล่อยชาติที่ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติอภิมหาอำนาจในทวีปยุโรป[353] ถึงแม้ว่ากองทัพญี่ปุ่นนั้นจะได้รับการต้อนรับจากนักต่อสู้เพื่อเอกราชใน หลายดินแดน แต่ว่าเนื่องจากการกระทำที่โหดร้ายได้เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อญี่ปุ่นไปเสีย ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์[354] ระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่นในช่วงแรกนั้นได้รับน้ำมันกว่า 4 ล้านแกลลอนจากการล่าถอยของฝ่ายสัมพันธมิตร และใน ค.ศ. 1943 ญี่ปุ่นได้ผลผลิตจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์กว่า 50 ล้านแกลลอน กว่าร้อยละ 76 ของอัตราการผลิตของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1940[354]

การเมืองและการปกครอง

เขตแดนที่เป็นประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันเป็นอาณาเขตที่กำหนดไว้ เมื่อปี พ.ศ.2453 ก่อนหน้านั้น เขตแดนของอินโดนีเซียแตกต่างออกไปจากที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
ก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพา อินโดนีเซียเป็นที่รู้จักกันในนามของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเน เธอร์แลนด์ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ 13,677 เกาะ เกาะที่สำคัญคือ เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะสุลาเวสี หรือเกาะเซเลเบส บางส่วนของเกาะกาลิมันตันหรือเกาะบอร์เนียว และบางส่วนของเกาะอีเรียนชยา ชาวดัทช์เริ่มเข้ามามสีอาณานิคม เหนือหมู่เกาะดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2145 และตั้งแต่นั้นมาอินโดนีเซียก็ตกอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์ เป็นระยะเวลาประมาณสามศตววรรษครึ่ง จนนถึงปี พ.ศ.2485 ระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา ญยี่ปุ่นได้เข้ามายึกครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก  หลังสงครามมหาเอเซียบูรพาสงบลง เนเธอร์แลด์ได้ส่งกำลังกลับเข้ามาในอินโดนีเซียวอีก โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอังกฤษ ซึ่งเข้าครอบครองอินโดนีเซีย หลังจากขับไล่ญี่ปุ่นออกไป

อินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชพร้อมกับประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2488 และประกาศหลักปัญจศีล ดร.ซูการ์โน ได้รับการเลือกเป็นประธานาธิบดี ได้มีการต่อสู้เพื่อเอกราชแลกด้วยเลือดเนื้อ และชีวิตของชาวอินโดนีเซียนับแสนคน ในที่สุดอินโดนีเซียก็ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2492รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2488 กำหนดใให้อินโดนีเซียมีการปกครองในรูปรัฐเดียว มีระบบการปกครองเป็นแบบรวมทั้งประเทศ (United Structure) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้ารัฐบาล เมื่อดัทช์โอนอำนาจอธิปไตยใให้อินโดพนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2492 อินโดนีเซียก็มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 กำหนดให้อินโดนีเซีย มีการปกครองแบบสหพันธสาธารณรัฐ (Federation) เรียกชื่อประเทศว่า สหรัฐอินโดนีเซีย (United State of Indonesia) ต่อมาในปี พ.ศ.2493 อินโดนีเซียก็นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่สาม มาใช้ปกครองประเทศ กำหนดให้อินโดนีเซียกลับมีระบบการปกครองแบบรวมทั้งประเทศเหมือนรัฐธรรมนูญฉ บับแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2502 ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2488 มาใช้ใหม่ หลักปัญจศีล (Panja Sila)  ปรัชญาที่สำคัญมากของอินโดนีเซียคือ หลักปัญจศีลของ ดร.ซูการ์โน เป็นหลักที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งของอินโดนีเซีย ตลลอดระยะเวลาตั้งแต่อินโดนีเซียได้รับเอกราชเป็นต้นมา มีความเปว็นมาคือ ในปี พ.ศ.2488 มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการใให้อินโดนีเซียได้รับเอกราช ญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายยึดครองอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น ให้การอุปการะในการประชุมครั้งนี้ ดร.ซูการ์โน เป็นผู้แสวงหาหลักการขั้นพื้นฐาน สำหรับนำมาประสานความสามัคคี ระหว่างปรัชญาของกลุ่มอิสลาม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการที่จะเห็นประเทศอินโดนีเซียใหม่ หลังจากได้รับเอกราชแล้วเป็นประเทศที่ปกครองโดยผู้นำทางศาสนาอิสลาม กับกลุ่มพลเรือนคณะชาตินิยม ซึ่งเปว็นกลุ่มที่มีปรัชญยาแนวทางสังคมนิยม เพื่อเป็นรากฐานประสานความสามัคคีทั้งทางสังคมและการเมืองวระหว่างคน สองกลุ่มดังกล่าว ซูการ์โน จึงวางหลักปัญจศีลให้เป็นปรัชญาของประเทศคือ อินโดนีเซียจะยึดมั่นอยู่ในเรื่องชาตินิยม สากลนิยม รัฐบาลโดยประชาชน ความยุติธรรมในสังคม และความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว หลักปัญจศีลของซูการ์โน ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งจากกลุ่มชาตินิยม ส่วนกลุ่มอิสลามต้อนรับอย่างไม่เต็มใจนัก






  อินโดนีเซีย  


http://inter.oop.cmu.ac.th/ASEAN/MoU%20Flag/indonesia.jpg
http://inter.oop.cmu.ac.th/ASEAN/ASEAN%20Map/indonesia.jpg

ประชากร (2554 โดยประมาณ)
237,424,363
        อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์
ประวัติศาสตร์ อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 300 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญๆในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

      
          เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอม จำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ.2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฎว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อ ให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อพ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่ง และคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย










ความตึงเครียดภายในประเทศ
         ส่วนเหตุการณ์ภายในประเทศ ซูการ์โนได้พยายามรวบรวมความมั่นคงสำหรับการปกครองของเขาอย่างต่อเนื่องเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีตลอดชีพโดยสภา MPRS ในปี ค.. 1963 งานเขียนของเขาของเขาเกี่ยวกับอุดมการณ์ Manipol-USDEK และ NASAKOM ได้กลายเป็นวิชาบังคับในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยของอินโดนีเซีย ในขณะที่การกล่าวคำปราศรัยของเขาจะถูกจดจำและกล่าวถึงโดยนักเรียนนักศึกษาทุกคน
        บรรดาหนังสือพิมพ์ทั้งหมด สถานีวิทยุ (RRI) และสถานีโทรทัศน์(TVRI) ได้ถูกเป็น เครื่องมือของการปฏิวัติและทำหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อความของซูการ์โน นอกจากนี้ซูการ์โนยังได้พัฒนาบุคลิกภาพทางวัฒนธรรมด้วยเงินทุนใหม่ที่เพิ่มได้มา โดย ไอเรียนตะวันตก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Sukarnapura และยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศได้เปลี่ยนชื่อจาก Carstensz Pyramid เป็น Puntjak Sukamo (ยอดเขาซุการ์โน หรือ Sukaramo Peak)

      ถึงแม้ว่าลักษณะของการปกครองเหล่านี้จะไม่มีผู้ใดทักท้วงก็ตาม แต่ประชาธิปไตยในแนวทางของซูการ์โนก็กำลังยืนอยู่บนพื้นที่ซึ่งถือได้ว่าเปราะบางเป็นอย่าง ทั้งนี้เนื่องมาจากการขัดแย้งโดยธรรมชาติระหว่างสองเสาหลักพื้นฐานของประเทศ ซึ่งก็คือการสนับสนุนของฝ่ายทหารและฝ่ายคอมมิวนิสต์ โดยทางฝ่ายทหารที่มีแนวคิดชาตินิยม และกลุ่มอิสลามได้พากันตกใจในการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพรรคคอมมิวนิสต์ภายใต้การคุ้มครองของซูการ์โน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น