วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐศาสตร์

 ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์

         ถ้าจะกล่าวถึงคำว่าวิชาเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันนี้คงจะไม่มีใครที่บอกว่าไม่เคยได้ยินคำว่าวิชาเศรษฐศาสตร์ แต่ถ้าจะถามกลับไปว่าแล้วเศรษฐศาสตร์นั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร คำถามนี้ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่สนใจจริงๆ แล้วก็อาจจะตอบไม่ได้ ซึ่งวิชาเศรษฐศาสตร์เมื่อเปรียบเทียบกับ วิชา รัฐศาสตร์ หรือปรัชญา นั้นจัดได้ว่าเป็นวิชาที่ค่อนข้างใหม่ ซึ่งผู้ที่ถูกจัดให้เป็นบิดาของวิชานี้ก็คือ อดัม สมิธ (Adam Smith ค.ศ.1723-1790) โดยท่านผู้นี้ได้แต่ตำราทางด้านเศรษฐศาสร์ที่จัดได้ว่าเป็นตำราทางเศรษฐศาสตร์ฉบับแรกของโลก ตำรานี้มีชื่อว่า "An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations" ซึ่งมีเนื้อหาในบางตอนกล่าวถึงในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ ในเรื่องของมูลค่า (Value) ในทางเศรษฐทรัพย์ต่างๆ การค้าระหว่างประเทศ การคลังสาธารณะ รวมไปถึงการเก็บภาษีอากร 
                คำว่าเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นคำมาจากภาษากรีก 2 คำคือ Oikos ซึ่งแปลว่าบ้าน หรือครอบครัว และคำว่า Nomos ซึ่งแปลว่ากฎระเบียบ ดังนั้นคำว่าเศรษฐศาสตร์ในความหมายแบบดั้งเดิมจึงแปลว่าการจัดระเบียบในบ้าน หรือครอบครัว แต่ในนิยามที่เรามักจะใช้กันอยู่ทั่วไปคือคำว่าเศรษฐศาสตร์ (Economics) มีความหมายว่า เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรทั่วไปที่มนุษย์นำมาใช้ในการบริโภค (Consumption) โดยเป็นการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วไปมาใช้ในการบริโภค ซึ่งในปัจจุบันทรัพยากรที่มีอยู่นั้นนับวันจะลดลงเรื่อยๆ จึงทำให้มีการพัฒนาวิธีการจัดการ หรือจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้ได้มากที่สุด โดยสรุปแล้วนั้นก็ยังคงไม่มีผู้ใดที่สามารถให้ความหมายของคำว่าเศรษฐศาสตร์ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งคำว่าเศรษฐศาสตร์ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้นจะมีความหมายที่แตกต่างจากคำว่าเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐศาสตร์นั้นมีความหมายถึงการจัดสรรทรัพยากร แต่คำว่าเศรษฐกิจ(Economy)นั้นหมายถึงการจัดการครอบครัว หรือการดำรงชีพของประชาชนในชุมชน และสังคมนั้นๆ จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคงจะมีคำถามที่ถามต่อมาอีกว่าที่จริงแล้วคำว่าเศรษฐศาสตร์นั้นมีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไร? ในที่นี้ทางผู้เขียนใคร่ขอยกตัวอย่างผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความหมาย หรือนิยามของคำว่าเศรษฐศาสตร์มาช่วยในการอธิบายดังนี้ อัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) Principle Economic เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อการดำรงชีพ(Business of life) ให้ได้มาซึ่งวัตถุสิ่งของเพื่อยังชีพให้ได้รับความสมบูรณ์พูนสุข (Material Requisties of Well-being) รูดอลลิฟ ดับบลิว. เทรนตัน (Rudolliph W. Trenton) เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่กล่าวถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการตอบสนองความพึงพอใจสิ่งที่มนุษย์ต้องการ 
พอล เอ. แซมมวลสัน (Paul A. Samuelson) Economics การศึกษาวิธีการของมนุษย์ และสังคมว่าจะเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าต่างๆ และสามารถแจกจ่ายสินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วส่งไปยังประชาชนทั่วๆ ไปในสังคมเพื่อบริโภคในปัจจุบัน และอนาคตได้อย่างไรโดยที่มนุษย์ และสังคมนั้นจะมีการใช้เงินหรือไม่ก็ตาม อุทิศ นาคสวัสดิ์ : หลัก และทฤษฎีเศรษฐ์ศาสตร์ทั่วไป เป็นการศึกษาถึงวิธีการที่ระบบเศรษฐกิจ ทำการผลิตสิ่งของ และบริการเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ และแจกจ่ายสิ่งของ และบริการเหล่านั้นไปยังบุคคลที่มีความต้องการ 
ประยูร เถลิงศรี : หลักเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาสังคมศึกษาที่เกี่ยวกับการศึกษาว่า มนุษย์จะเลือกตัดสินใจอย่างไร ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอเพื่อผลิตสิ่งของ และบริการพร้อมทั้งแบ่งปันสิ่งของ และบริการเหล่านั้นเพื่ออุปโภค และบริโภคระหว่างบุคคลต่างๆ ในสังคมทั้งปัจจุบัน และอนาคต 
ปัจจัย บุนนาค และสมคิด แก้วสนธิ : จุลเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือนำมาประกอบกันผลิตเป็นสินค้าด้วยความประหยัด เพื่อจำแนกแจกจ่ายไปบำบัดความต้องการของมนุษย์ในสังคม ธรรมนูญ โสภารัตน์ : เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และหายาก ในการผิตสินค้า และบริการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด และความอยู่ดีกินดีของประชาชาติ ในภาวะปัจจุบัน และอนาคต 
จากความหมายของคำว่าเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นพอที่สรุปได้ว่าวิชาเศรษฐศาสตร์ คือวิธีการเลือกสรรเทคโนโลยีที่จะใช้ในการการผลิตสินค้าและบริการให้ได้ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเศรษฐศาสตร์คือวิธีการที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการผลิตเป็นสินค้าและบริการ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดให้มากที่สุด 

        โดยมีปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economic Problem) ที่เราจะต้องสามารถตอบได้ ดังนี้ 

                1. ผลิตอะไร (WHAT) 
                2. ผลิตอย่างไร (HOW) 
                3. ผลิตเพื่อใคร (FOR WHOM)

                เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากร เหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอัน จำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด"  คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikosแปลว่าบ้านและnomosแปล ว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19  การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์
                วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกันเศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ
1.   เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจพฤติกรรมขององค์ประกอบพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึง ตลาดแต่ละตลาดและตัวแทนทางเศรษฐกิจ(เช่นครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย)

2.   เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกออกตามการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่
1.  เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ หรือเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง (Positive economics)

2.  เศรษฐศาสตร์นโยบาย หรือเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น (Normative economics)
                สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆ นั่นเอง  ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบสำนักคลาสสิกใหม่ (Neo - Classical Economics) ทั้งนี้ เศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะวิเคราะห์ถึง "ความเป็นเหตุเป็นผล-ความเป็นปัจเจกชน-ดุลยภาพ" ตรงกันข้ามกับเศรษฐศาสตร์ทางเลือกที่เน้นวิเคราะห์ "สถาบัน-ประวัติศาสตร์-โครงสร้างสังคม" เป็นหลัก
               (ภาพเเสดงผู้ซื้อเเละผู้ขายกำลังต่อรองราคาสินค้าอยู่หน้าตลาด ชิชิคาสเทนเนโกในประเทศกัวเตมาลา)

อ้างอิง 


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น