วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม


                ในปัจจุบันนี้สังคมไทยกำลังประสบกับปัญหาความเสื่อมทรามทางด้านศีลธรรมและ คุณธรรมของประชาชนโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนไทย ที่จำนวนไม่น้อยได้เหินห่างจากคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักที่พึ่งพาและที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ พระพุทธศาสนาจึงเป็นสถาบันหลัก 1 ใน 3 สถาบันที่สำคัญของชาติ มีความเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยทุกแง่มุม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเรื่องศาสนามีข้อความตอนหนึ่งว่า “คนเราต้องมีศาสนา คือความคิดหรือสิ่งที่คิดประจำใจ อันเป็นแนวทางปฏิบัติในใจประจำตัว และต้องมีการศึกษาคือความรู้ต่างๆ ทั้งในด้านจิตใจ ทั้งในด้านวัตถุเพี่อประกอบกับตัว เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งสองอย่างเป็นสิ่งสำคัญและจะแยกจากกันไม่ได้” พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า พระพุทธศาสนาได้รับการจัดเป็นวิชาสำหรับเรียนรู้โดยสถานะหลัก 2 อย่างคือ ในฐานะที่เป็นระบบจริยธรรมสำหรับประชาชนส่วนใหญ่หรือเป็นแหล่งคำสอนจริยธรรม ของประชากรแทบทั้งหมดของประเทศ และในฐานะที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของวัฒนธรรมไทย ทั้งในด้านวัตถุและนามธรรมซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมมากที่สุดอย่างหนึ่งในวิถี สังคม เป็นมาตรฐานในการดำเนินชีวิตสำหรับผู้นับถือ และเป็นสภาพแวดล้อมอันกว้างใหญ่ทางสังคมสำหรับผู้มิได้นับถือ (กรมวิชาการ 2535 : 1) พระพุทธศาสนาจึงเป็นแบบแผนที่ช่วยให้การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมไทยมี ระเบียบมาช้านาน คำว่า "ศาสนา" ตรง กับคำในภาษาอังกฤษว่า "Religion" และคำว่า "ศาสนา" ในภาษาไทย มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ศาสน" แปลว่า “คำสอน ข้อบังคับ”  แต่หากเขียนว่า "สาสนา" จะเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีว่า "สาสน" แปลว่า ศาสนา คำสั่งสอนของศาสดา จากลักษณะทั่วไปที่ศาสนาต่าง ๆ มีอยู่ร่วมกัน
ทำให้สรุปความหมายของคำว่า “ศาสนา” ได้ว่า “ศาสนาหมายถึง หลักคำสอนที่เป็นแบบแผนของความเชื่อ ความมั่นคงทางจิตใจ และเป็นแบบแผนพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อนำมนุษย์ไปสู่เป้าหมายที่ดีงามในชีวิต” การพิจารณาว่าสิ่งใดจัดเป็นศาสนาหรือไม่นั้น โดยปกติจะพิจารณาจากองค์ประกอบของศาสนา กล่าวคือ ระบบความเชื่อถือ หรือหลักคำสอนใดก็ตามที่มีองค์ ประกอบดังต่อไปนี้ กับนับได้ว่าเป็นศาสนา
        1. ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา หรือผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่
        2. มีศาสนธรรม หรือหลักคำสอนอันเป็นผลงานของศาสดาในรูปของหลักคำสั่งสอนที่มีเหตุผล
        3. มีศาสนบุคคล คือ สาวก หรือศาสนิกชนผู้เชื่อฟัง เชื่อถือ ปฏิบัติตามคำสั่งสอน
        4. มีศาสนพิธี คือ พิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา ซึ่งในแต่ละศาสนาก็จะมีพิธีกรรมของ
        5. มีศาสนสถาน คือ สถานที่เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม หรือเป็นที่อาศัยของผู้เผยแผ่ศาสนานั้น ๆ
สาเหตุของการเกิดศาสนา
            1. เกิดจากอวิชชา อวิชชา คือ ความไม่รู้  เป็นสาเหตุเบื้องต้นของการเกิดศาสนา
            2. เกิดจากความกลัว เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดศาสนา
            3. เกิดจากความจงรักภักดี 
            4. เกิดจากปัญญา 
            5. เกิดจากอิทธิพลของบุคคลสำคัญ 
            6. เกิดจากลัทธิการเมือง 
          การบริหารจิต หมายถึง การฝึกให้จิตมีคุณภาพ มีความดีงาม อ่อนโยน หนักแน่น มั่นคง แข็งแกร่ง สงบร่มเย็นมีความสุขการเจริญปัญญา
          ปัญญา คือ ความรู้จริง รู้ทั่ว รู้เท่ากัน การเจริญหรือการพัฒนาปัญญามี 3 วิธี คือ สุตมยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการฟัง การอ่าน การเขียน  จินตามยปัญญา คือ ปัญญาเกิดจากการคิด เป็นการนำเอาความรู้ หรือข้อมูลที่ได้จากการฟังมาไตร่ตรอง  ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาอันเกิดจากการลงมือปฏิบัติ เป็นการนำปัญญาไปใช้แก้ปัญหา
หลักธรรมทางศาสนา
หัวข้อ
พระพุทธศาสนา
อิสลาม
พราหมณ์-ฮินดู
คริสต์
พระเจ้า
-
องค์อัลลอฮ์
พระตรีมูรติ 
พระยะโฮวาห์
ศาสดา
พระพุทธเจ้า
พระนบีมุฮัมมัด
-
พระเยซู
สาวก
พุทธบริษัท 4 
ชาวมุสลิม
พราหมณ์
นักบวช-แม่ชี
พิธีกรรม
บรรพชา อุปสมบท
ละหมาด , ฮัจญ์
สังสการ ศราทธ์ บูชาเทวดี

พิธีรับศีลศักดิ์สิทธิ์
มีศาสนสถาน
วัด อาราม อุโบสถ์
มัสยิด(สุเหร่า)
เทวาลัย
โบสถ์
คัมภีร์
พระไตรปิฎก [8]
อัลกุระอ่าน [9]
พระเวท[10]
สัญลักษณ์
ธรรมจักร
พระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
โอม
ไม้กางเขน
นิกายสำคัญ
เถรวาท
มหายาน
ซุนนี ชีอะห์  วาฮาบี 
คอวาริจญ์  
พรหม , ไศวะ,
ไวษณพ ,บูชาเทวี
จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
การได้ไปอยู่กับพระอัลเลาะห์
โมกษะ
ปรมาตมัน 
อาณาจักรของพระเจ้า
หลักธรรมเพื่อการหลุดพ้น
ไตรสิกขา 
อริยสัจ 4 
หลักปฏิบัติ ๕ 
หลักศรัทธา ๖ 
หลักปุรุษารถะ 
หลักความรัก 
หลักธรรมเพื่อการสงเคราะห์
สังคหะวัตถุ 4 
เน้นการให้โดยไม่มีผลตอบแทน
การบริจาคซะกาต
เน้นการให้ทานตามฐานะ
หลักจริยธรรมและศีลธรรม
ยึดเบญจศีล
เบญจธรรม
กุศลกรรมบถ 10และมรรค 8
ยึดหลักคำสอนเรื่องความดี ความชั่ว
หลักธรรม 10 ประการ
บัญญัติ 10  ประการ 
ทำความดีและเว้นความชั่ว
หลักธรรมอื่นๆ
อิทธิบาท 4 
ฆราวาสธรรม 4 
พรหมวิหาร 4  
ไตรลักษณ์
โอวาทปาติโมกข์ 
หลักอาศรม 4 
หลักพระตรีเอกภาพ 
         พุทธสาวก พุทธสาวิกา       พระอัญญาโกณฑัญญตะเถระ เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้รัตตัญญู คือ “ผู้มีประสบการณ์มาก”  พระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะด้าน “มีปัญญาเลิศ”  พระโมคคัลลานะ เป็นเอตทัคคะด้าน “มีฤทธิ์มาก”  พระอานนท์ เป็นเอตทัคคะหลายด้าน คือ ด้าน “พหูสูต” เป็นผู้มีสติ ผู้มีวิธีจดจำพุทธวจนะได้เป็นอย่างดี ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก  พระราหุล เป็นเอตทัคคะด้าน “ใคร่การศึกษา”  พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เป็นเอตทัคคะในทาง “รัตตัญญู” (คือผู้มีประสบการณ์มาก)  
         อุบาสก อุบาสิกา      พระเจ้าพิมพิสาร เป็นองค์อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ทำให้กรุงราชคฤห์เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาแห่งแรก  พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นผู้มั่นคงในพระรัตนตรัย และเป็นอุบาสกที่ดี ทรงส่งคณะธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา  จิตตคหบดี เป็นคฤหัสถ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน คือ ศึกษาธรรมแตกฉาน ได้รับยกย่องเป็น “ธรรมกถึก” ชั้นยอด  นางวิสาขา สร้างวัดบุพพาราม ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะด้าน “การถวายทาน
การฝึกอบรมตน
ตน   หมายถึง  ร่างกายและจิตใจ    การฝึกอบรมตนจึงเป็นการฝึกอบรมทั้งร่างกายและจิตใจ  ร่างกายประกอบด้วยกายและวาจา  การกระทำทางกายเรียกว่า  กายกรรม    การกระทำทางวาจาเรียกว่า  วจีกรรม   การกระทำทางใจเรียกว่า  มโนกรรม
                1)   การฝึกอบรมร่างกาย    มีสิ่งจะต้องฝึกดังต่อไปนี้
                                1.1   ฝึกกายกรรมให้เว้นจากกายทุจริต  เป็นกายสุจริต   เช่น  เว้นจากการฆ่า   การลักทรัพย์  การประพฤติผิดในกาม  มาเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น  การทำบุญให้ทาน  การซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง
                                1.2   /ฝึกวจีกรรมให้เว้นจากทุจริต   เช่น  เว้นจากการพูดเท็จ  การพูดเพ้อเจ้อมาเป็นการพูดคำจริง  การพูดคำประสานสามัคคี  การพูดคำสุภาพ  การพูดคำมีประโยชน์
                                1.3   ฝึกให้เป็นผู้มีวัฒนธรรมดี   เช่น  การแต่งกาย  การแสดงกิริยามารยาทในการยืน  เดิน  นั่ง  รับประทานอาหาร   การพูด และการกระทำความเคารพให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ  และบุคคล
                                1.4   ฝึกให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย   เช่น  ปฏิบัติตามกฎหมาย  กฎระเบียบ  และข้อบังคับต่างๆ
                                1.5   ฝึกให้เป็นผู้มีสุขภาพดี   เช่น  การออกกำลัง  การเล่นกีฬา  ตลอดจนเป็นนักกีฬาที่สามารถเข้าแข่งขันได้
                2)  การฝึกอบรมจิตใจ   มีสิ่งจะต้องฝึกดังต่อไปนี้
                                2.1   ฝึกมโนกรรมให้เว้นจากมโนทุจริต เป็นมโนสุจริต  เช่น  เว้นจากความโลภอยากได้ของเขา  ความพยายามปองร้ายเขา ความเห็นผิดจากคลองธรรม   มาเป็นความไม่โลภอยากได้ของเขา  ความไม่พยาบาทปองร้ายเขา  ความเห็นชอบตามคลองธรรม
                                2.2   ฝึกจิตให้สงบ  การฝึกจิตให้สงบด้วยสมรรถภาวนา  แม้ฝึกชั่วระยะเวลาสั้นๆ  ก็ยังดีกว่าไม่ได้ฝึก
                                2.3   ฝึกจิตให้เกิดปัญญา  การฝึกจิตให้เกิดปัญญาด้วยวิปัสสนาภาวนา  แม้เพียงขบคิดหัวข้อธรรมมะต่างๆ  ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง มีปัญญาแตกฉานก็ยังดีกว่าไม่ได้คิด
                                        พระพุทธภาษิตที่สนับสนุนการฝึกอบรมตน  ดังตัวอย่างเช่น
-                    บัณฑิตย่อมฝึกตน
-                    ผู้ประพฤติดีย่อมฝึกตน
-                    ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นแสงสว่างของบุรุษ
-                    ผู้ที่ตนฝึกดีแล้วย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก
2.    การพึ่งตนเอง
เมื่อฝึกอบรมตนตามหลักพระพุทธศาสนาได้แล้ว  ย่อมควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้  คิดและตัดสินใจรวมทั้งปฏิบัติงามด้วยตนเองได้  ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น  หรือคอยอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเหลือ  สามารถพึ่งตนเอง  และเป็นที่พึ่งพาของผู้อื่นได้ด้วย  สิ่งที่ต้องพึ่งตนเองได้ในเรื่องต่างๆ  มีดังนี้
                        1.  การศึกษา     การศึกษาหาความรู้  จำเป็นตนพึ่งตนเอง  ไม่ใช่คอยพึ่งเพื่อนหรือขอลอกคำตอบจากเพื่อน  คอยพึ่งอาจารย์  ขอคะแนนจากอาจารย์  หรือคอยพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้เดาข้อสอบถูก  พระพุทธศาสนาสอนเรื่องความขยันหมั่นเพียร   ต้องลงมือทำด้วยตนเอง  ครูเป็นเพียงผู้แนะนำให้เท่านั้น  หากนักเรียนตั้งใจเล่าเรียน  ก็จะเกิดปัญญาคือความรู้  และความรู้ที่ได้รับจะช่วยให้ตนสามารถพึ่งตนเองได้
                        2.  การเงิน    เงินเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำรงชีพ  การหาเงินและการใช้เงินเป็นสิ่งที่ผู้พึ่งตนเองต้องขยันหมั่นเพียรในการหาเงิน
 รู้จักเก็บเงินไว้ไม่ใช้จ่ายโดยสุลุ่ยสุร่าย  รู้จักคบเพื่อนที่ดี  หลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชักชวนในทางวิบัติ  รู้จักดำรงชีพด้วยความพอดี  ไม่ฟุ้งเฟ้อและไม่ฝืดเคือง  บางครั้งอาจต้องพึ่งผู้อื่นบ้าง  แต่ผู้ที่คิดพึ่งตนเองแล้ว  ย่อมเปลื้องหนี้สินได้โดยเร็ว
                        3.  การงาน   การทำงานเป็นและการหางานทำเป็นหัวใจสำคัญ  ผู้คิดพึ่งตัวเองต้องพยายามฝึกทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ให้เป็น  ไม่ใช่ทำอะไรไม่เป็นเลยเป็นได้เพียงคนงานที่ไม่มีฝีมือ  พระพุทธศาสนาสอนว่า   ศิลปะหรือการทำงานอย่างมีฝีมือ  แม้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้  สุนทรภู่กวีเอกของไทยกล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า  รู้อะไรกระจ่างแต่อย่างเดียว  แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล    ในเรื่องหางานทำก็เช่นกัน  พระพุทธศาสนาสอนให้คบบัณฑิตหรือผู้รู้  เพราะผู้รู้ย่อมแนะนำได้ในทางที่เหมาะสม  และต้องไม่เป็นคนเลือกงาน  ปล่อยให้กาลเวลาล่วงเลยไปโดยสูญเปล่า
                        4.  การครองชีวิต   ผู้คิดพึ่งตนเอง  ย่อมเตรียมตนเองไว้ให้พร้อมเพื่อแสวงหาคู่ครองที่เป็นคนดี  คือมีความประพฤติดี  มีความรู้  มีความเข้าใจกัน  เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้  เพราะคู่ครองคือยอดของเพื่อนและปฏิบัติหน้าที่ระหว่างกันตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา
                         5.  การประพฤติปฏิบัติ    การประพฤติปฏิบัติเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความก้าวหน้าในการทำงาน  หรือความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม  ผู้คิดพึ่งตนเองต้องไม่หวังความก้าวหน้าอย่างเลื่อนลอย  หรือด้วยการประจบสอพอ  แต่ต้องสร้างคุณงามความดีด้วยตนเอง  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความชื่อสัตย์สุจริต  มีความขยันหมั่นเพียรและความรับผิดชอบ  ดังสำนวนไทยว่า  ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน   ทำนองเดียวกัน  ความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม  ต้องลงมือปฏิบัติให้ติดต่อกันด้วยตนเอง  ความก้าวหน้าจึงจะเกิดขึ้น
                         พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องการพึ่งตนเองว่า   ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นที่พึ่งเถิด  อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย    การมีตนเป็นที่พึ่งนั้นก็คือการมีธรรมเป็นที่พึ่ง  หาใช่สิ่งอื่นไม่  นั่นเอง
2.  การมุ่งอิสรภาพ
การมุ่งอิสรภาพ  หมายถึง  การคิดเป็น  ทำเป็น  และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเองได้  ด้วยการปลดเปลี้องความเป็นทาสของตนเอง แต่ยังเป็นทาสภายใน  คือ  เป็นทาสกิเลส  พระพุทธศาสนาเรียกว่า  ตัณหาโทสะ   หมายถึง  การเป็นทาสของตัณหา  สรุปความคือ  มนุษย์ยังเป็นทาสของความโลภ  ความโกรธ  และความหลง  นั่นเอง
                       ทาสของความโลภ  ได้แก่  อยากสอบได้แต่กลับสอบตก  ฆ่าตัวตายเพราะผิดหวังจากความรัก  เล่นการพนันหรือเล่นหุ้นจนหมดตัว  หรือทาสของโทสะหรือความโกรธ  ได้แก่  คนฆ่ากันตายเพราะทะเลาะกัน  ไม่พอใจกันชั่วประเดี๋ยวเดียว  ทาสของความหลง  ได้แก่  คนขับรถชนกัน  ตกถนน ชนต้นไม้  เพราะความประมาทของคนขับรถที่คึกคะนองด้วยฤทธิ์สุรา  หรือยาบ้า  เป็นต้น  พระพุทธศาสนาสอนการปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากความเป็นทาสภายในด้วยวิธีการ  3  ขั้น  คือ
                        1.  ความเป็นทาสอย่างหยาบ    หมายถึง  ความโลภ   โกรธ   หลง   อย่างรุนแรงเป็นเหตุให้ประพฤติชั่วทางกาย  ทางวาจา  ให้แก้ด้วยศีล  คือ
ความตั้งใจเว้นจากการฆ่า  การลักทรัพย์  การประพฤติผิดในกาม  การพูดเท็จ  การดื่มสุรายาเสพติด
                        2.  ความเป็นทาสอย่างกลาง    หมายถึง  ความโลภ  โกรธ   หลง   อย่างพอประมาณแก้ได้ด้วยธรรม เช่น  มีความเมตตากรุณา  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่   ความยินดีด้วยคู่ครองของตน  การพูดคำจริง  การมีสติสัมปชัญญะ  หรือการปฏิบัติสมาธิ  สมรรถภาวนาหรือสมรรถกรรมฐานในการแก้ไข
                        3.  ความเป็นทาสอย่างละเอียด   หมายถึง  ความโลภ   โกรธ   หลง    ที่แฝงตัวอยู่อย่างลึกซึ้งเหมือนตะกอนอยู่ก้นตุ่ม  ปกติจะมองไม่เห็น  เมื่อมีสิ่งใดมากระทบกระเทือนจึงจะปรากฏตัวออกมา  ความเป็นทาสประเภทนี้แก้ได้ด้วยปัญญา  โดยการพิจารณาเหตุผลและพิสูจน์ความเป็นจริงของสิ่งนั้น

เอกสารอ้างอิงและแหล่งศึกษาเพิ่มเติม
จินตนา  อินทรเศียร . วิชาสังคมศึกษา(O&A-NET) . โครงการแบรนด์ซัมเมอร์แคมป์ 2009 
คมกฤษณ์ ศิริวงษ์และสุทัศน์ ภูมิรัตนจรินทร์ .สาระวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม.
วงศกร  ภู่ทองและอลงกต   ศรีเสน .สรุปเนื้อหาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ม.ปลาย (ช่วงชั้น        ที่ 4  ม.4 – ม. 5 - ม.6 ). พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : เจริญรัฐ การพิมพ์ , 2548
เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.5. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ            : อักษรเจริญทัศน์
(อ้างอิง www.learners.in.th)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น