วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน


             ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
2. เป็นจอมทัพไทย
3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย

สังคมมนุษย์

                 พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบ จากรัฐสภาและนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีคนต่อไป

                หน้าที่ขององคมนตรี ถวายคำปรึกษาและความเห็นในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์
อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ
อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 มีวาระ 4 ปี
2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
                หน้าที่ของรัฐสภา
1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
4. วุฒิสภา หรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย
                บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.
1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน
2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
3. ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมให้ดีขึ้น
4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา
5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน
                อำนาจบริหาร

คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
1. ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
8. มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
                อำนาจตุลาการ  

                คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้ และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย

สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง
ทบวง
กรม

2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย

จังหวัด
อำเภอ

3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา
องค์การบริหารส่วนตำบล

พรรคการเมือง

การปกครองของประเทศไทย มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม การเลือกตั้ง กระบวนการในการเลือกตั้งของ ประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบผสม ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต คือ จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้เกิน 3 คน ใช้วิธีการแบ่งเขต แต่จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน จะใช้แบบวิธีรวมเขต



อ้างอิง www.baanjomyut.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น